เมษายน 19, 2024, 02:08:22 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญญา ศีล สมาธิ  (อ่าน 5036 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 01:27:43 PM »

Permalink: ปัญญา ศีล สมาธิ
ปัญญา ศีล สมาธิ 
 
 
ผลจากการศึกษาพระธรรมจากพระไตรปิฎกของคุณสินธพ ซึ่งท่านใช้ระยะเวลากว่า ๒๐ ปี และปฏิบัติจนได้ผล ท่านได้แสดงธรรมในส่วนที่เป็นเหตุที่นำไปปฏิบัติได้ และส่วนที่เป็นผลนำไปปฏิบัติไม่ได้ ไว้อย่างชัดเจนหลายวาระหลายโอกาส ผมในฐานะผู้ศึกษาและปฏิบัติรุ่นหลัง จึงขอนำสรุปผลการศึกษาของคุณสินธพมาให้เราชาวพุทธได้ศึกษา เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่เราทั้งหลาย ดังต่อไปนี้

หากจะเข้าใจคำสอนให้ถูกต้อง ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มาก ให้เข้าใจว่าส่วนใดเป็นเหตุส่วนใดเป็นผล และเอาส่วนที่เป็นเหตุไปปฏิบัติ การที่มีผู้รู้เรียงองค์ธรรมในการปฏิบัติเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรียกกันต่อๆ มาว่าไตรสิกขาและได้สรุปเอามาบอกให้ชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และฆราวาสให้นำมาปฏิบัติกัน เราก็ต้องตามไปศึกษากันว่า ท่านผู้รู้นำคำสอนส่วนนี้มาจากใหน

พระพุทองค์ได้สรุปคำสอนที่เป็นทางดับทุกข์ได้ คือ มรรคมีองค์ ๘ อันประกอบด้วย

สัมมาทิฏฐิ และ สมมาสังกัปปะ = ปัญญา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ = ศีล
สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ = สมาธิ

เรียงตามองค์ธรรมอย่างนี้ คือ ปัญญา ศีล สมาธิ เป็นไปตามหลักของเหตุปัจจัย กล่าวคือ ปัญญาเป็นเหตุของศีล ศีลเป็นเหตุของสมาธิ และสมาธิเป็นเหตุของความสงบสุข มีฌานอภิญญาเป็นผลานิสงค์

หากเรียงการปฏติบัติเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา; ศีลนั้นเป็นเหตุของสมาธิ แต่มันจะไปตันที่สมาธิไม่ใช่เหตุของปัญญา เป็นเหตุของความสงบเท่านั้น ถ้าไปเรียงองค์ธรรมแบบนี้ เหมือนปลูกต้นไม้เอารากชี้ฟ้า เอาส่วนยอดฝังลงดิน ไม่มีโอกาสเจริญเติบโตได้เลย หากนำไปปฏิบัติก็มีทางสำเร็จธรรมได้ ไม่รู้ว่าท่านผู้รู้มีเจตนาอย่างไรจึงเรียงเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา มองได้ในสองแง่ ก็คือ ยังสับสนในคำสอน หรือมีเจตนาบิดเบือนคำสอน ฝากให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายนำไปคิดด้วย

เมื่อเรียงองค์ธรรมได้ถูกต้องแล้ว จึงจะรู้ว่า มรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่เหตุของการปฏิบัติ ถ้าเริ่มให้ถูกต้องตามเหตุปัจจัย คือ ต้องเจริญปัญญาเป็นอันดับแรก หรือ ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยการพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ให้รู้เห็นสิ่งทั้งปวงตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตให้ได้ก่อน องค์ธรรมที่ได้จากการปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถแสดงได้ดังนี้

วิปัสสนา เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ปัญญา
ปัญญา เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ศีล
ศีล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด สมาธิ
สมาธิ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ความสงบสุข มียถาภูตญานทัสสนะ ฌาน และอภิญญา เป็นผลานิสงค์

อธิบายได้ว่า เมื่อวิปัสสนาจนเกิดปัญญารู้ดีรู้ชั่วรู้ผิดรู้ถูกแล้ว ศีลจึงเกิดขึ้น เมื่อมีศีล กายก็สงบ ใจก็สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน สมาธิจึงเกิดขึ้นตามมา เมื่อสมาธิเกิดความสงบก็เกิดตามๆ กันมา ถ้าปฏิบัติได้ถูกต้องตามนี้ องค์ธรรมก็จะเกิดถูกต้องตามเหตุตามปัจจัย

คำสอนในโอวาทปาติโมกข์ สรุปได้ว่า ให้ละความชั่ว (ปัญญา) ให้กระทำความดี (ศีล) และ ทำให้จิตใจผ่องใส (สมาธิ) ธรรม ๓ อย่างนี้ท่านสรุปเป็นผล นำไปปฏิบัติทันทีไม่ได้ ต้องหาเหตุที่ทำให้ละความชั่ว ทำดี ทำจติผ่องใส มาปฏิบัติ จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกธรรม ก็คือ การเริ่มรู้จักการวิปัสสนาภาวนาพิจราณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ให้รู้เท่าทันความเป็นจริงของโลกและชีวิต การพิจารณาอย่างนี้ จะทำให้ปัญญาเกิด เมื่อมีปัญญาแล้ว ก็รู้ดี รู้ชั่ว จึงละความชั่วได้ เลือกทำดี ศีลก็เกิดขึ้น เมื่อจิตใจสงบไม่ฟุ่งซ่านเพราะศีล สมาธิก็เกิด จิตใจก็ผ่องใส โอวาทปาติโมกข์นี้ ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ หรือ ปัญญา ศีล สมาธิ ที่มีอยู่ในอริยสัจ ๔ นั่นเอง

ไตรสิกขา หรือ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่เข้าใจกัน อธิศีลคือ ศีลใหญ่ที่พระสงฆ์ห้ามทำผิด หากผิด จะหมดจากความเป็นพระโดยทันที อธิจิต คือ จิตที่ไม่ประมาท จิตที่รู้เท่าทันความเป็นจริงของโลกและชีวิต แม้ในขณะอยู่ในฌานสมาบัติ (อธิจิตไม่ใช่สมาธิ) อธิปัญญา คือ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ คือ สัมมาทิฏฐิ และความรู้ในมรรค ๔ ผล ๔

ไตรสิกขา มาจากพระพุทธเจ้ากำหนดสิกขาบทไว้ตอนนั้น ๑๕๐ ข้อ ภิกษุวัชชีบุตรเห็นว่า สิกขาบทมีมากถึง ๑๕๐ ข้อไม่สามารถปฏิบัติได้ทั่วถึง จึงเข้าพบพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า หากปฏิบัติสิกขาบท ๑๕๐ ข้อไม่ได้ เช่นนั้นเธอจะสามารถปฏิบัติเพยง ๓ ข้อ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ได้หรือไม่ ภิกษุวัชชีบุตรจึงตอบว่าได้ จึงนำไปปฏิบัติและบรรลุอรหันต์ในที่สุด

อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นการปฏิบัติของพระอริยะ ไม่ใช่สำหรับบุคคลทั่วไป สำหรับอุบาสกอุบาสิกา พระพุทธเจ้าได้วางแนวทาการปฏิบัติไว้คือ บุญกริยาวัตถุ อันได้แก่ ทาน ศีล วิปัสสนาภาวนา

ในพระไตรปิฎก ไม่มีคำสอนตอนใหนส่วนใหนที่พระพุทธองค์ตรัสให้ไปรักษาศีล เพื่อที่จะมานั่งสมาธิ เพื่อที่ได้ได้ปัญญา หรือค่อยมาทำวิปัสสนา อย่างที่เข้าใจกันผิดเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ทราบว่าท่านผู้รู้ทั้งหลายไปเอามาจากใหน ไม่ว่าในมรรคมีองค์ ๘ หรือในโอวาทปาติโมกข์ ก็เรียงเป็น ปัญญา ศีล สมาธิ เหมือนกัน

บางท่านบอกว่า ต้องทำให้จิดนิ่ง หรือทำให้จิตมีคุณภาพก่อนจึงจะมาวิปัสสนาได้ ตรงนี้เป็นเพียงการตัดสินด้วยความรู้สึก แต่ผิดหลักธรรม ไม่ตรงตามเหตุตามปัจจัย ไม่สามารถทำได้ ความเคยชินที่มาจากการทำสมาธิ เป็นความเคยชินที่ละเอียดมาก จะกลายเป็น นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย การที่จะเลิกหรือหยุดนั้นเป็นไปได้ยาก อย่างความเคยชินแบบหยาบๆ เช่น ติดเหล้า ติดบุรี่ ยังเลิกได้ยาก ทั้งๆ ที่เป็นความเคยชินแบบหยาบๆ พลังของสมาธินั้นละเอียดมาก โอกาสที่ผู้นั่งสมาธิจนลงร่องแล้วจะกลับมาวิปัสสนาได้นั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมาธิ ฌาน อภิญญา เป็นเหมือนตาข่ายดักพรหม

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปัจจัยความเกิดคืออวิชชา คือความไม่รู้ในความจริงของโลกและชีวิต ซึ่งอวิชชาเกิดขึ้นได้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต่อเมื่อมีสิ่งมากระทบสัมผัสแล้วเราหลงไปพอใจไม่พอใจ เกิดกระทำไปตามความหลง จึงทำให้เกิดทุกข์ขึ้น แล้วยังเอาความหลงนั้นไปแก้ปัญญาชีวิต ทุกข์นั้นก็ทำให้เกิดทุกข์ทับถมกันเข้าไปอีก แก้ไขยาก หาที่สิ้นสุดไม่ได้ พระพุทธเจ้าบอกว่า ทุกข์เกิดที่ใหน ดับที่นั่น ฉะนั้น ทางสายเอกสายเดียวที่จะดับทุกข์ได้ ก็คือ การรู้จักวิปัสสนาภาวนาพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ เมื่อมีสิ่งมากระทบสัมผัสในขณะปัจจุบัน ให้รู้เท่าทันความเป็นจริงของโลกและชีวิต คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เกิดจากเหตุปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราว หากพิจารณาอย่างนี้ได้เป็นปกติในชีวิตประจำวัน การที่เราจะหลงไปพอใจไม่พอใจจะไม่เกิดขึ้น สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรคก็เกิดขึ้น

ในธรรมจักรกัปปวัตณสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า ห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องกับความพอใจไม่พอใจสุดโต่ง ๒ ด้าน เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค บุคคลใดรู้ไม่เท่าทันสุดโต่ง ๒ ด้านนี้ ก็คือความหลง ความพอใจ ไม่พอใจ และความหลงนั้น ก็คือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นเหตุหรือสมุทัยของทุกข์ทั้งปวง

บุคคลท่านใดรู้เท่าทันความพอใจไม่พอใจแล้ว ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ถือว่าเกิดขึ้นแล้ว เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้น ศีล หรือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ก็เกิดขึ้น เมื่อมีศีล สมาธิ หรือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็เกิดขึ้นตามมา เมื่อเกิดสมาธิ ความสงบก็เกิดขึ้น นี่เป็นหลักสายกลางที่จะทำให้เราไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางสุดโต่งทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า มรรคปฏิปทา

เมื่อพระพุทธเจ้าเทศนาธรรมจักรกัปปวัตณสูตรให้เบญจวัคคีฟัง ท่านอัญญาโกณฑัญญะเกิดมีดวงตาเห็นธรรมบรรลุโสดาบัน พระสงฆ์องค์แรกจึงเกิดขึ้น ต่อมาพระพุทธองค์ได้เทศนา อนัตตลักณสูตร ให้เบญจวัคคีย์ที่เหลือฟัง มีใจความย่นย่อว่า ให้พิจารณาอุปทานขันธ์ ๕ ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้ คือ รูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง เกิดจากเหตุปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นอดีต อณาคต ปัจจุบัน อยู่ใกล้ อยู่ไกล หยาบ ละเอียด เลว ประณีต พึงเห็นชอบด้วยปัญญาอันชอบว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา ให้ละมันเสีย เมื่อตรัสจบเบญจวัคคีย์ที่เหลือจึงเกิดมีดวงตาเห็นธรรม ขอบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ขอให้เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด” ข้อความปัจฉิมโอวาทหรือคำสอนครั้งสุดท้ายที่พระพุทธองค์ได้สรุปนี้ พระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมดจบลงที่คำว่า “ไม่ประมาท” ซึ่งคำว่าไม่ประมาทก็คือ การมีสติรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต เท่าทันต่อสิ่งที่มากระทบขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ หรือคือการวิปัสสนาภาวนา ที่พระพุทธองค์สั่งให้พระภิกษุสงฆ์นำไปปฏิบัติและสนำไปเผยแพร่สั่งสอนชาวโลกต่อไป

พระไตรปิฎกนั้นมิได้มีใว้ให้กราบใหว้ มีไว้ให้ศึกษา หากท่านทั้งหลายตั้งตัวให้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมด้วยความไม่ประมาทแล้ว ให้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนให้เข้าใจเพียงพอต่อการปฏิบัติก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเห็นผิด เชื่อต่อๆ กันมาแบบผิดๆ เรียงเหตุเป็นผลเรียงผลเป็นเหตุ จนปฏิบัติผิด ไม่มีปัญญามาดับทุกข์ได้ ...
 
 
 
 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 26, 2024, 01:53:21 AM