เมษายน 19, 2024, 01:02:45 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจของบัณฑิต  (อ่าน 4768 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 01:30:42 PM »

Permalink: หัวใจของบัณฑิต
หัวใจของบัณฑิต 
   
 
หัว..ใจของบัณฑิต มีอยู่ ๔ อย่าง สุ. จิ. ปุ. ลิ.


สุ. คือสุตะ ฟัง จิ. คือจินตะ คิด ปุ. คือปุจฉา ถาม ลิ. คือลิขิต

เขียน ผู้ที่เว้นจาก สุ. จิ. ปุ. ลิ. แล้วจะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร เพราะ

อยากจะเป็นบัณฑิต ต้องฟังให้มาก ๆ ฟังให้เข้าใจ ฟังแล้วก็ต้องคิด

ทบทวน หาเหตุผล ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ต้องได้เหตุได้ผล อย่าเชื่อ

ทันที ต้องทบทวนดูเหตุผลเสียก่อน ถ้ายังไม่ได้เหตุผล ก็ถามผู้รู้ว่า

มันยังไงกันแน่ อะไรอย่างนี้ ถามแล้วกลัวจะลืม ก็เอามา เขียนไว้

บันทึกไว้ เผื่อทีหลัง จะได้นำมาอ่านได้ ถ้าทำอย่างนี้เป็นบัณฑิตได้

และ..อีกอย่างหนึ่ง คำว่า " ศึกษา " เราชอบใช้พูดกันทั่ว ๆ

ไป คำว่าศึกษา ไม่ใช้คำว่าเรียน คำว่าฟัง แต่คำว่าศึกษา หลักฐาน

ดั้งเดิมของท่าน ไม่ใช่เรียนหนังสือนะ หรือเรียนตำรา ศึกษาว่า ขณะ

เห็น นี้ศึกษาหรือเปล่า ศึกษาธรรมขณะ เห็น นี่นะ ทางตาก็มีธรรม

ทางหู ทางจมูก....ทางใจ ทั้ง ๖ ทางนี้ก็มีธรรมทั้งนั้น แต่ละทวารที่

ที่เขาเกิด มีธรรมหรือเปล่า มีธรรมอะไรศึกษาหรือเปล่า ถ้ามัวแต่อ่าน

แต่ฟังอยู่เฉย ๆ ผ่าน ๆ ไป ก็ไม่ได้ประโยชน์ เพราะว่าก็ต้องพยายาม

ศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจ ให้หายสงสัย เพราะความลังเลสังสัยเป็นนิวรณ์

เป็นวิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นธรรมเครื่องกั้นความดี แต่ศึกษาตามตัวหนังสือ

ไม่พอ ถ้าศึกษาตามตัวหนังสือได้ ก็สำเร็จกันไปหมดแล้ว อ่านพระ

ไตรปิฎกจบ ไม่ใช่อ่านจบอย่างเดียวนะ ท่องได้ด้วยทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระ

ธัมมขันธ์ พระวินัย ๒๑,๐๐๐ พระสูตร ๒๑,๐๐๐ พระอภิธรรม ๔๒,๐๐๐

พระธัมมขันธ์ เมื่อคราวทำสังคายนาที่ประเทศพม่า เขานิมนต์พระจาก

ประเทศต่าง ๆ ไป เอาตำราพระไตรปิฏกมาตรวบสอบ ไม่ได้อ่านพระ

ไตรปิฎก แต่สวดปากเปล่าเหมือนสวดปาติโมกข์ อ่านจบพระไตรปิฏก

ท่องได้ แต่เข้าใจหรือเปล่า แล้วยังเอามาสอนในเมืองไทย ให้งมงาย

ไปตาม ๆ กัน เยอะแยะเลย

เพราะ..การศึกษานั้น จริง ๆ แล้วต้องศึกษาตอนที่ธรรมกำลัง

ปรากฎ กำลังมีอยู่ ให้รู้ว่าเป็นธรรมจริง ๆ ถ้าเราเข้าใจทวารหนึ่งทวาร

ใด ทวารอื่น ๆ ก็ง่ายขึ้น เพราะมีลักษณะทำนองเดียวกัน แล้วเราจะ

เห็นคุณค่าของพระศาสนา พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มันลึกซึ้งอย่างนี้เอง จึงเข้าใจยาก ที่จะรู้ตามได้...


ขอบคุณบทความจาก ธรรมะไทย
 
 
 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ พฤษภาคม 21, 2023, 08:49:40 PM