เมษายน 19, 2024, 05:59:25 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จะเป็นคฤหัสถ์ หรือ เป็นบรรพชิต ?  (อ่าน 4751 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 11:59:34 PM »

Permalink: จะเป็นคฤหัสถ์ หรือ เป็นบรรพชิต ?
จะเป็นคฤหัสถ์ หรือ เป็นบรรพชิต ?

ชีวิตของคฤหัสถ์ สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ไหม.?


การเป็นคนดี ดีได้ทุกตำแหน่ง

ไม่มีตำแหน่งอะไรเลย ก็เป็นคนดีได้

แต่ถ้ามีตำแหน่งแล้ว ไม่เป็นคนดี จะเป็นประโยชน์อะไรกับใครได้

แม้แต่กับตนเอง ก็ยังไม่เป็นประโยชน์

แล้วจะไปเป็นประโยชน์แก่คนอื่นได้อย่างไร.


ตรงกับเรื่องที่ได้กล่าวไปแล้ว........"เมตตา" หรือ "ความเป็นมิตร"

เป็นสภาพธรรมที่ไม่เสียหายอะไรเลย เพราะขณะที่มีความเป็นมิตร

จิตใจขณะนั้นเป็นเพื่อน หวังดี พร้อมที่จะเกื้อกูล

ขณะนั้น....สบายใจไหม.?

ขณะที่ไม่เป็นทุกข์ใจ หรือเดือดร้อนใจกับใครเลย

และไม่ได้มีความหวังร้ายกับใคร ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

ถ้าเป็นอย่างนี้กับคน ๑ คน หรือ ๒-๓-๔-๕....เพิ่มมากขึ้น ๆ ๆ

ความสงบจะมีได้ในโลกไหม?


ไม่มีการเบียดเบียนกันเลย

หมายความว่า เป็นมิตรจริง ๆ เกื้อกูลจริง ๆ หวังดีจริง ๆ

ตรงกับข้อความที่ว่า "เมตตาธรรมค้ำจุนโลก"

ทำให้โลกดำรงอยู่ได้ด้วยความสงบ.


เพราะฉะนั้น

จะเป็นใคร ตำแหน่งอะไร ไม่เป็น "เครื่องกั้นปัญญา" เลย

ถ้า "มีความเข้าใจพระธรรม" จริง ๆ

ทุกวันนี้ชีวิตดำเนินไปด้วยความไม่รู้ความจริงไปตามโลกที่สมมติกัน เมื่อไม่รู้ความ

จริงของเห็น เห็นแล้วจึงคิดไปในเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย มีคนนั้นคนนี้ มีสัตว์สิ่งของ

ต่าง ๆ ซึ่งไม่มีอยู่จริง สำหรับพระอริยเจ้านั้น ท่านรู้จักโลกตามความเป็นจริงว่า แท้จริง

ขณะที่คิดว่าเป็นโลก เป็นสัตว์สิ่งของ คนนั้นคนนี้เป็นเรื่องราวต่าง ๆ นั้นไม่มีจริง เป็น

เพียงโลกที่สมมติกันเท่านั้น ท่านรู้ความจริงของโลกทางตา ทางหู..และทางใจ ส่วน

ปุถุชนอย่างเรา เห็นก็ยังเป็นเราที่เห็น เราได้ยิน...ความจริงเห็นเกิดขึ้น เห็นเพียงสิ่ง

ที่ปรากฏทางตาเท่านั้นแล้วดับไป เพราะความไม่รู้ความจริงของเห็น ทันทีที่เห็นจึง

คิดไปในนิมิตสัณฐานต่าง ๆ เป็นรูปร่าง เป็นคน เป็นสัตว์ตามที่ได้จำไว้ ชีวิตจึงอยู่

กับเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งไม่มีอยู่จริง แล้วจะอยู่กับความไม่รู้ต่อไปหรือจะค่อย ๆ ฟังพระ

ธรรมให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู...และทางใจ ค่อยๆเข้าใจโลก

ทั้ง ๖ ตามความเป็นจริง

ไม่มีอุบายหรือเคล็ดลับใด ๆ ที่จะเป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิดได้เลย มีแต่เพียง

ความเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าทางตา ทางหู...และทางใจ

การฟังพระธรรม และพิจารณาธรรมบ่อย ๆ เท่านั้น ที่จะทำให้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นทีละ

น้อย ๆ จนเป็นปัจจัยให้สติมีกำลังที่จะระลึกรู้ตรงลักษณะสภาพธรรม ไม่มีตัวตน ไม่มี

เราที่ไประลึก ต้องมั่นคงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม แม้สติก็เป็นธรรมอย่าง

หนึ่งเป็นอนัตตา หนทางปฏิบัติที่จะให้ละกิเลสได้ มีทางเดียว คือการเจริญ

สติปัฏฐาน ไม่ใช่การทำ แต่เป็นการอบรมเจริญเนือง ๆ บ่อย ๆ เพื่อให้มีมาก

เพื่อให้เป็นกำลัง

การศึกษาภาษาบาลี ตามวัดต่าง ๆ (ที่เป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรม) ส่วนมากจะ

เปิดในช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป แต่เนื่องจากว่า การเรียนภาษาบาลี เป็นการ

เรียนที่ต้องใช้เวลา และ ยากพอสมควร (แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การเข้าใจพระธรรม

ยากยิ่งกว่านั้นอีกมาก) ผู้ที่มีอัธยาศัยในการเรียน ในการศึกษาก็สามารถที่จะศึกษาได้

แต่ถ้าเป็นความเห็นส่วนตัวแล้ว ชีวิตในภพนี้ชาตินี้ เหลือไม่มากแล้วจริง ๆ ควรที่จะมี

เวลาให้กับการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ให้มาก

เพื่อประโยชน์คือความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง และความเข้า

ใจพระธรรมนี้สะสมอยู่ในจิตทุกขณะไม่สูญหายไปไหน และจะเป็นที่พึ่งในชีวิตได้อย่าง

แท้จริง ครับ
นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น

จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม

คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ

จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว

จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ

ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์

อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล

ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก

ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล

คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน

ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย

ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์

แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม

มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี

จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว

ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า

เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร

พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา

ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว

มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ

ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน

มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้

จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย

และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ

เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว

พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ
การอบรมเจริญสมถและวิปัสสนา ชือว่า การรักษาจิต

ถ้าไม่รักษาจิต จิตก็เป็นไปกับอกุศล จิตที่เป็นไปกับอกุศลมีโทษ

จิตที่เป็นไปกับกุศลมีคุณ ควรอบรมให้มี ให้เกิดขึ้น

การเห็นจิตตามความเป็นจริงว่า เป็นธัมมะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เห็นได้แสนยาก ถ้าไม่มีปัญญาเห็นตามเป็นจริงไม่ได้ครับ

ก่อนอื่นควรทราบว่า รูปที่เกิดขึ้นไม่ได้เพียงรูปเดียว ต้องมีรูปเกิดขึ้นหลายรูป

เกิดเป็นกลุ่ม(กลาป) อย่างน้อยต้องมี ๘ รูป และทุกๆกลุ่มก็มีวรรณรูปอยู่ด้วย

แต่วรรณรูปจะเป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณเท่านั้น วรรณรูปทีเกิดพร้อมกับ

จักขุปสาทรูปอันเป็นวัตถุของจักขุวิญญาณ ไม่เป็นอารมณ์ของจักขุวิญญาณ

และทวารอื่นๆก็นัยเดียวกัน ทุกกลุ่มของรูปต้องมีวรรณรูปด้วย
การจำแนกรูปโดยนัยโอกาส สีมีในที่ไกล และมีในที่ใกล้

แต่สีที่เห็นนั้นกระทบที่ตา แต่สีไม่ได้มากระทบตาโดยตรง ซึ่งจาก

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กลิ่นต้องมากระทบกับจมูกจึงรู้ได้ แต่สีไม่ใช่

ย่อมปรากฏแม้ในที่ไกลได้ ดังนั้น สีที่เห็นไม่ใช่เกิดที่ตาครับ
คำว่า จะดำรงอยู่ตลอดกัป กัป ในที่นี้หมายถึงอายุกัป คือ ๑๐๐ ปี

ที่ว่า ต้องมีผู้อาราชธนา จึงจะดำรงอยู่ตลอดอายุกัปนั้น เป็นเพียงคำปริกัป

คือ ถ้า.. เท่านั้น แต่ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ดำรงอยู่ตลอดกัป คือ

อยู่เพื่อโปรดเวนัยสัตว์ เมื่อสัตว์ที่เป็นพุทธเวนัยหมดแล้ว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่

ของพระสาวกต่อไป

หิริ และโอตตัปปะ เป็นโสภณเจตสิก เกิดร่วมกับโสภณจิตเท่านั้น

ขณะที่นึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดในอดีต จิตขณะนั้นเป็นกุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้

เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ก็ได้ ดังนั้นเรื่องราว หรืออารมณ์ เป็นอย่างหนึ่ง

จิตที่นึกถึง เป็นอย่างหนึ่ง ที่สำคัญอยู่ที่จิต ถ้าเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง

ย่อมไม่กังวลกับอดีตที่ล่วงไปแล้ว หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง เพราะทั้งหมดคือ ธัมมะ





บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 13, 2024, 03:57:25 AM