เมษายน 19, 2024, 03:21:50 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อารยชน-อารยธรรม  (อ่าน 6473 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 01:33:55 PM »

Permalink: อารยชน-อารยธรรม
อารยชน-อารยธรรม
บุคลที่มีศีลมีธรรม หรือเป็นมนุษยธรรม บุคลนั้นได้ชื่อว่า...'อารยชน'
ซึ่งมีสุจริตทั้งสาม มีความประพฤติดีประพฤติชอบทั้ง 3 ประการคือ
1. กายสุจริต...ประพฤติปฏิบัติชอบด้วยกาย
2. วจีสุจริต...ประพฤติปฏิบัตชอบด้วยวาจา
3. มโนสุจริต...ประพฤติปฏิบัติชอบด้วยใจ

และจะต้องปฏิบัติตาม...อารยธรรม หรือทางแห่งกุศลกรรมบท 10 ดังนี้
- ทางกาย....3
1. ละเว้นจากการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน
ควรมีเมตตาธรรม ช่วยเหลือเกื่อกูลสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
2. ละเว้นจากการลักทรัพย์ และการเอารัดเอาเปรียบกัน
ควรเคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
3. ละเว้นจากการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงของผู้อื่น
ไม่ข่มเหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติ์วงศ์ตระกูลของกันและกัน

- ทางวาจา....4
4. ละเว้นจากการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง
ควรกล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริง
5. ละเว้นจากการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก
ควรพูดแต่คำที่สมานฉันท์และส่งเสริมความสามัคคี
6. ละเว้นจากการพูดคำหยาบ คำสกปรกเสียหาย
ควรพูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวลควรแก่การฟัง
7. ละเว้นจากการพูดเหลวงไหลเพ้อเจ้อ
ควรพูดแต่คำจริง มีสาระมีประโยช์ ถูกต้องและถูกกาละเทศะ

- ทางใจ....3
8. ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้
ควรคิดที่จะให้ คิดเสียสละ ทำใจเผื่อแผ่ให้กว้างขวาง
9. ไม่คิดมุ่งร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลาย
ควรมีความปรารถนาดีต่อกัน มีไมตรจิตต่อกัน
10. มีความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจหลักกรรมว่า...
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รู้เท่าทันความเป็นธรรมดาของโลก
มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ธรรม...10 ปรการนี้ บุคคลใดปฏิบัติครบก็จะได้ชื่อว่า...
เป็นอารยชน ที่มีอารยธรรมสมบูณ์แบบ... อย่างไรก็ตาม
ถ้าบุคคลใดยังไม่มั่งคงในอารยธรรม 10 ปรการนี้ บุคคลนั้น
พึงควบคุมกายและวาจา โดยการรักษาศีล 5 ก็ย่อมได้ชื่อว่า
เป็นผู้มีศีลธรรมประจำใจเช่นกัน....

บุคคลใดรักษาศีล รักษาธรรม...บุคคลนั้นย่อมมีศีลรักษา และ
มีธรรมรักษาเช่นกัน.....ฯ

~ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์~




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 11, 2024, 08:45:52 PM