เมษายน 19, 2024, 04:05:17 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความพอดี...(หลวงพ่อชา สุภัทโท)  (อ่าน 4668 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 04:23:54 PM »

Permalink: ความพอดี...(หลวงพ่อชา สุภัทโท)
ความพอดี...(หลวงพ่อชา สุภัทโท) 
 
 
 

 
 
อีกคำหนึ่งที่ลูกศิษย์ของหลวงพ่อได้ยินบ่อย ๆ จนติดหู คือคำว่า “พอดี”
ท่านเคยพูดอยู่เสมอว่า ธรรมะคือพอดี
ความพอดี คือ ทางสายกลางไปสู่ความดับทุกข์
แล้วท่านย้ำสอนให้แต่ละองค์แต่ละคน
หาความพอดีของตัวเองในการประพฤติปฏิบัติ

“เรามาฝึกการปฏิบัติ ทำไมท่านถึงให้เรากินน้อย นอนน้อย พูดน้อย
อะไร ๆ ทุกอย่าง ให้มันน้อยไป ๆ คำที่ว่ามันน้อยน่ะ มันจะพอดีหรือ
ความเป็นจริงนั้นยังไม่พอดี ไม่สม่ำเสมอ
แต่ทำไมท่านถึงว่าให้เราทำให้มันน้อย

พูดน้อย ๆ คุยน้อย ๆ นอนน้อย ๆ เพื่อให้เรารู้จักความพอดี
ความเหมาะสมของตัวเรานั่นเอง
ทุกท่านให้พยายาม รีบเกินไปก็ไม่ได้
ให้รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว หาความพอดี

ถ้ามันน้อยไปเราก็เติม ถ้ามากไปเราเอาออก เป็นสัมมาปฏิปทาคือ พอดี
ถ้ามันดื้อ ก็ใช้ข้อวัตรเข้าควบคุม ให้มันเข็ด ฝึกมันทรมานมัน
ถ้ามันเป็นอีกก็ทำอีก นี่เรียกว่า การปฏิบัติหาทางพ้นทุกข์ของเรา

การพูดจาปราศรัย ทุกอิริยาบถให้มีความรู้สึกอยู่ในใจของเรา
ความพอดีนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ข้องแวะกับสิ่งสุดโต่ง

กามสุขัลลิกานุโยโค คือ ใจของเราลุ่มหลงในความสุข
ลุ่มหลงในความสบาย ลุ่มหลงในความดีใจ
ลุ่มหลงว่าเราดี เราเลิศ เราประเสริฐ

อัตตกิลมถานุโยโค คือ อาการที่ไม่พอใจ อาการที่เป็นทุกข์
อาการที่ไม่ชอบใจ อาการกริ้วโกรธ

ธรรม ๒ อย่างนี้ ไม่ใช่หนทางของบรรพชิตจะพึงเดิน
หนทางคือ อาการดีใจ หรือเสียใจ
เดินทางคือ ตัวผู้รู้ของเรานั่นแหละผู้เดินทางคือ จิต
ผู้สงบท่านไม่เดินทางนั้น

แต่ว่าทางนั้นท่าน ก็เห็น อาการสุขก็เห็น
แต่ท่านไม่มีอุปทานยึดมั่นกับมัน ปล่อยมันไป วางมันไป ละมันไป จึงเป็นผู้สงบ
การรู้จักความพอดี ก็เกิดจากการพิจารณาความไม่แน่นั่นเอง

การประพฤติปฏิบัตินี้ ต้องมีปฏิปทาที่พอดี ๆ ไม่สูงเกินไป อยู่ในระดับพอดี
ถ้ามันเกินพอดี หรือ ต่ำกว่าพอดี มันก็ไปไม่ได้ ไม่ใช่สัมมาปฏิบัติของพระ

ถ้าเราดูเสมอว่า ยืน นั่ง นอนน่ะ เรารู้สภาพอารมณ์ทั้งหลายมันพอดี
โดยอำนาจที่ว่า ของมันไม่แน่แล้ว มันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นอีก
แต่ว่าคนเรามันทนไม่ไหว
มันอยากเกินขีด มันดันขึ้น ๆ ไม่รู้จักความพอดีของมัน

ความพอดีของมัน เกิดจากที่ว่าเมื่อพบอารมณ์อะไร ก็บอกมันว่าไม่แน่
เรื่องอนิจจังเรียกว่าไม่แน่ ทนเอาอยู่ตรงนั้นแหละ ไม่ก้าวไป ไม่ถอยกลับ
อยู่ตรงนี้ ทนไม่นานเดี๋ยวก็พบความจริงได้”
 
 
 
 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มิถุนายน 16, 2022, 02:34:02 AM