เมษายน 26, 2024, 12:08:57 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความพอดีของคนเราอยู่ตรงใหน?  (อ่าน 4326 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 03:06:15 PM »

Permalink: ความพอดีของคนเราอยู่ตรงใหน?
ความพอดีของคนเราอยู่ตรงใหน? 
 
 
คนเราทุกคนเกิดมาต้องดิ้นรนเสาะแสวงหาความพอดีให้กับตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่มีใครพบความพอดีให้กับตนเองง่ายๆ หรือไม่ก็ไม่เคยพบเห็นไม่เคยรู้มาก่อนว่าความพอดีของต้องการนั้นอยู่ที่ไหน บางครั้งก็พบความพอดีชั่วคราว ไม่ยั่งยืนตามที่คนเราจริงๆ นั้นต้องการ คนเรามีวิธีการเสาะหาความพอดีต่างๆ กันไป ที่เป็นอย่างนี้เพราะเราเกิดมาไม่มีความรู้เพียงพอที่จะนำไปเสาะหาความพอดีให้กับตนเอง แม้กระทั่งความรู้เกี่ยวกับตนเอง คนเรายังไม่รู้จักทั้งๆ ที่อยู่กับตัวเองนี่แหละ

เพื่อจะได้มีความเข้าใจถูกต้อง ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร คนเราเกิดมาเพื่อจะหนีทุกข์ไปหาสุขกันทุกคน สุขนั้นก็ต้องเป็นสุขถาวรตลอดไป สุขชั่วคราวนั้นไม่ใช่จุดหมาย สุขถาวรที่ทุกคนต้องการแปลเป็นภาษาธรรม เรียกว่า นิพพาน ทุกคนเกิดมาต้องการนิพพานกันทุกคน ฉะนั้นเป้าหมายของชีวิตคนเราทุกคนคือนิพพาน

ชีวิตคนเราคืออะไร ชีวิตของคนเราก็คือการเรียนศึกษาฝึกฝนตนเอง คนเราทุกคนเกิดมาไม่ได้อะไรฟรีๆ ต้องศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนเอาทั้งหมด ถ้าไม่ได้ศึกษาเรียนรู้ก็ไม่ได้อะไรเลย และชีวิตคนเราต้องฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก ถ้าไม่ฝึกแล้วเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน แล้วคนเราฝึกตนเองได้โดยเครื่องมือธรรมชาติที่มีมากับตน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เรียกว่า อินทรีย์ ๖ สิ่งนี้แหละที่ธรรมชาติให้มาเป็นเครื่องมือในการฝึกตนเอง คนเราจะดีหรือเลวอยู่ที่การใช้อินทรีย์ ๖ ถ้าใช้มันแต่รับรู้ความรู้สึกอย่างเดียว ชีวิตก็จะมีแต่ปัญหา ถ้าใช้ในการศึกษาเรียนรู้ ชีวิตก็จะมีปัญหาน้อย พบแต่ความสุข

บุคลที่รู้เรื่องราวโลกและชีวิตดีที่สุดในโลก ก็คือ พระพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลก เป็นผู้รู้แจ้งโลกและชีวิต หาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ โลกนี้หรือโลกไหนๆ พระพุทธองค์ตรัสสั่งสอนมนุษย์และเทวดาอยู่ ๔๕ พรรษา รวมคำสอนได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ สรุปได้เพียงแต่ว่า พระองค์ท่านสอนเรื่องทุกข์และการดับทุกข์เท่านั้น คำสอนของพระองค์ท่านถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎกจำนวน ๔๕ เล่ม ถ้ามนุษย์ต้องการความพอดีในชีวิต ต้องเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ แล้วท่านจะหาความพอดีให้กับชีวิตได้

พระพุทธองค์ตรัสว่า ความสุดโต่งของมนุษย์ มี ๒ ด้าน คือ ความพอใจสุดโต่ง (กาลสุขัลลิกานุฌยค) และความไม่พอใจสุดโต่ง (อัตตกิลมถานุโยค) มนุษย์ส่วนมากจะตกไปอยู่ในที่สุด ๒ ด้านนี้ตลอด ความพอใจก็คือความโลภ ความไม่พอใจก็คือความโกรธ ตามความพอใจกับไม่พอใจไม่ทันก็คือความหลง ชีวิตของคนเราจึงไปหลงพอใจไม่พอใจอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสพบความพอดีในชีวิต ความพอดีของชีวิตก็คือหลักทางสายกลาง หรือหลักความจริง รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิต ไม่ไปเกี่ยวข้องกับความพอใจ ไม่พอใจ กฎธรรมชาติ ๒ กฎที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น คงอยู่ ดับไป และกฎของเหตุปัจจัย หรือ อิทัปปัจจยนตา ปกิจจสมุปบาท ในโลกนี้ไม่มีอะไรเกิดขึ้นลอยๆ มีเหตุปัจจัยให้เกิดเสมอ

เมื่อคนเราฝึกตนเองให้รู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตแล้ว รู้เท่าทันสิ่งที่มากระทบเราหรืออินทรีย์ ๖ ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า สิ่งทั้งปวงไม่เทียง เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว ไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราก็ไม่หลงไปพอใจและไม่พอใจต่อสิ่งที่มากระทบ สัมมาทิฏฐิหรือปัญญาเกิดขึ้นทันที แล้วองค์ธรรมของมรรคมีองค์ ๘ เกิดขึ้นตามมา คือ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ หรือศีลเกิดขึ้นในตัวเรา จากนั้น สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็จะเกิดตามมาบริบูรณ์ นี่คือหลักความจริง หรือหลักทางสายกลาง หรือหลักความพอดี ความพอดีของคนเราอยู่ตรงนี้

การที่เอาความจริงของโลกและชีวิตและกฎธรรมชาติ ๒ กฎดังกล่าวมาตั้งไว้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นทางแห่งการเกิดทุกข์ อย่างนี้เรียกว่าเอาความจริงหรือปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิ มาตั้งรับกระทบสัมผัส จะทำให้ความคิดถูกต้องขั้น เมื่อคนเราปฏิบัติแบบนี้ พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ อย่างนี้ตลอดเวลา องค์ธรรมของการบรรลุมรรคผล นิพพาน เกิดขึ้นครบโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปทาน ๔ อิธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ เมื่อมีองค์ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นครบเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ชีวิตของเราก็จะพบความสุขความพอดีที่ถาวร

ความต้องการนี้อยู่ในจิตใต้สำนึกของทุกคน ถ้าสภาวะจิตเบาบางจากกิเลสตัณหาลงไปบ้างจะมองเห็นความจริงอันนี้ได้

ความจริงในโลกและชีวิต สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงเกิดดับ เกิดจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว ไม่มีตัวตนเป็นของตน ว่างจากตนและของตน รู้เห็นอย่างนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทแล้วก็จะพาตัวเองตั้งอยู่ในความพอดีของชีวิต
 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ มีนาคม 28, 2024, 11:16:54 PM