เมษายน 20, 2024, 12:12:44 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สันติสุข  (อ่าน 5093 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 01:23:17 PM »

Permalink: สันติสุข
สันติสุข

พระพุทธเจ้าสอนว่า..."นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ"...
สุขอื่นยิ่งกว่าสงบไม่มี...
หมายความว่า ความสุขอื่นมี
เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนัง
ในการเข้าสังคม (Social)
ในการมีคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ
ได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้
ก็สุขจริง แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไข
ปรับปรุงกันอยู่เสมอ

ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากความสันติ ความสงบซึ่งเป็น
ความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้
ไขปรับปรุงตกแต่งมาก...
เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ เกิดกับกายใจเรานี่เอง. อยู่ในที่เงียบๆ
คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จัก
แยกใจหาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าจะอยู่ในที่ระคนด้วยความ
ยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึงใจ

แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจ
ให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อน
ตามไปด้วย เมื่อใจสงบแล้ว กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกข-
เวทนาได้ด้วยและประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ฝึกเป็น 3 ทางคือ...
1. ทรงสอนให้สงบกาย วาจา ด้วยศีล ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบ
ที่่เกิดทางกาย วาจา เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประ-
การต้น
2. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจ ด้วยสมาธิ หัดใจไม่ให้
คิดถึงเรื่อง...ความกำหนัด
ความโกรธ
ความโลภ
ความกลัว
ความหลง
ความฟุ้งซ่านรำคาญ
ความลังเลใจทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้
เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางใจอีกประการหนึ่ง
3. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฎฐิ ความเห็นด้วยปัญญา
พิจารณาให้เห็นว่า
สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้
ต้องเสื่อมสิ้นแปรปรวน ดับไป เรียกว่าเป็น ทุกข์
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอน ขอร้อง เร่งรัด ให้เป็นไปตาม
ความประสงค์ท่านเรียกว่า...อนัตตา

เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็ง มั่นคง
เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย
เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่แน่นอน
มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไป
ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา
อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลัง
จงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ
ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น
เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข
เป็นอิสระเกิดอำนาจทางจิต Mind Power ที่จะใช้ทำกรณีย
อันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์
"นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ-สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"

It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful
Body and it needs a peaceful Body to support
a Peaceful Mind,and it needs both Peaceful Body
and Mind to attain all success that which you wish.

~โอวาทธรรมท่านธมฺมวิตกฺโก (ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต
ธมฺมวิตกฺโก~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 16, 2024, 08:27:06 PM