เมษายน 27, 2024, 01:23:17 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเพียร หมายถึง  (อ่าน 45914 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เด็กหน้าวัด
เด็กใหม่
นักบุญผู้ใจดี
*****

พลังความดี : 696


เพศ: ชาย
กระทู้: 13280
สมาชิก ID: 1


« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 11:30:53 PM »

Permalink: ความเพียร หมายถึง
ความเพียร หมายถึง ความก้าวไปข้างหน้า ความดำเนินไป ความบากบั่น ความพยายาม ความอุตสาหะ ความหมั่น ความออกแรง ความไม่ถอยหลัง ความทรงไว้ ความไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคอง ธุระไว้วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ที่เป็นไปทางจิต
อรรถกถาสัพพาสงสังวรสูตรกล่าวว่า ความเพียรเป็นสภาวะที่แกล้วกล้า มีความประคับประคองจิตเป็นลักษณะ มีการอุปถัมภ์จิตเป็นกิจ มีความไม่ท้อแท้แห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ
มีความเพียรเป็นคุณสมบัติหรือ อาการอย่างหนึ่งของจิตเป็นคุณสมบัติที่เป็นกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ถ้าพากเพียรไปในทางที่ถูก เช่นหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริต ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จัดเป็นกุศลธรรม นำความสุข ความเจริญ และความสำเร็จมาสู่ชีวิต ถ้าพากเพียรไปในทางผิด เช่น เสพของมึนเมา เล่นการ- ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ชีวิตก็มีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อน
อรรถกถารูปาทิวรรค กล่าวถึงความเพียร 2 ประการคือ

1. ความเพียรทางกาย ได้แก่ ความเพียรทางกายของภิกษุ ผู้ชำระจิตจากนิวรณ์ ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวัน กลางคืนพัก 4 ชั่วโมงในมัชฌิมยาง (สี่ทุ่มถึงตีสอง)

2. ความเพียรทางจิต เมื่อภิกษุผู้พากเพียรผูกใจว่า เราจักไม่ออกไปจากที่เร้นนี้ หรือเราจักไม่เลิกขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้น จากอาสวะ ย่อมถึงพร้อมด้วยความเพียรทางกายและทางจิต

อรรถกถากายสูตร กล่าวถึงธาตุเพียง 3 ประการ คือ

1. อารพฺธาตุ ได้แก่ความเพียรครั้งแรก

2. นิกฺขมธาตุ ได้แก่ความเพียรที่มีกำลังกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้าน

3. ปรกฺกมธาตุ ได้แก่ความเพียรที่มีกำลังกว่านั้น เพราะเป็นเหตุให้ก้าวไปข้างหน้าเรื่อยไป

ปธานสูตร (21/13) กล่าวถึงความเพียร 4 ประการคือ

1. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น

2. ปหานปธาน เพียรละอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป

3. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลธรรมเกิดและเจริญยิ่งขึ้น

4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

ในเรื่องความเพียร หลวงวิจิตรวาทการ ให้ความเห็นไว้อย่างน่าฟังว่า

ไทยเราได้แปลความเพียรผิดไป คือเราแปลหรือสอนกันว่า ความเพียรหมายถึง “เหนื่อยไปก่อนคงสบายเมื่อปลายมือ” เราพากเพียรทำงานเพื่อหวังผลอย่างเดียว คือ “สบายเมื่อปลายมือ”

เราไม่ได้สอนกันว่า ความเพียรนั้นเป็นลักษณะของมนุษย์ที่ดี ซึ่งจะต้องทำไปจนตลอดชีวิต ไม่มีความจำเป็นต้องหยุด ความสุขไม่ได้หมายถึงการอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไร เราควรจะสอน ให้คนของเราเข้าใจว่า ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การทำงาน ให้สำเร็จไปเรื่อยๆ
เหตุเกิดความเพียร

พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงเหตุ 11 ประการ ที่ทำให้พระภิกษุเกิดความเพียร ในที่นี้จะนำมาเรียบเรียงใหม่ เหลือ 8 ข้อ ดังนี้

1. ถ้าไม่รีบทำความดีเสียในวันนี้ พรุ่งนี้เราอาจจะตาย เลยหมดโอกาสทำความดี

2. งานจะเสร็จได้ก็ต่อเมื่อลงมือทำอย่างจริงจัง ถ้ามัวนอนอยู่งานก็ไม่มีวันเสร็จ

3. เราจะเดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้า พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ มหาเศรษฐี หรือบุคคลผู้ประสบความสำเร็จอื่นๆ ได้เสด็จดำเนินและเดินไปแล้ว แต่ทางนั้นคนเกียจคร้านไม่อาจจะเดินไปได้

4. ถ้าเรามัวเกียจคร้าน ดีแต่แบมือขอจากพ่อแม่ญาติพี่น้องเราไม่อายเขาบ้างหรือ

5. ถ้าเรามัวเกียจคร้าน ก็ไม่อาจรักษามรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษไว้ได้ ตายแล้วจะไปพบหน้าท่านได้อย่างไร

6. เราเกิดมาในตระกูลที่มีชื่อเสียงและฐานะถึงเพียงนี้ ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จะสมควรหรือ

7. เขาก็คน เราก็คน เมื่อเขาทำดีได้ เราก็ต้องทำดีให้ได้อย่างเขาหรือดีกว่า

8. แม้แต่สัตว์ตัวเล็กๆ เช่น มด ยังรู้จักขยันหากินและสร้างรังถ้ามัวนอนอยู่เราไม่อายสัตว์มันบ้างหรือ

นอกจากนี้ ความเพียรอาจเกิดจาก

9. ความเมตตากรุณา เช่น อยากช่วยเหลือคนไข้ จึงพยายามเรียนแพทย์จนสำเร็จ

10 ตัณหา เช่น อยากได้ของที่ถูกใจ แต่ไม่อาจได้โดยสุจริตจึงพยายามขโมยจนสำเร็จ

11. ความอาฆาต จึงพยายามแก้แค้นจนสำเร็จ

12 ความกลัว เช่นกลัวจะไม่มีกิน เลยพยายามทำมาหากินตัวเป็นเกลียว

เหตุเกิดความเพียรมีมากทั้งดีและชั่ว แต่ถ้าจะสรุปก็เหลือเพียงประการเดียว คือเห็นประโยชน์ที่เกิดจากความเพียร และเห็นโทษของความเกียจคร้าน

อานุภาพความเพียรพระพุทธเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่ เกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการปรารภความเพียร เมื่อบุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราย่อมไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการปรารภความเพียร การปรารภความเพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

พระพุทธดำรัสนี้แสดงให้เห็นถึงอานุภาพความเพียรหลักเรื่องความเพียรเป็น ลักษณะสำคัญอย่างหนี่งของพุทธศาสนา คำสอนใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน คำสอนนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา ความเพียรเป็นองค์ประกอบในหมวดธรรมะที่สำคัญต่างๆ มากมาย เช่น อิทธิบาท (ธรรมที่ทำให้สำเร็จความประสงค์) โพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) นาถกรณธรรม (ธรรมที่เป็นที่พึ่งของตน) เป็นต้น

 เป็นที่น่าสังเกตว่า หมวดธรรมะที่กล่าวถึงความเพียร มักจะมีปัญญากำกับอยู่ด้วย เพราะความเพียรที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นความเพียรที่ผิดพลาด ไร้อานุภาพ ไม่สำเร็จประโยชน์อันใด เช่น การรีดนมจากเขาโค เป็นการกระทำที่โง่เขลา เป็นความเพียรที่ผิดอย่างมหันต์ แม้จะพยายามอย่างไรก็เหนื่อยเปล่า ไม่มีทางสำเร็จได้เลย ความเพียรจะสำเร็จประโยชน์ได้ ก็ต่อเมื่อมีปัญญาคอยนำทางหรือชี้แนะ ความเพียรจะมีอานุภาพหรือมีผลมากยิ่งขึ้น ถ้ามีธรรมะมาเสริมอีก 2 ประการ คือฉันทะและจิตตะ รวมเป็นหมวดธรรมะที่เรียกว่า อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นธรรมะที่ทำให้สำเร็จความประสงค์ทุกอย่างที่ไม่เหลือวิสัย อิทธิบาท 4 มี

1. ฉันทะ พอใจทำ
2. วิริยะ ขยันทำ
3. จิตตะ ตั้งใจทำ
4. วิมังสา (ปัญญา) เข้าใจทำ

คนที่เกียจคร้านมัวแต่คิดสมบัติบ้าเพ้อฝันถึงเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ซึ่ง สำนวนไทยเรียกว่า มั่งมีในใจแล่นใบบนบก คนที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อหยิบหย่งจับจด ไม่ทำอะไรจริงจัง คนที่ก่อแล้วไม่สาน ปล่อยงานการให้คั่งค้างไว้ คนเหล่านี้ไม่อาจประสบความสำเร็จในชีวิตได้เลย คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมล้วน
 




บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 22, 2024, 01:03:50 AM