เมษายน 27, 2024, 03:59:02 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 408625 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #135 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 12:53:05 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
มิลินทปัญหา

- ตอนที่ ๘ -

มิลินทปัญหา วรรคที่ ๓ (ต่อ)

ปัญหาที่ ๖ ถามเรื่องผู้ถึงเวทย์

     พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
     “ ข้าแต่พระนาคเสน เวทคู คือผู้ถึงเวทย์มีอยู่หรือ? ”
     พระเถระจึงย้อนถามว่า
     “ มหาบพิตร ในข้อนี้ใครชื่อว่าเวทคู ? ”
     พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ในภายในนี้ ย่อมเห็นรูปด้วยตาได้ยินเสียงด้วยหู สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ นี้แหละชื่อว่า “ เวทคู ” โยมจะเปรียบให้พระผู้เป็นเจ้าฟัง เหมือนหนึ่งว่าเราทั้งสองนั่งอยู่ที่ปราสาทนี้ปรารถนาจะแลดูออกไปทางช่องหน้าต่างใด ๆ ก็แลดูออกไปทางช่องหน้าต่างนั้น ๆ จะเป็นทางตะวันออก หรือทางตะวันตก ทางเหนือ ทางใต้ ก็ได้ตามประสงค์ฉันใด อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ในภายในร่างกายนี้ ต้องการจะดูออกไปทางทวารใด ๆ ก็ดูออกไปทางทวารนั้น ๆ แล้วก็ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้สูดดมกลิ่นด้วยจมูก ได้รู้รสด้วยลิ้น ได้ถูกต้องสัมผัสด้วยกาย ได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ฉันนั้น ”
     พระนาคเสนถวายพระพรตอบว่า
     “ อาตมภาพจะกล่าวให้ยิ่งขึ้นไป คือเราทั้งสองนั่งอยู่ที่ปราสาทนี้ ต้องการจะแลออกไปทางช่องหน้าต่างใด ๆ จะเป็นทางตะวันออกหรือตะวันตก ทางเหนือ ทางใต้ ก็ได้เห็นรูปต่าง ๆ ฉันใด
     บุคคลต้องได้เห็นรูปด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อันเป็น อัพภันตรชีพ อย่างนั้นหรือ ?
     ต้องได้ฟังเสียงด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ?
     ต้องได้สูดกลิ่นด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ?
     ต้องได้รู้รสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ?
     ต้องถูกต้องสัมผัสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ ?
     ต้องรู้ธรรมารมณ์ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันนั้นหรือ? ”
     “ ไม่ใช่ฉันนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ ขอถวายพระพร คำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของมหาบพิตร ย่อมไม่สมควรแก่กัน เหมือนอย่างว่าเราทั้งสองนั่งอยู่ที่ปราสาทนี้ เมื่อเปิดช่องหน้าต่างเหล่านี้ไว้ แล้วแลออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ ก็ต้องเห็นรูปได้ดี ฉันใด อัพภันตรชีพ นั้น เมื่อเปิดจักขุทวารหันหน้าออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ก็เห็นรูปได้ดี เมื่อเปิดหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไว้แล้วหันหน้าออกไปภายนอกทางอากาศอันกว้างใหญ่ ต้องเห็นรูปได้ดีฉันนั้น อย่างนั้นหรือ ? ”
     “ ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ ขอถวายพระพร คำหลังกับคำก่อนหรือคำก่อนกับคำหลังของมหาบพิตร ย่อมไม่สมควรแก่กัน เหมือนอย่างว่า มียาจกเข้ามารับพระราชทานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากมหาบพิตร แล้วออกไปยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก มหาบพิตรทรงรู้หรือไม่? ”
     “ อ๋อ…รู้ซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ ขอถวายพระพร ผู้ที่ได้รับพระราชทานแล้วเข้าไปภายใน ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของมหาบพิตร พระองค์รู้หรือว่าผู้นี้เข้ามาในภายใน มายืนอยู่ข้างหน้าเรา ? ”
     “ รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ อัพภันตรชีพ นั้น เมื่อวางรสไว้ที่ลิ้น ก็รู้ว่าเป็นรสเปรี้ยว หรือรสเค็ม รสขม รสเผ็ด รสฝาด รสหวานหรือไม่ ? ”
     “ รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ เมื่อรสเหล่านั้นไม่เข้าไปภายใน อัพภันตรชีพ นั้น รู้หรือไม่ว่าเป็นรสเปรี้ยว รสเค็ม รสขม รสเผ็ด รสฝาด รสหวาน ? ”
     “ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ นี่แหละ มหาบพิตร จึงว่าคำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของมหาบพิตรไม่สมควรแก่กัน ไม่สมกัน
     เหมือนกับมีบุรุษผู้หนึ่งให้บรรทุกน้ำผึ้งตั้ง ๑๐๐ หม้อ มาเทลงในรางน้ำผึ้ง แล้วมัดปากบุรุษนั้นไว้ จึงเอาทิ้งลงไปในรางน้ำผึ้งบุรุษนั้นจะรู้จักรสน้ำผึ้งหรือไม่? ”
     “ ไม่รู้ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ เพราะอะไรล่ะ มหาบพิตร ? ”
     “ เพราะน้ำผึ้ง ไม่เข้าไปในปากของเขา ”
     “ ขอถวายพระพร ด้วยเหตุนี้แหละ จึงว่าคำหลังกับคำต้น หรือคำต้นกับคำหลังของมหาบพิตร ไม่สมควรแก่กัน เข้ากันไม่ได้”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมไม่อาจสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าในข้อนี้ได้แล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแสดงข้อนึ้ให้โยมเข้าใจเถิด ”
     ลำดับนั้น พระเถระจึงแสดงให้พระเจ้ามิลินท์เข้าพระทัย ด้วยถ้อยคำอันเกี่ยวกับ อภิธรรม ว่า
     “ ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัย ตา กับ รูป แล้วจึงมี เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันเกี่ยวข้องกับจักขุวิญญาณนั้น เกิดขึ้นตามปัจจัยถึง โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ก็เกิดขึ้นได้เพราะอาศัย หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์แล้วจึงเกิด เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เหมือนกัน เป็นอันว่าผู้ชื่อว่า “ เวทคู ” ไม่มีในข้อนี้ ขอถวายพระพร”
     พระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ ได้ฟังชัดก็โสมนัสปรีดา มีพระราชดำรัสตรัสสรรเสริญว่า
     “ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ สมควรแล้ว ”


อธิบาย
   คำว่า “ เวทคู ” แปลว่า ผู้ถึงเวทย์ ท่านหมายความว่า เป็นผู้ถึงชึ่งความรู้ คือผู้รับรู้สิ่งต่าง ๆ พระเจ้ามิลินทร์เข้าใจว่า เวทคู นั้นเป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นของมีชีวิตอยู่ภายใน อันเรียกว่า อัพภันตรชีพ ว่าเป็นผู้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู หรือดมกลิ่นด้วยจมูก เป็นต้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด

   ส่วนที่ถูกนั้น พระนาคเสนท่านกล่าวว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ อัพภันตรชีพ คือสิ่งที่เป็นอยู่ในภายใยเป็นเวทคูเลย การที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ นั้น ได้แก่ วิญญาณ อันเกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ต่างหากดังนี้ คือข้อนี้ท่านมุ่งแสดงเป็นปรมัตถ์ ( คือเรื่องของจิตและเจตสิก) ไม่ได้มุ่งแสดงเป็นสมมุติ ( คือธรรมะทั่วไป ) ถ้าว่าเป็นสมมุติ เวทคู นั้นก็มีตัวตน ดังนี้



 ปัญหาที่ ๗ ถามถึงความเกี่ยวกับแห่งจักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณ

     “ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด มโนวิญญาณ ก็ตามไปเกิดในที่นั้นหรือ ? ”
     “ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า จักขุวิญญาณเกิดก่อน มโนวิญญาณเกิดทีหลัง หรืออย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร จักขุวิญญาณเกิดก่อน มโนวิญญาณเกิดทีหลัง”
     “ ข้าแต่พระนาคเสน ก็จักขุวิญญาณบังคับมโนวิญญาณไว้หรือว่า เราจักเกิดในที่ใดเจ้าจงเกิดในที่นั้น หรือมโนวิญญาณสั่งจักขุวิญญาณไว้ว่า เจ้าจักเกิดในที่ใด เราก็จักเกิดในที่นั้น อย่างนั้นหรือ ?”
     “ ไม่ใช่อย่างนั้น มหาบพิตร วิญญาณทั้งสองนั้นพูดจากันไม่ได้”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น ไฉนจึงว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น ”
     “ ขอถวายพระพร ที่ว่าอย่างนั้น เพราะเป็นของลุ่ม ๑ เป็นประตู ๑ เป็นที่สะสมมา ๑ เป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา ๑ ”

เพราะเป็นของลุ่ม

     “ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นของลุ่ม นั้นคืออย่างไร ขอนิมนต์อุปมาด้วย? ”
     “ ขอถวายพระพร เมื่อฝนตกลงมามหาบพิตรทรงเข้าพระทัยว่า น้ำจะไปทางไหน ? ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่ลุ่มมีอยู่ทางใดน้ำก็ต้องไปทางนั้น”
     “ ขอถวายพระพร เมื่อฝนตกลงมาอีกน้ำจะไหลไปทางไหน ?”
     “ ข้าแต่พระนาคเสน น้ำก่อนไปทางใด น้ำใหม่ก็ต้องไปทางนั้น”
     “ ขอถวายพระพร น้ำก่อนสั่งน้ำหลังไว้หรือว่า เราไปทางใด เจ้าจงไปทางนั้น หรือว่าน้ำหลังสั่งน้ำก่อนไว้ว่า เจ้าจักไปทางใด เราก็จักไปทางนั้น ? ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า น้ำทั้งสองนั้นพูดจากันไม่ได้ แต่น้ำนั้นไหลไปได้ เพราะทางนั้นเป็นทางลุ่ม เป็นทางต่ำต่างหาก”
     “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะที่นั้นเป็นที่ลุ่ม เป็นที่ต่ำจักขุวิญญาณไม่ได้สั่งมโนวิญญาณไว้ว่า เราเกิดในที่ใด เจ้าจงเกิดในที่นั้น มโนวิญญาณก็ไม่ได้สั่งจักขุวิญญาณไว้เหมือนกัน วิญญาณทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากันแต่ว่าเกิดในที่นั้นในสิ่งนั้น เพราะที่นั้นสิ่งนั้นเป็นเหมือนที่ลุ่มที่ต่ำ ฉะนั้น”

เพราะเป็นประตู

     “ ข้าแต่พระนาคเสน ข้อที่ว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นประตู นั้นอย่างไร ขอได้โปรดอุปมาด้วย ? ”
     “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าหัวเมืองชายแดนของพระราชา มีป้อมค่ายประตูหอรบแน่นหนาแข็งแรง แต่มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียว มีผู้อยากจะออกไปจากพระนครนั้น จะออกไปทางไหน ? ”
     “ ออกไปทางประตูซิ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ ขอถวายพระพร ยังมีบุรุษอีกคนหนึ่งอยากจะออกไป เขาจะออกไปทางไหน? ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุรุษคนก่อนออกไปทางประตูใด บุรุษคนหลังก็ต้องออกไปทางประตูนั้นแหละ”
     “ ขอถวายพระพร บุรุษคนก่อนสั่งบุรุษคนหลังไว้หรือว่า เราออกทางประตูใด เจ้าจงออกทางประตูนั้น หรือบุรุษคนหลังสั่งบุรุษคนก่อนไว้ว่า เจ้าออกทางประตูใด เราก็จักออกทางประตูนั้น ? ”
     “ ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษทั้งสองนั้นไม่ได้บอกกันไว้เลย แต่เขาออกไปทางเดียวกัน เพราะทางนั้นเป็นประตู ”
     “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะที่นั้นเป็นประตู ไม่ใช่จักขุวิญญาณสั่งที่มโนวิญญาณไว้ หรือมโนวิญญาณสั่งจักขุวิญญาณไว้ ทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากัน แต่เกิดขึ้นในที่แห่งเดียวกัน เพราะที่นั้นเป็นประตู”

เพราะเป็นที่สะสมมา

     “ ข้าแต่พระเป้นเจ้า ข้อว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นที่สะสมมา นั้นคืออย่างไรขออุปมาให้แจ้งด้วย ? ”
     “ ขอถวายพระพร เกวียนเล่มแรกไปก่อนแล้ว มหาบพิตรจะเข้าพระทัยว่า เกวียนเล่มที่ ๒ จะไปทางไหน ? ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เกวียนเล่มแรกไปทางใด เกวียนเล่มหลังก็ต้องไปทางนั้น”
     “ ขอถวายพระพร เกวียนเล่มก่อนสั่งเกวียนเล่มหลังไว้หรือว่า เราไปทางใดเจ้าจงไปทางนั้น หรือว่าเกวียนเล่มหลังสั่งเกวียนเล่มก่อนไว้ว่า เจ้าจักไปทางใด เราก็จักไปทางนั้น ? ”
     “ ไม่ได้สั่งไว้เลย ผู้เป็นเจ้า เพราะเกวียนทั้งสองนั้นไม่มีการพูดกัน แต่ไปทางเดียวกันเพราะทางนั้นเป็นทางที่สะสมมาแล้ว ”
     “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร จักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณไม่ได้สั่งกันไว้เลย แต่เกิดในที่แห่งเดียวกันเพราะเป็นที่สะสมมาแล้ว”

เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา

     “ ข้าแต่พระนาคเสน ข้อว่าจักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมา นั้นคืออย่างไร ขอจงอุปมาให้ทราบด้วย? ”
     “ ขอถวายพระพร ผู้ที่เริ่มเรียนศิลปะในการนับด้วยนิ้วมือ หรือนับตามลำดับ หรือขีดเป็นรอยขีด หรือหัดยิงธนู ทีแรกก็ช้าก่อนต่อมาภายหลังก็ไวขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติแล้ว คือได้กระทำมาเสมอ ฉันใด
     จักขุวิญญาณเกิดในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดในที่นั้น จักขุวิญญาณไม่ได้สั่งมโนวิญญาณไว้เลยว่า เราเกิดในที่ใด เจ้าจงเกิดในที่นั้น มโนวิญญาณก็ไม่ได้สั่งจักขุวิญญาณไว้เลยว่า เจ้าจะเกิดในที่ใด เราก็จะเกิดในที่นั้นเพราะเป็นสิ่งที่เคยประพฤติมาแล้ว ฉันนั้น ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า วิญญาณทั้งสองนั้นไม่มีการพูดจากันเลย แต่เกิดในที่แห่งเดียวกันเพราะได้เคยประพฤติมา ถึง โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็เหมือนกัน อย่างนั้นหรือ ? ”
     “ อย่างนั้น มหาบพิตร เป็นอันเหมือนกันหมด ”
     “ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวแก้ถูกต้องดีแล้ว ”




อธิบาย
   ข้อนี้ได้ใจความว่า วิญญาณทั้ง ๕ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ย่อมเกิดในที่แห่งเดียวกับ มโนวิญญาณ คือความรู้สึกทางใจด้วย

   ยกตัวอย่างเช่น ตาเห็นรูปได้ชื่อว่า จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นก่อนแล้ว มโนวิญญาณ จึงเกิดทีหลัง ทำให้รู้และเข้าใจได้ว่า รูปที่เห็นนั้นเป็นคน สัตว์ วัตถุสิ่งของ มีลักษณะเป็นประการใด เพราะถ้าไม่มี มโนวิญญาณ เข้าร่วมด้วย ก็เหมือนกับคนนั่งใจลอยเหม่อมองไปข้างหน้า เมื่อไปถามว่าเห็นอะไรไหม…เขาก็ตอบว่าเห็นแต่ไม่รู้ว่าเป็นสิ่งใด เพราะไม่ได้ตั้งใจดู อย่างนี้เป็นต้น ถึงจะเป็นการฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้นรส สัมผัสถูกต้อง ก็มีสภาพเช่นดียวกัน

   ฉะนั้น เพราะอาศัย จักขุวิญญาณ หรือ โสตวิญญาณ หรือ ฆานวิญญาณ หรือ ชิวหาวิญญาณ หรือ กายวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามเกิดขึ้นก่อนแล้ว มโนวิญญาณ จึงจะเกิดทีหลัง ดังนี้



 ปัญหาที่ ๘ ถามลักษณะผัสสะ

     “ ข้าแต่พระนาคเสน จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด เวทนา ก็เกิดในที่นั้นหรือ ? ”
     “ อย่างนั้น มหาบพิตร คือ จักขุวิญญาณ เกิดในที่ใด เวทนา ก็เกิดในที่นั้น ถึง สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ วิตก วิจาร ก็เกิดใน ในที่นั้น ธรรมทั้งหลายมี ผัสสะ เป็นต้น ก็เกิดในที่นั้น ขอถวายพระพร ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผัสสะ มีลักษณะอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร ผัสสะ มีการ กระทบกัน เป็นลักษณะ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับแพะ ๒ ตัวชนกันอยู่ จักขุ เหมือนกับแพะตัวหนึ่ง รูป เหมือนกับแพะอีกตัวหนึ่ง ผัสสะ เหมือนกับการชนกันแห่งแพะทั้งสอง ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งไป ”
     “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า มือทั้งสองที่ตบกัน จักขุ เหมือนมือข้างหนึ่ง รูป เหมือนมืออีกข้างหนึ่ง ผัสสะ เหมือนการกระทบกันแห่งมือทั้งสอง ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ”
     “ ขอถวายพระพร เปรียบประดุจบุรุษเป่าปี่ ๒ เลาขึ้นพร้อมกัน จักขุ เหมือนปี่เลาหนึ่ง รูป เหมือนปี่อีกเลาหนึ่ง ผัสสะ เหมือนการรวมกันแห่งเสียงปี่ทั้งสองเลานั้น ”
     “ ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า ”

 ปัญหาที่ ๙ ถามถึงลักษณะเวทนา

     “ ข้าแต่พระนาคเสน เวทนา มีลักษณะอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร เวทนา มีการ ทำให้รู้สึก เป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่ง มีการ เสวย เป็นลักษณะ ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่ามีบุรุษผู้หนึ่ง ทำความดีความชอบต่อพระราชา เมื่อพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ก็ทรงพระราชทานทรัพย์ ยศ บริวาร ให้แก่บุรุษนั้น บุรุษนั้น ก็เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ แล้ว เขาก็คิดว่าเราได้ทำความดีต่อพระราชาไว้แล้ว เราจึงได้เสวยความสุขอย่างนี้
     อีกนัยหนึ่ง เหมือนกับบุรุษคนหนึ่งทำบุญกุศลไว้แล้ว ได้ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์ เขาก็มีความสุขด้วยทิพย์สมบัติ แล้วเขาก็นึกได้ว่า เพราะเราได้ทำบุญกุศลไว้ในกาลก่อน เราจึงได้เสวยความสุขอย่างนี้
     อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า เวทนา มีการ ทำให้รู้สึก เป็นลักษณะ หรือมีการ เสวย เป็นลักษณะ ”
     “ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาสมควรแล้ว ”

 ปัญหาที่ ๑๐ ถามลักษณะสัญญา

     “ ข้าแต่พระนาคเสน สัญญา มีลักษณะอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร สัญญา มีการ จำ เป็นลักษณะ ”
     “ จำอะไร ? ”
     “ จำสีเขียว สีแดง สีขาว ขอถวายพระพร ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างเจ้าพนักงานคลังของพระราชา ได้เข้าไปที่คลังแล้ว เห็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ของพระราชา อันมีสีสันต่าง ๆ กัน คือ สีเขียวก็มี เหลืองก็มี แดงก็มี ขาวก็มี เลื่อมก็มี ก็จำไว้ได้เป็นอย่าง ๆ ไป ฉันใด สัญญา ก็มีการ จำ เป็นลักษณะฉันนั้น”
     “ ถูกแล้ว พระนาคเสน ”

 ปัญหาที่ ๑๑ ถามลักษณะเจตนา

     “ ข้าแต่พระนาคเสน เจตนา มีลักษณะอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร เจตนา มีความ จงใจ เป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่งว่า เจตนา มีการ ประชุมแห่งการตกแต่ง เป็นลักษณะ ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้หนึ่งตกแต่งยาพิษขึ้นแล้ว ก็ดื่มเองด้วย ให้ผู้อื่นดื่มด้วย เขาก็เป็นทุกข์ ผู้อื่นก็เป็นทุกข์ ฉันใด บางคนจงใจทำความชั่วแล้วก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พวกใดทำตามบุรุษนั้น พวกนั้นก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนกัน ฉันนั้น
     อีกประการหนึ่ง บุรุษผู้นั้นตกแต่งเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ให้มีรสอันเดียวกัน แล้วก็ดื่มเองบ้าง ให้ผู้อื่นดื่มบ้าง เขาก็เป็นสุข ผู้อื่นก็เป็นสุข ฉันใด
     บางคนจงใจทำความดีแล้วได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์ พวกใดทำตามบุรุษนั้น พวกนั้นก็ได้ขึ้นไปเกิดในสวรรค์เหมือนกัน ฉันนั้น
     อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า เจตนา มีการ จงใจ เป็นลักษณะ อีกอย่างหนึ่งว่า มีการ ปรุงแต่ง เป็นลักษณะ”
     “ พระผู้เป็นเจ้าแก้ถูกต้องดีแล้ว ”

 ปัญหาที่ ๑๒ ถามลักษณะวิญญาณ

     “ ข้าแต่พระนาคเสน วิญญาณ มีลักษณะอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร วิญญาณ มีการ รู้ เป็นลักษณะ ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร เปรียบประดุจบุรุษผู้รักษาพระนคร นั่งอยู่ที่ถนน ๔ แพร่งกลางพระนคร ต้องได้เห็นบุรุษผู้มาจากทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฉันใด บุคคลเห็นรูป หรือฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส นึกถึงสิ่งใดด้วยใจ ก็รู้จักสิ่งนั้นได้ด้วย วิญญาณ ฉันนั้น วิญญาณมีการ รู้ เป็นลักษณะอย่างนี้แหละ มหาบพิตร ”
     “ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”

 ปัญหาที่ ๑๓ ถามลักษณะวิตก

     “ ข้าแต่พระนาคเสน วิตก มีลักษณะอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร วิตก มีการ ประกบแน่น เป็นลักษณะ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร ช่างไม้่ย่อมเข้าไม้ในที่ต่อ แล้วโบกด้วยปูนหรือทาด้วยสีให้สนิทฉันใด วิตก ก็มีการประกบแน่น มีการแนบแน่นเป็นลักษณะฉันนั้น”
     “ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”

 ปัญหาที่ ๑๔ ถามลักษณะวิจาร

     “ ข้าแต่พระนาคเสน วิจาร มีลักษณะอย่างไร ? ”
     “ ขอถวายพระพร วิจาร มีการ ลูบคลำไปตามวิตก เป็นลักษณะ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่ากังสดาล อันบุคคลเคาะด้วยสันดาบ ก็มีเสียงดังเป็นกังวานต่อ ๆ กันไป ฉันใด วิตก ก็เหมือนกับการเคาะ ฉันนั้น ส่วน วิจาร เหมือนกับเสียงดังครวญครางไป ”
     “ สมควรแล้ว พระนาคเสน ”

 จบวรรคที่ ๓

 มิลินทปัญหา วรรคที่ ๔

 ปัญหาที่ ๑ ถามลักษณะมนสิการ

     พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
     “ ข้าแต่พระนาคเสน มนสิการ มีลักษณะอย่างไร ? ”
     พระเถระตอบว่า
     “ ขอถวายพระพร มนสิการ มีการ นึก เป็นลักษณะ ”
     “ ถูกแล้ว พระนาคเสน ”

 ปัญหาที่ ๒ ถามลักษณะสิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน

     พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
     “ ข้าแต่พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าอาจแยกธรรมที่รวมเป็นอันเดียวกันเหล่านี้ ให้รู้ว่าต่างกันว่า อันนี้เป็น ผัสสะ อันนี้เป็น เวทนา อันนี้เป็น สัญญา อันนี้เป็น เจตนา อันนี้เป็น วิตก อันนี้เป็น วิจาร ได้หรือไม่?”
     “ ไม่อาจ ขอถวายพระพร ”
     “ ขอนิมนต์อุปมาด้วย ”
     “ ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนพ่อครัวของพระราชา เมื่อจะตกแต่งเครื่องเสวยก็ใส่เครื่องปรุงต่างๆ คือ นมส้ม เกลือ ขิง ผักชี พริก และสิ่งอื่น ๆ ลงไป ถ้าพระราชาตรัสสั่งว่า
     “ เจ้าจงแยกเอารสนมส้มมาให้เรา จงแยกเอารสเกลือ รสขิง รสหวาน รสเปรี้ยว มาให้เราทีละอย่าง ๆ ”
     พ่อครัวนั้นอาจแยกเอารสที่รวมกันอยู่เหล่านั้นมาถวายพระราชาว่า นี้เป็นรสเปรี้ยว นี้เป็นรสเค็ม นี้เป็นรสขม นี้เป็นรสเผ็ด นี้เป็นรสฝาด ได้หรือไม่ ? ”
     “ ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า ก็แต่ว่าเขาอาจรู้ได้ตามลักษณะของรสแต่ละรส”
     “ ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร รวมกันเข้าแล้ว อาตมภาพก็ไม่อาจแยกออกให้รู้ได้แต่ละอย่าง ก็แต่ว่าอาจให้เข้าใจได้ตามลักษณะแห่งธรรมเป็นอย่าง ๆ ”
     “ ขอถวายพระพร เกลือ เป็นของจะต้องรู้ด้วย ตา ใช่ไหม? ”
     “ ใช่ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ ขอมหาบพิตรจงจำคำนี้ไว้ให้ดีนะ ”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น เกลือ เป็นของรู้ด้วย ลิ้น อย่างนั้นหรือ ? ”
     “ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
     “ ถ้าบุคคลรู้จักเกลือทั้งหมดด้วยลิ้น เหตุไฉนจึงบรรทุกเกลือมาด้วยเกวียน ควรบรรทุกมาเฉพาะความเค็มเท่านั้นไม่ใช่หรือ ? ”
     “ ไม่อาจบรรทุกมาแต่ความเค็มเท่านั้นได้ เพราะว่าของเหล่านี้เป็นของรวมกัน ส่วนความเค็มบุคคลอาจชั่งได้ด้วยตาชั่งหรือไม่มหาบพิตร? ”
     “ อาจชั่งได้ พระผู้เป็นเจ้า ”
     “ มหาบพิตร จงจำคำนี้ไว้ให้ดีว่า บุคคลอาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่ง”
     “ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าว่าบุคคลไม่อาจชั่งความเค็มได้ด้วยตาชั่งอย่างนั้นหรือ? ”
     “ อย่างนั้น มหาบพิตร ”
     “ ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน ”




อธิบาย
   วิญญาณทั้ง ๕ ได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะต้องมี มโนวิญญาณ คือ ความรู้สึกทางใจ เข้าร่วมด้วย จึงจะสำเร็จประโยชน์ในการเห็น การฟัง การดม การลิ้นรส และการสัมผัส เป็นต้น

   เมื่อวิญญาณทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก่อน เช่น จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณ ก็เกิดในที่นั้น เพราะอาศัย จักขุ กับ รูป ธรรมทั้งหลายมี ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร มนสิการ ได้เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกัน แต่มีลักษณะต่างกัน ดังนี้

   ผัสสะ มีลักษณะ กระทบกัน เช่น จักขุ กับ รูป เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น

   เวทนา มีลักษณะ เสวยอารมณ์ คือทำให้รู้สึกมีความสุข มีความทุกข์ หรือ รู้สึกเฉย ๆ เป็นต้น สัญญา มีลักษณะ จำ เช่นเมื่อตาเห็นรูปก็จำได้ว่า มีสีสันวรรณะเป็นประการใด

   เจตนา มีลักษณะ จงใจ หรือ ประชุมแห่งการตกแต่ง หมายถึงมุ่งกระทำความดีหรือความชั่วด้วยความจงใจ

   วิญญาณ อันนี้ไม่ใช่วิญญาณที่มาถือกำเนิดในครรภ์ แต่ในที่นี้ท่านหมายถึง รู้ ในฎีกามิลินท์ท่านหมายถึง ประสาท เหมือนกัน

   วิตก มีลักษณะ ประกบแน่น หมายถึงการที่จิตตรึกอารมณ์

   วิจาร มีลักษณะ ลูบคลำไปตามวิตก คือจิตเคล้าอารมณ์ หรือจิตตรอง หรือพิจารณาอารมณ์ที่ตรึกนั้น

   วิตก กับ วิจาร ท่านอธิบายมีความหมายคล้ายกัน คือ วิตก เหมือนกับคนเคาะระฆัง เมื่อมีเสียงดังกังวานครวญครางขึ้นท่านเรียกว่า วิจาร ได้แก่อารมณ์คิดพิจารณานั้นเอง

   มนสิการ มีลักษณะ นึก ในข้อนี้ท่านไม่ได้ยกอุปมา เพราะได้เคยอุปมาให้พระเจ้ามิลินท์ได้ทราบไว้แล้ว

   รวมความว่า การที่จะเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสได้นั้น ไม่ใช่ อัพภันตรชีพ ( สิ่งที่เป็นอยู่ในภายในกายนี้) เป็น “ เวทคู ” คือเป็นผู้รับรู้ แต่การที่จะมีความรู้สึกได้เพราะอาศัย วิญญาณ ต่างหาก และวิญญาณทั้ง ๕ นี้ย่อมไหลไปสู่ มโนวิญญาณ เหมือนกับน้ำไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉะนั้น
   แต่ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยกัน อันมี ผัสสะ เป็นต้นนั้น ท่านไม่สามารถจะแยกออกมาได้ว่า อันนี้เป็นผัสสะ อันนี้เป็นเวทนาหรือ อันนี้เป็นสัญญา เปรียบเหมือนเครื่องแกงที่ผสมกันหมดแล้ว รสชาติของมันปรากฏอยู่ตามลักษณะของมัน แต่จะแยกออกมาไม่ได้

   คำเปรียบเทียบของพระนาคเสนเรื่องนี้เหมาะสมมาก คือเมื่อเครื่องแกงผสมเป็นน้ำแกงแล้ว เมื่อเราตักออกมาช้อนหนึ่งชิมดูย่อมมีรสเครื่องแกงทุกอย่างผสมอยู่ แต่จะแยกออกมาหาได้ไม่
   แต่เราพอบอกได้ว่า ความเผ็ดเป็นรสของพริก ความเค็มเป็นรสของเกลือ ความเปรี้ยวเป็นรสของน้ำส้มหรือมะนาว และความหวานเป็นรสของน้ำตาล เป็นต้น

   อนึ่ง เหมือนกับการบรรทุกเกลือ แต่จะไม่บรรทุกความเค็มมาด้วย หรือจะชั่งเฉพาะเกลือ แต่ไม่ชั่งความเค็มด้วยนั้นไม่สามารถจะกระทำได้ เพราะของเหล่านี้เป็นของรวมกัน ฉันใด
   ธรรมทั้งหลายอันมี ผัสสะ เป็นต้น ได้ปรากฏชัดตามลักษณะของตน แต่จะแยกออกมาแต่ละอย่าง ๆ มิได้เช่นกัน ฉันนั้น




ที่มา : http://www.geocities.com/SouthBeach/Terrace/4587/milindl.htm





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2015, 08:30:58 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #136 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 01:58:49 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ วิตก วิจาร

ที่เราพอจะมีปัญญาสัมผัสได้เพื่อค้นหาแนวทางเข้าสมาธิเมื่อสมาธิเสื่อม มีดังนี้

- การนั่งสมาธิ ต้องให้จิตแนบแน่นอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ต้องไปสนใจสิ่งภายนอก ให้หายใจเข้าออก-ยาวช้าๆเรื่อยๆ ไม่เร่ง ไม่รีบ
- เมื่อคิดหรือเห็นสิ่งใด ก็ให้รู้ว่าตนกำลังคิดเรื่องนี้ๆ เห็นสิ่งนี้ๆอยู่เท่านั้น ถ้าเมื่อเรารู้แล้วมันยังคิดสืบต่อก็ปล่อยมันคิดไปแล้วเราตามรู้มันไปแค่นั้น ถ้ารู้แล้วมันดับก็มาตั้งอยู่ที่ลมหายใจใหม่ อย่าไปบังคับไม่ให้คิดแต่ให้รู้ เมื่อมันดับไปแล้วก็ให้รู้ว่าวันดับแล้วยกจิตแนบแน่นที่ลมหายใจต่อ อย่างเกร็ง อย่าขัด อย่ายื้อ อย่าฉุด อย่าดึง อย่ารั้ง ทำให้ทันเป็นที่สบายพอ อะไรจะเป็นอย่างไรก็ช่างมันปล่อยให้มันเป็นไป



สิ่งที่เราพอจรับรู้ได้บ้างตามลำดับบ้าง ตามแต่ระลึกรู้ได้ในแต่ละขณะโดยแยกลำดับไม่ออกแค่รู้มันได้ตามลำดับที่เกิดขึ้นนี้ๆเท่านั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อจริงๆแล้วไม่สามารถแยกออกจากกันได้ รับรู้เอาได้ตามแต่คุณลักษณะในขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไร ตามที่พระนาคเสนเทศนาบอกพระเจ้ามิลินว่าแยกไม่ออกดังนี้

ทุกข์..เกิดจาก → อุปกิเลส..เกิดจาก → วิตก-วิจาร(เกิดจากความคิด ความเห็น อันเป็นไปในความยึดมั่นถือมั่นสมมติทั้งปวง)..เกิดจาก → ฉันทะ..เกิดจาก → เวทนา → สัญญา (ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจต่ออารมณ์ไรๆ เช่น จำได้หมายรู้ว่าอาการนี้ๆ คือ สุข หรือ ทุกข์ คือ สิ่งไรๆ) → วิญญาณ..เกิดจาก → เกิดจากเจตนา (ความจงใจ ตั้งใจให้เป็นไปต่างๆนาๆ) → สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ คือ ไอ้ตัวที่เราเห็นว่ามันทำหน้าที่หวนระลึกจับเอาความจำในสิ่งที่รู้กระทบในตอนแรกๆว่ามันคืออะไร ซึ่งมันเกิดขึ้นเมื่อเรารู้ผัสสะแต่ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไรที่เวทนายังมีอาการเฉยๆอยู่ ซึ่งตอนแรกเราเข้าใจว่ามันคือเจตนาที่ทำหน้าหวนระลึกจงใจที่จะรู้ความจดจำบัญญัติสมมติในสิ่งนั้นๆ) → เวทนา → ผัสสะ → (วิญญาณ + อารมณ์)



ลำดับการกระทบ

(อารมณ์ + สฬายตนะ + วิญญาณ) → ผัสสะ → เวทนา(กลางๆ-ไม่สุขไม่ทุกข์) → สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ คือ ไอ้ตัวที่เราเห็นว่ามันทำหน้าที่หวนระลึกจับเอาความจำในสิ่งที่รู้กระทบในตอนแรกๆว่ามันคืออะไร ซึ่งมันเกิดขึ้นเมื่อเรารู้ผัสสะแต่ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไรที่เวทนายังมีอาการเฉยๆอยู่ ซึ่งตอนแรกเราเข้าใจว่ามันคือเจตนาที่ทำหน้าหวนระลึกจงใจที่จะรู้ความจดจำบัญญัติสมมติในสิ่งนั้นๆ)เวทนา → ฉันทะ → เวทนา → เจตนา (ความจงใจในอารมณ์) → วิญญาณ → สัญญา → จิตรู้สมมติ → ฉันทะ → สังขาร (มี วิตก-วิจาร เป็นต้น) → มนสิการ(มีลักษณะที่ "นึก"..น้อมไปในอารมณ์นั้นๆ) → อุปกิเลส → ทุกข์



ดับความคิด → ก็ดับโดยการไม่ยึดฉันทะ-ปฏิฆะ(ที่มีต่อตัวตนบุคคลใด สัตว์ใดๆ สิ่งใดๆ ที่รัก ที่โลภ ที่โกรธ ที่หลง)
ดับฉันทะ → ก็ดับโดยการไม่ยึดสัญญา
ดับสัญญา → ก็ให้ดับโดยการไม่ยึดเจตนา
ดับเจตา → ก็ให้ดับโดยการไม่ยึดเวทนา
ดับเวทนา → ก็ดับโดยการไม่ยึดผัสสะ
ดับผัสสะ → ก็ดับโดยการไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ (ไม่ยึดสมมติที่จิตรู้ ว่าเป็น ตัวตน บุคคลใด อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง อดีต อนาคต)
ดับความรู้ของจิต → ก็ต้องให้จิตพัก



ก็ให้ดับโดยการไม่ยึดสมมติ ตัวตน บุคคลใด อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง
(สมมติว่าเป็น ตัวตน บุคคลใด อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง)

(อุบายว่า..ให้จิตรู้ว่าสิ่งใดที่จิตรู้ สิ่งนั้นล้วนแต่เป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว หรือไม่ก็ปรุงแต่งไรๆในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ล้วนเป็นสิ่งสมมติทั้งสิ้น ไม่มีปัจจุบัน ไม่มีของจริงเลย ของจริง คือ ลมหายใจเข้า-ออก ที่กำลังพัดเข้า-พัดออก ที่กำลังเป็นไปในกายนี้เท่านั้น รู้ลมหายใจก็รู้ของจริงในปัจจุบันขณะ)


๑. การไม่ยึดความคิด → ก็ให้ไม่ยึดในความปรุงแต่งในอดีต-อนาคต-สมมติไรๆ
๒. การไม่ยึดความปรุงแต่งทั้งในอดีต-อนาคต-สมมติไรๆ → ก็ให้ไม่ยึดในฉันทะ (ความจงใจในอารมณ์ทั้งหลาย)
๓. การไม่ยึดฉันทะการ → ก็ให้ไม่ยึดในเจตนา (ความพอใจยินดีในอารมณ์นั้น)
๔. การไม่ยึดเจตนา (ความพอใจยินดีในอารมณ์นั้น) → ก็ให้ไม่ยึดในสัญญา (ความจำได้หมายรู้อารมณ์)
๕. ความไม่ยึดสัญญา (ความจำได้หมายรู้อารมณ์) → ก็ให้ไม่ยึดในเวทนา
๖. การไม่ยึดเวทนา → ก็ให้สักแต่ว่ารู้ (ให้สักแต่ว่ารู้ในเวทนาว่า มันสุข มันทุกข์ หรือ กลางๆ มันก็แค่ปกติอาการของจิต แล้วก็วาง ไม่ยึดเอามาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต)
๗. การสักแต่ว่ารู้ → ก็ให้ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้





(อุบายว่า..เพราะจิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นล้วนแต่เป็นสมมติกิเลสที่สร้างขึ้นมาหลอกให้จิตเสพย์ ทุกอย่างล้วแต่เป็นอดีตที่ล่วงไปแล้ว หรือไม่มันก็ปรุงแต่งอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แค่จิตมันเข้าไปยึดเอาความรู้สมมติให้สิ่งนั้นๆมาเกิดตั้งอยู่ตรงหน้าเท่านั้น มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ยึดมันไปก็หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากความเร่าร้อนเป็นทุกข์)
๑. ดับความคิด → ก็ให้ดับที่ฉันทะ
๒. ดับฉันทะ → ก็ให้ดับที่เจตนา
๓. ดับเจตนา → ก็ให้ดับที่เวทนา
๔. ดับเวทนา → ก็ให้ดับที่จิต




หลวงปู่บุญกู้สอนว่า กายใจเรามันแค่ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

ที่เจ็บปวดขานั้น
อาศัยจิตเข้าไปรู้แล้วยึดมั่นในเวทนา กายมันแค่ธาตุดินมันไม่มีความรู้สึกอะไร เพราะอาศัยใจนี้แหละ ยึดเวทนามันจึงเจ็บปวด

ที่เจ็บปวดขานั้น
เพราะลมหายใจเราไม่ละเอียดพอ ดังนั้นให้ตั้งมั่นอยู่ที่ลมหายใจ จนลมหายใจละเอียดเราจะไม่ยังกายอีก




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 14, 2017, 01:17:03 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #137 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 04:51:53 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อนุปทวรรค
๑. อนุปทสูตร (๑๑๑)

            [๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
             [๑๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็น
บัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาว่องไว มีปัญญา
เฉียบแหลม มีปัญญาทำลายกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตาม
ลำดับบทได้เพียงกึ่งเดือน ในการเห็นแจ้งธรรมตามลำดับบทของสารีบุตรนั้น เป็น
ดังต่อไปนี้ ฯ
             [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่ ก็ธรรม
ในปฐมฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ก็ธรรมในทุติยฌาน คือ
ความผ่องใสแห่งใจภายใน ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเป็นผู้วางเฉย
เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่
พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่ เป็นสุข อยู่ ก็ธรรมในตติยฌาน
คือ อุเบกขา สุข สติ สัมปชัญญะ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา
เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอัน
สารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่
และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจาก
เขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมี
ความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ก็ธรรมในจตุตถฌาน คือ อุเบกขา
อทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึงแห่งใจ เพราะบริสุทธิ์แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเต-
*กัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ
สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตร
รู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรม
นั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรม
เครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้น
ให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรเข้าอากาสานัญ-
*จายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดย
ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา ก็ธรรม
ในอากาสานัญจายตนฌาน คือ อากาสานัญจายตนสัญญา จิตเตกัคคตา ผัสสะ
เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา
มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว
ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า
ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อัน
กิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอัน
กระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่ง
ขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากาสา-
*นัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า
วิญญาณไม่มีที่สุด อยู่ ก็ธรรมในวิญญาณัญจายตนฌาน คือ วิญญาณัญจายตน-
*ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงวิญญาณัญ-
*จายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่
มีอะไรสักน้อยหนึ่ง อยู่ ก็ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตน
ฌาน จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์
วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับบท เป็นอัน
สารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และถึงความดับ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ด้วยประการนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป
เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า
ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัด
ออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงอากิญจัญ-
*ญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ เธอเป็น
ผู้มีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นแล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว
แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว
ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษ
แล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่
ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่ ฯ
             [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตรล่วงเนวสัญญา
นาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็น
ด้วยปัญญา อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป เธอย่อมมีสติออกจากสมาบัตินั้น ครั้น
แล้วย่อมพิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ด้วยประการ
นี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป เธอไม่ยินดี
ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้นๆ
มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัด
ออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มากก็มีอยู่ ฯ
             [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็น
ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
อริยวิมุติ ภิกษุรูปนั้นคือ สารีบุตรนั่นเอง ผู้ที่กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นผู้
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ในอริยสมาธิ ในอริยปัญญา ใน
อริยวิมุติ ฯ
             [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุรูปใดว่า เป็นบุตร
เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม
อันธรรมเนรมิต เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ภิกษุรูปนั้นคือสารีบุตร
นั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมว่า เป็นบุตรเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่ธรรม อันธรรมเนรมิต เป็นธรรม
ทายาท ไม่ใช่เป็นทายาทของอามิส ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมประกาศ
ธรรมจักร อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ไปตามลำดับโดยชอบ
ทีเดียว ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล ฯ

จบ อนุปทสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------




             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๒๓๒๔ - ๒๔๔๔.  หน้าที่  ๙๙ - ๑๐๓.
 http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=2324&Z=2444&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153
             ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[153-165] http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali.php?B=14&A=153&Z=165
             สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๔
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2015, 08:36:59 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #138 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2015, 09:05:42 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ความรักของหญิงสาวที่มีต่อท่านพระอานนท์(จบ)

แลแล้วพระอานนท์ก็กล่าวว่า "น้องหญิง! ชีวิตนี้เริ่มต้นด้วยเรื่องที่น่าละอาย ทรงตัวอยู่ด้วยเรื่องที่ยุ่งยากสับสน และจบลงด้วยเรื่องเศร้า อนึ่งชีวิตนี้เริ่มต้นและจบลงด้วยเสียงคร่ำครวญ เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกนี้เป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้ และเมื่อจะหลับตาลาโลกเราก็ร้องไห้อีก หรืออย่างน้อยก็เป็นสาเหตุให้คนอื่นหลั่งน้ำตา เด็กร้องไห้พร้อมด้วยกำมือแน่นเป็นสัญญลักษณ์ว่าเขาเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตานั้นทุกคนแบมือออก เหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึก และเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปเลย

"น้องหญิง! อาตมาขอเล่าเรื่องส่วนตัวให้ฟังสักเล็กน้อย อาตมาเกิดแล้วในศากยวงศ์อันมีศักดิ์ ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริสุทธิ์ยิ่งในเรื่องตระกูล อาตมาเป็นอนุชาแห่งพระบรมศาสดา และออกบวชติดตามพระองค์เมื่ออายุได้ ๓๖ ปี ราชกุมารผู้มีอายุถึง ๓๖ ปีที่ยังมีดวงใจผ่องแผ้วไม่เคยผ่านเรื่องรักๆ ใคร่ๆ มาเลยนั้นเป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก หรืออาจจะหาไม่ได้เลยก็ได้ น้องหญิงอย่านึกว่า อาตมาจะเป็นคนวิเศษเลิศลอยกว่าราชกุมารทั้งหลาย อาตมาเคยผ่านความรักมาและประจักษ์ว่า ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณและเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน อาตมากลัวต่อความรักนั้น

ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่งแห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้วจะเป็นพิษแก่จิตใจ ทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้นเหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธออย่าพอใจในเรื่องความรักเลย เมื่อหัวใจถูกลูบไล้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่

น้องหญิง! อย่าหวังอะไรให้มากนัก จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่งและแตกกระจายเป็นฟองฝอย จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น

"โกกิลาเอย! เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความเกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้นความละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ เมื่อความใคร่เกิดขึ้นความละอายก็หลบหน้า เพราะเหตุนี้พระบรมศาสดาจึงตรัสว่าความใคร่ทำให้คนมืดบอด อนึ่งโลกมนุษย์ของเรานี้ เต็มไปด้วยชีวิตอันประหลาดพิสดารต่างชนิดและต่างรส ชีวิตของแต่ละคนได้ผ่านมาและผ่านไป ด้วยความระกำลำบากทุกข์ทรมาน ถ้าชีวิตมีความสุขก็เป็นความหวาดเสียวที่จะต้องจากชีวิตอันรื่นรมย์นั้นไป

"โกกิลาเอย! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อยผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายอันน่าหวาดเสียวและว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่าในส่วนลึกแห่งหัวใจเขาจะว้าเหว่ และเงียบเหงาสักปานใดแทบทุกคนว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักของชีวิตที่แน่นอน เธอปรารถนาจะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือ?

"น้องหญิง! บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะที่พึ่งแล้วจงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หาไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใครได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด

"ธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้น พระศาสดาทรงสอนให้เว้นเสีย เพราะฉะนั้นแม้จะประสบปัญหาหัวใจ หรือได้รับความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติในภายหลังแล้ว ก็ควรตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ

"น้องหญิง! ธรรมดาว่าไม้จันทร์นั้น แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่ที่บดยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม พระศาสดาทรงย้ำว่าพึงสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาธรรม

"โกกิลาเอย! เธอได้สละเพศฆราวาสมาแล้ว ซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้น คือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ ในคนร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน ในคนพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน ในคนแสนคนหาคนพูดจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่รู้ว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบจะคำนวณเอาจากคนจำนวนเท่าใดจึงจะเฟ้นได้หนึ่งคน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นนักเสียสละตัวอย่างของโลก เคยมีกษัตริย์องค์ใดบ้างทำได้เหมือนพระพุทธองค์ ยอมเสียสละความสุขความเพลินใจทุกอย่างที่ชาวโลกปองหมายมาอยู่กลางดินกลางทราย ก็เพื่อทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่มนุษยชาติ การเสียสละของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับการเสียสละของพระบรมศาสดาแล้ว ของเราช่างเล็กน้อยเสียนี่กระไร

"น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่าบุคคลอาจอาศัยตัณหาละตัณหาได้ อาจอาศัยมานะละมานะได้ อาจอาศัยอาหารละอาหารได้ แต่เมถุนธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ชักสะพานเสีย คืออย่าทอดสะพานเข้าไปเพราะอาศัยละไม่ได้"

"ข้อว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้น คือละความพอใจในรสของอาหาร จริงอยู่สัตว์โลกทั้งมวลดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร ข้อนี้พระศาสดาก็ตรัสไว้ แต่มนุษย์และสัตว์เป็นอันมากติดข้องอยู่ในรสแห่งอาหาร จนต้องกระเสือกกระสนกระวนกระวาย และต้องทำชั่วเพราะรสแห่งอาหารนั้น ที่ว่าอาศัยอาหารละอาหารนั้นคืออาศัยอาหารละความพอใจในรสแห่งอาหารนั้น บริโภคเพียงเพื่อยังชีวิตให้ชีวิตนี้เป็นไปได้เท่านั้น เหมือนคนเดินทางข้ามทะเลทราย เสบียงอาหารหมด และบังเอิญลูกน้อยตายลงเพราะหิวโหย เขาจำใจต้องกินเนื้อบุตรเพียงเพื่อให้ข้ามทะเลทรายได้เท่านั้น หาติดในรสแห่งเนื้อบุตรไม่"

"ข้อว่าอาศัยตัณหาละตัณหานั้น คือเมื่อทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี หรืออรหันต์ ก็มีความทะยานอยากที่จะเป็นบ้าง เพื่อพยายามจนได้เป็นแล้ว ความทะยานอยากอันนั้นก็หายไป อย่างนี้เรียกว่าอาศัยตัณหาละตัณหา"

"ข้อว่าอาศัยมานะละมานะนั้น คือเมื่อได้ยินได้ฟังภิกษุหรือภิกษุณี หรืออุบาสกอุบาสิกา ชื่อโน้นได้สำเร็จเป็นโสดาบันเป็นต้น ก็มีมานะขึ้นว่าเขาสามารถทำได้ ทำไมเราซึ่งเป็นมนุษย์และมีอวัยวะทุกส่วนเหมือนเขาจะทำไม่ได้บ้าง จึงพยายามทำความเพียร เผากิเลสจนได้บรรลุโสดาปัตติผลบ้าง อรหัตตผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าอาศัยมานะละมานะ เพราะเมื่อบรรลุแล้วมานะนั้นย่อมไม่มีอีก"

"ดูก่อนน้องหญิง! ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใครๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนไหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง! พระศาสดาตรัสว่า กามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่มีทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล"
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #139 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2015, 01:24:02 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 8 สิงหาคม 2558 # ๑

๑. ให้มองเห็นดั่ง บุพการี ญาติ มิตร บุตร บุคคลอันเป็นที่รักที่หวงแหน

   - คือ..ทำไว้ในใจโดย พรหมวิหาร ๔ ทาน เข้าถึงศีล ได้แก่
ก. เมตตา ให้ทำไว้ในใจความรู้สึกเหล่าใดอันเป็นกุศลดีงามที่มีต่อเขาประดุจบุคคลอันเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ปารถนาดี มีความเอ็นดู ปรานี ของเรา (กุศล แปลว่า ความฉลาด) มีกุศลมากก็ฉลาดมาก ฉลาดในการปล่อยวางและปลงใจ มีความน้อมไปในการสละคืนอกุศลธรรม มีอกุศลวิตกเป็นต้น น้อมไปในการสละให้ ให้เกียรติ เคารพ ให้กุศลจิต กุศลกรรม กุศลธรรมอันงาม แก่เขา ไม่ตั้งอยู่ในอกุศลธรรมอันเบียดเบียนเขาแม้ กายก็ดี วาจาก็ดี ใจก็ดี ด้วยความเอ็นดูปรานีเสมอด้วยตน
[ตั้งในความสงบ อิ่มเอม สุข ด้วยความเอ็นดู ปรานี ปารถนาดี แทรกไปทั่วทุกอณูธาตุประดุจอากาศที่มีแทรกอยู่ในทุกธาตุไม่เลือกที่รักมักที่ชัง อยู่ในความไม่ยินดี ยินร้ายต่อสิ่งใด บุคคลใดทั้งสิ้น (หากถึงขณิกสมาธิก็ได้กุศลจิตและได้ศีลบริสุทธิ์ ขณิกสมาธิ ขณิกปิตินี้แหละนำมาซึ่งศีลอันเป็นกุศล, หากถึงอุปจาระสมาธิได้เมตตาที่ตั้งมั่นอันสงบใจจากกิเลสนิวรณ์ อันมีเมตตาเป็นฐาน ไม่มีทั้งที่รัก ที่ชัง มีแต่ความเอ็นดูปรานี ปารถนาดีแผ่ไปให้ทั่ว ไม่ลำเอียงเลือกที่รักมักที่ชัง มีความเสมอกันหมด, หากถึงอัปปนาสมาธิได้เมตตาฌาณสละคืนอกุศลทั้งปวง ตั้งอยู่ในความปารถนาดีไปทั่ว ๓ โลก ไม่ลำเอียง ไม่มีรัก ไม่มีเกลียด มีสุภวิโมกข์เป็นผล)]
ข. กรุณา ให้ทำไว้ในใจถึงความมีจิตสงเคราะห์ ตั้งมั่นในใจส่าเราจักเป็นผู้อนุเคราะห์แบ่งปัน เอื้อเฟื้อต่อสิ่งทั้งปวง น้อมไปในกุศลกรรมทาง กาย วาจา ใจ อันเป็นไปเพื่อความอันสละให้
[ตั้งจิตไว้ไม่ยึดด้วยกาย ละความยินดีด้วยกายแผ่ไปประดุจอากาศที่ว่างอันกว้างไม่มีสิ้นสุดแผ่คลุมไปไม่มีประมาณประดุจดั่งอากาศที่ว่างกว้างไปทั่วไม่มีประมาณนั้น หรืออุบายที่หมายเอาว่าอากาศเป็นที่ว่างซึ่งมีอยู่ในทุกที่ มีแทรกในทุกธาตุ มีที่ว่างอยู่ทั่วเป็นอันมากไม่มีประมาณ หากเทียบดูแล้วอากาศธาตุกับธาตุทั้งปวงทั่วทั้งโลกทั้งจักวาลนี้ จะมีอากาศเป็นที่สุด เป็นที่ว่างกว้างไปมีเป็นอันมากหาประมาณไม่ได้  เอาจิตจับที่ความว่างประดุจอากาศธาตุอันเป็นที่ว่างมีมากไม่มีประมาณนั้น(หากถึงขณิกสมาธิได้กุศลทานบริสุทธิ์, หากถึงอุปจาระสมาธิได้จิตที่สงเคราะห์สละให้แผ่ไปไม่มีประมาณปราศจากนิวรณ์น้อมไปในการไม่ตั้งอยู่จำเพาะกาย, หากได้อัปปนาสมาธิทำให้จิตสงัดจากกามถึงความไม่ตั้งอยู่ด้วยกาย ไม่ยินดีด้วยความสำคัญมั่นหมายของใจไว้ที่กาย เข้าในอรูปฌาณ อันมีอากาศเป็นที่ตั้งได้)]
ค. มุทิตา ให้ทำไว้ในใจถึงความยินดี เป็นสุขไปกับเขาเมื่อเขาพ้นจากทุกข์ประสบสุข คงไว้ซึ่งกุศลดีงามและสิ่งอันเป็นที่รักที่มีค่าแก่ของเขา เหมือนบุลคลที่เรารักให้ความสำคัญใจคงไว้ซึ่งความสุขของเขาฉันนั้น หรืออุบายว่าความอิ่มเอมเป็นสุขนี้มีอยู่ที่ใจ จะสุขได้ก็ด้วยใจนี้แหละ แลเวทำใจไว้ตั้งอยู่ที่ใจ จับสุขที่ใจนั้น [ทำไว้ในใจตั้งมั่นจับอยู่ที่วิญญาณอันตั้งอยู่แต่ความอิ่มเอมสุขยินดีอันปราศจากอกุศลธรรมความอิสสาริษยาทั้งปวงต่อเขาทั้งหลาย (หากได้ขณิกสมาธิกขาดจากความอิสสาริษยาในขณะนั้นมีจิตอันยินดีประกอบไปด้วยสุขแห่งกุศล,  หากได้อุปจาระสมาธิมีความอิ่มใจเป็นสุขด้วยกุศลปราศจากนิวรณ์ มีจิตน้อมจับจำเพาะจิตอันอิ่มเอมสุขแผ่ไปให้เขา(บ้างเกิดนิมิตเห็นจิตมีใจน้อมยึดที่จิตที่ผ่องใสนั้นเป็นอารมณ์), หากได้อัปปนาสมาธิ ย่อมเห็นว่าสุขนี้เกิดขึ้นที่ใจ จิตตั้งอยู่ที่ใจไม่เนื่องด้วยกาย ถึงวิญญานัญจายตนะ มีวิญญาณเป็นอารมณ์อันเป็นสุขที่มากไม่มีประมาณอยู่จับอยู่วิญญาณ)]
ง. อุเบกขา ให้ทำใจไว้ว่า เราตั้งอยู่ด้วยความกุศลอันปารถนาดี มีความทำในการสงเคราะห์ ยินดีที่เขาเป็นสุขแล้ว เขาจะทำอย่างไรต่อไปก็อยู่ที่กรรมของเขา เรามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผล เป็นืี่ติดตามอาศัย ไม่ว่าเขาหรือเราจะสุขหรือทุกข์ต่างอยู่ที่กรรมในปัจจุบันและวิบากกรรมอันสะสมมา ติดข้องใจสิ่งไรๆไปก็ไม่เกิดประโยชน์สุขอันใดนอกจากทุกข์ หรืออุบายว่าจะสุขจะทุกข์ก็เนื่องอยู่ด้วยใจ รู้ ได้ด้วยวิญญาณ ความเนื่องอยู่ด้วยใจย่อมเป็นทุกข์ ตั้งมั่นในความสละคืนสังขารธรรมทั้งปวง(ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖) วางจิตไว้ปลงจิตให้ไม่ยึดไม่จับเอาสิ่งใดอีก หรืออุบายว่าด้วยวิชาธาตุคืออากาศ(ความว่าง) มีมากในใจ ความไม่มีสุขไม่มีทุกข์ไม่มีความยินดียินร้ายคือความว่างที่มีอยู่ในใจ ตั้งมั่นว่าใจนี้ประดุจเป็นอากาศที่ว่างไม่มีความยินดียินร้ายแผ่ไปทั่วไม่มีประมาณ [ทำไว้ในใจตั้งอยู่ด้วยความไม่ยึดจับเอาสิ่งใดๆเลยทั้งสิ้น (หากได้ขณิกสมาธิ ย่อมได้ความสงบใจอันตั้งอยู่ด้วยกุศล มีวูบหรึ่งเกอดขึ้นด้วยขณิกปิติที่อิ่มใจด้วยความสงบนั้น มีความผ่องใสเบาๆ จิตจับที่ลมหายใจเอง ลมหายใจละเอียดขึ้นไม่สุขไม่ทุกข์อีก, หากได้อุปจาระสมาธิจะมีจิตอันปราศจากนิวรณ์ไม่ยึดจับเอาสิ่งใดทั้งสิ้น มีแต่ใจที่เสพย์ว่างอยู่ด้วยกุศลแผ่ไปทั่วไม่ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นมักก็สักแต่รู้ไม่ยึดไม่เสพย์เกิดความเป็นผู้แลอยู่ได้ ไม่ยึดเอากายหรือสิ่งที่จิตรู้อีก, หากได้อัปปนาสมาธิเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ไม่มีกาย ไม่มีใจ มีแต่ความว่าง ความไม่ยึด ไม่ตั้งเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น]



๒. ปฏิกูลสัญญา หรืออาการทั้ง ๓๒ ประการ (ม้างกาย)

  - คือ..ทำไว้ในใจโดย เริ่มจากเห็นเป็นปฏิกูลสัญญาของน่าเกลียดเน่าเหม็น จนม้างกายออกทีละชิ้นๆ ทีละอาการถอดออกมาเริ่มจาก ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ลอกออกมาจนไม่เหลือกระดูก จนไม่เห็นมีตัวตนบุคคลใดเราหรือเขาในนั้น ในนั้นไม่มีตัวตนบุคคลใดที่เป็นเราเป็นเขา ก็สักแต่ว่าอาการหนึ่งๆอวัยวะอันเน่าเหม็นทั้งปวงเกากุมกันขึ้นเป็นกลุ่มก้อนเท่านั้น เป็นแค่ก้อนธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศที่มีแทรกทั่วในกลุ่มธาตุที่เกาะกุมกันนั้น ไม่มีตัวตนบุคคลใดของใครทั้งสิ้น ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่ใช่ของเขาไม่ใช่ของเรา สักแต่ว่าอวัยวะทั้ง ๓๒ ประการ อันเป็นธาตุ ๕ เหล่านั้นเกาะกุมกันเกิดขึ้น อาศัยวิญญาณะาตุเข้าไปครอง ให้ธาตุเหล่านั้นมีใจครองเท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากธาตุ อันมีความเสื่อมเป็นธรรมดาไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่มีตัวตนบุคลใดเป็นเราหรือเขาในนั้นทั้งสิ้น ควรไหมหนอจะติดใจปารถนาเอาในสิ่งที่ไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ย่อมหาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ เป็นแต่ที่ประชุมทุกข์เท่านั้น

การม้างกายดูได้จากที่พระนาคเสนถามตอบปัญหากับพระเจ้ามิลินตาม Link นี้
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-01.htm



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 03:48:20 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #140 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2015, 10:10:57 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 8 สิงหาคม 2558 # ๒

๓. อินทรีย์สังวรณ์ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นเบื้องหน้าตั้งอยู่ในความสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่กัยปัจจุบัน

   - คือ..ทำไว้ในใจโดย ไม่คิดไม่ยึดไม่ถือเอาความเข้าไปมองด้วยสัญญาในส่วนเล็กส่วนน้อยคืออนุพยัญชนะที่ตนสำคัญใจอันเป็นไปในสมมติกิเลสทางกามเมถุนมาเป็นที่ตั้งแห่งใจ ไม่ตรึกนึกคิดเอากิเลสสมมติสืบต่อ

- เห็น ก็สักแต่ว่าเห็น (เขาก็อยู่อย่างนั้นของเขามีอิริยาบถอยู่อย่างนั้นๆเท่านั้นแต่เรานี่ติดสมมติมาตรึกนึกคิดต่อจนเกิดความอยาก ก็เข้าไปมองในส่วนเล็กส่วนน้อยดูนม ดูตูด ดูเรียวขา ดูหุ่น ดูใบหน้า ตรึกถึงถึงอวัยวะเพศเขาบ้าง ตรึกนึกถึงอาการเสพย์เมถุนกับเขาบ้าง ตรึกนึกเอาว่าถ้าเขาถูกแบนี้หน้าตาความรู้สึกอาการต้องเป็นอย่างนี้จนเกิดความกำหนัดกระสันอยากเสพย์เมถุนกับเขา ทั้งๆที่เขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้น "นี่เห็นได้เลยว่า กามคุณ ๕ เกิดมาแต่ความดำริถึง ตรึกนึกคิดปรุงแต่งหวนไปหาความจำได้หมายรู้ที่รักที่พอใจที่น่าใครปารถนาที่เราสำคัญใจไว้" ดังนั้นให้มองออกไปว่าที่เราเห็นนี้หนอ มีสีอะไรอยู่บ้างในเบื่องหน้านี้เท่านั้น ธรรมชาติของตาก็ย่อมเห็นอยู่ในปัจจุบันในที่ใกล้ที่ไกลสีสันต่างๆเท่านั้น แต่อาศัยใจนี้เข้าไปยึดครองเอาสมมติบัญญัติให้เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อาศัยมโนวิญญาณนี้เข้ายึดปรุงแต่งสมมติกับสัญญาและสังขารตรึกนึกสมมติไปทั่วให้เห็นเกินเลยจากสิ่งที่เห็นในปัจจุบันที่มีสีนั้นๆเคล้าโครงนั้นๆอยู่ในลักษณะอาการนั้นๆเท่านั้น
    หรืออุบายว่า..ตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาม้างกาย ถอดมันออกทีละอาการในรูปที่เราเห็นที่มองอยู่ด้วยอารมณ์ที่ใคร่ ปารถนา กระสันอยู่นั้น เริ่มจาก ผม ขน เล็บ ฟัน หนังลอกออกให้หมด จะเห็นแค่ก้อนอวัยวะต่างๆเกาะกุมกันไว้อยู่เท่านั้น อาศัยกระดูกเป็นเค้าโครง มีเส้นเอ็นร้อยรัดเอาให้ ให้อวัยวะที่อ่อนแข็งปะปนเปื้อนเลือดเกาะกุมกันไว้อยู่เท่านั้น มีเส้นเลือดและน้ำเลือดแสงฉานปกคลุมอยู่ทั่ว แยกออกมาทีละอาการแล้วดูสิว่า เส้นผมนั้นหรือที่เป้นเขา เขาหรือที่เป็นเส้นผม ขนหรือ เล็บหรือ ฟันหรือ หนังหรือ ปอดหรือ เลือดหรือ ไตหรือ ม้ามหรือ ที่เป็นเขา เขาหรือที่เป็นสิ่งนั้นๆอาการนั้นๆ เมื่อพิจารณาดังนี้แล้วก็ไม่เห็นจะมีบุคคลอันน่ากระสันน่าเสพย์เมถุนในนั้น ในมั่นก็ไม่ใช่บุคคลอันน่าใคร่น่าปารถนาเลย อาศัยลมที่เคลื่อนตัวผ่าน ปลายจมูก หน้าผาก กลางกระหม่อม โพรงกระโหลก ท้ายทอย คอหอย หน้าอก เหนือสะดือ 2 นิ้ว ไปหน้าขา หัวเข้า ปลายเท้า ลมในกายที่พัดขึ้นพัดลงนี้มีเพื่อทำให้เลือดไหลเวียนอยู่ อาศัยอากาศธาตุช่องว่างในกายนี้ทั้งหลายช่องว่างในน้ำเลือดหรืออวัยวะทั้งปวงเป็นอากาศช่องว่างให้ลมและน้ำขับเคลื่อไปได้ ก็กายนี้แลที่เราว่าสวยว่างามน่าใครปารถนาน่ากระสันน่าเสพย์เมถุนมันมีอยู่ก็เพียงเท่านี้(ถ้านึกไม่ออกให้ดูน้ำก๊อกในสายยางเวลาเปิดจะมีอากาศอยู่ในสายยางเสมอเพื่อทำให้น้ำผลักดันไปตามลมแรงดันเคลื่อนตัวที่พัดดันน้ำนั้น)
    หรืออุบายว่า..ตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ ไฟมีมากในตาผัสสะเหล่าใดมีเกิดขึ้นเหมือนที่เราเคยรับรู้นั้นคือเป็นเหมือนไฟแลบแปล๊บเท่านั้น ดังนั้นให้ทำเหมือนไฟแลบแปล๊บเผารูปทางตาดับไปเสีย)

- ได้ยิน ก็สักแต่ว่าได้ยิน (ธรรมชาติของหูก็ย่อมได้ยินเสียง จริงๆแล้วมันก็เป็นเพียงเสียงทุ้มแหลมดังเบาเท่านั้น เป็นเสียงเกิดจากลมที่เปล่งออกมาผ่านช่องเสียงที่กว้าง แคบ ลึก สั้น ออกมาเป็นรูปเสียงที่เป็นไปในลักษณะต่างๆเท่านั้น เหมือนลมที่พัดช่องเขา ช่องว่างมีเสียงออกมาในลักษณะต่างๆเท่านั้น แต่ใจเรานี้เองที่ไปสำคัญใจเอาว่ามันเป็นนั่นเป็นนี่คำนั้น-คำนี้ หมายความไปอย่างนั้น-อย่างนี้ เสียงนุ่ม-เสียงหยาบ เสียงที่พอใจ-ไม่พอใจ พอเมื่อจดจำเสียอันเป็นที่รักที่พอใจหรือเสียงจากสิ่งที่รักที่พอใจไว้ได้ ก็ให้ความสำคัญมั่นหมายใจว่าเป็นอย่าง ก็เกิดปรุงแต่งอันเป็นไปในราคะเมถุนบ้างว่า ผู้หญิงคนนี้เมื่อเสพย์อย่างนี้ มีอาการอย่างนี้ เธอได้เสพย์เมถุนในอาการอย่างนี้กับเราก็จะส่งเสียงร้องย่างนี้ อันนี้ก็ปรุงแต่งไปทั่วๆทั้งๆที่ความจริงได้ยินแค่เสียงที่มากับลมที่ผ่านช่องหู กระดูหู ซึ่งเสียงนั้นมีแค่อาการทุ้ม แหลม ดัง เบา ตามที่แต่ลมนั้นจะพัดผ่านวัตถุชองดินอันแคบหรือกว้างเท่านั้นไม่มีเกินนี้ มันก็สมมติขึ้นที่ใจทั้งสิ้นแม้เสียงอันเป็นไปในกามราคะเมถุนเหล่านี้ก็มาแต่ความสมมตืนึกคิดปรุงแต่งถึง ดำริถึงดังนี้[ไม่ว่าจะเป็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะเหล่าใด ที่มีความดำเนินไปใน กาม ราคะ เมถุน ย่อมมีเหตุอย่างนี้ตามที่พระพุทธเจ้าองค์บรมศาสดาตรัสสอนว่า "เรารู้แล้วกาม เจ้าเกิดมาจากความดำริถึง เราจะไม่ดำริถึงเจ้าอีก"])

- ได้กลิ่น ก็สักแต่ว่าได้กลิ่น (ธรรมชาติของจมูกย่อมได้กลินเป็นธรรมดา รู้กลิ่นที่มีอาการนั้นๆก็สักแต่รู้ว่าได้รู้อาการนั้นๆทางจมูกเท่านั้น กลิ่นนี้เป็นเพียงสิ่งที่โชยมาตามลมเท่านั้น รับรู้ทางจมูกที่หายใจเข้าไปเท่านั้น สุดลมหายใจเข้าก็ไม่รู้กลิ่นแล้ว หายใจออกก็ไม่รู้กลิ่นแล้ว กลิ่นที่รัก ที่เกลียด ก็สักแต่มีอยู่ด้วยลมเท่านั้น จะไปยึดเอาสิ่งใดหนอที่พัดไปพัดมาเท่านั้น ลมก็ไม่ได้มีความรักความชอบในกลิ่นไรๆทั้งสิ้น ทำใจประดุจลมก็สักแต่ว่าลมเท่านั้น ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งใดๆ หรืออุบายว่าตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ ดินมีมากในจมูกทำให้ประดุจดั่งดินที่จมูกก็จักไม่รู้กลิ่นจักละกลิ่นที่ชอบใจและไม่ชอบใจเสียได้)

- ได้รู้รส ก็สักแต่ว่าได้รู้รส (ธรรมชาติของลิ้นย่อมรู้รส รู้ว่ารสชาติอย่างนั้นๆเกิดขึ้นทางลิ้นก็สักแต่รู้ว่ามีอาการนั้นๆเกิดขึ้นทางลิ้นเท่านั้น ที่ทั้งรสพอใจและไม่พอใจ ก็สักแต่มีอาการจำเพาะอย่างนี้ๆเท่านั้น หรืออุบายว่าตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ น้ำมีมากในลิ้นรสใดก็ตามรู้ได้ด้วยน้ำ ทำตัวประดุจน้ำให้ตั้งน้ำไว้ที่ลิ้นก็จักดับรสที่รักที่เกลียดได้)

- ได้รู้สัมผัสทางกาย ก็สักแต่ว่ารู้สัมผัสทางกาย (ตั้งสติไว้เบื้องหน้าก็สักแต่รู้ว่ามีสัมผัสทางกาย ก็รู้สักแต่ว่าร้อน เย็น สักแต่แข็ง อ่อน นุ่มเท่านั้น ธาตุ ๔ มีมากในกาย ทำใจไว้ให้เห็นกายนี้เป็นประดุจดั่งธาตุ ๔ ไม่ยินดียินร้ายด้วยธาตุภายนอกภายในก็มีเสมอกัน รู้ผัสสะก็สักแต่เพราะว่ากายเป็นธาตุ ๔ ที่มีใจครอง ทำตัวเป็นธาตุ ๔ ธาตุนั้นย่อมไม่มีความรู้สึกนึกคิดไรๆ เมื่อถอนคือไม่เอาจิตจับยึดครองธาตุทุกอย่างที่สัมผัสย่อมไม่มีอะไรให้รู้สึกทางกาย จักละเวทนาทางกายได้)

- ได้รู้สัมผัสทางใจ ก็สักแต่ว่ารู้สัมผัสทางใจ (ก็สักแต่รู้ว่ามีสัมผัสทางใจ ไม่ว่าจะมีความรู้สึกเสวยอารมณ์ความตรึกนึกคิดใดๆก็สักแต่รู้ว่ามีสิ่งนี้เกิดในมโนทวารให้จิตรู้เท่านั้น เป็นแค่อาการความรู้สึกอย่างหนึ่งเข้ามาให้จิตรู้ไม่มีเกินนี้ แต่เพราอาศัยคิดอาศัยสัญญาที่สมมติกิเลสสร้างขึ้นทำให้เกิดเป็น สุข ทุกข์ เฉยๆ ชอบ ชัง รัก โลภ โกรธ หลง ติดข้องใจสิ่งที่จิตรู้ไปก็หาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ ปลงจิตเสียไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ก็จะไม่ทุกข์ หรืออุบายว่าตั้งสติไว้แต่เบื้องหน้าโดยวิชาธาตุ อากาศมีมากในใจ ความไม่สุขไม่ทุกข์หรืออุเบกขาก็เป็นที่ว่างในใจ ทำใจประดุจเหมือนอากาศอันเป็นที่ว่างไม่มีประมาณ ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งไรๆ ก็จักถึงอุเบกขาไม่ทุกข์อีก)




***แต่ไม่ว่าจะทางทวารใด ย่อมอาศัยจิต อาศัยวิญญาณ อาศัยมโนวิญญาณเข้าไปรู้ในทางนั้น หลังจากที่รู้ผัสสะอันเป็นประดุจฟ้าแลบแปล๊บนั้นแล้วที่มีแต่อาการลักษณะหนึ่งๆเท่านั้น หลังจากนั้นล้วนรู้ด้วยสมมติกิเลสอันเนื่องด้วยความหมายรู้อารมณ์ตรึกนึกปรุงแต่งอารมณ์ด้วยสมมติทั้งสิ้น แม้แต่เวทนาก็ตาม ซึ่งล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ดังนั้นไม่ยึดจิต ไม่ยึดสิ่งที่จิตรู้ สละคืนสังขารทั้งปวง สละคืนขันธ์ ๕ ไปเสีย ก็ไม่มีทุกข์ ของจริงมีอยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น จิตจะจับที่ลมหายใจเอง***

***อีกประการหนึ่ง รู้ผัสสะใดก่อนก็ให้ละตัวนั้นก่อน ตามรู้ตัวนั้นหรือ ข่มใจจากกิเลสตัวนั้นแล้วถอนมันออกประดุจว่าปล่อยให้มันพรั่งพรูออกมาให้พอแต่เราก็สักแต่สว่ารู้ว่าดูมันไม่เข้าไปร่วมเสพย์***

***อีกประการหนึ่ง เมื่อจะเข้ากรรมฐาน ให้ปลงใจก่อน ปล่อยวาง เมื่อจิตมันจับสิ่งใดแล้วทำให้มันปลงใจปล่อยวางได้ก่อน ก็จับเอาสิ่งนั้นเป็นกรรมฐานตามรู้ ตั้งเอาสิ่งนั้นมาพิจารณาเป็นอารมณ์ก่อน ไม่ต้องไปขัดใจมัน แล้วมันจะเข้าสมาธิมีขณิกสมาธิ คือ ความสงบใจด้วยกุศล เอง แล้วค่อยเอาอารมณ์นั้นแหละทรงเข้ากรรมฐานที่ชอบใจภาายหลังจะเข้าสมาธิได้ง่าย***





จาก http://www.thammaonline.com/15304.msg17413#msg17413
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 03:59:33 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
seiha
เด็กใหม่
*****

พลังความดี : 0


เพศ: ชาย
อายุ: 8
กระทู้: 5
สมาชิก ID: 2966


อีเมล์
« ตอบ #141 เมื่อ: สิงหาคม 13, 2015, 11:31:59 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
 ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า เศร้า



---ออนไลน์ ในรูปแบบใหม่ล่าสุดจาก ปอยเปต --- รีสอร์ท ได้ที่นี่ royal1688
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #142 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 08:55:46 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน



พระตถาคตเจ้านั้นย่อมตรัสชี้แนะสั่งสอนสาวกดังนี้ว่า..
"สุขทางโลก หรือ สุขทางโลกียะนั้น ไม่เที่ยง ประกอบไปด้วยทุกข์"


นั่นเพราะ..
"สุขทางโลกียะนั้น มันเป็นสุขจากความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นตัวตนในสิ่งไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน  ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ล้วนมีแต่ความเสื่อมสุญสลายไปทุกๆขณะ มันเป็นสุขที่ประกอบไปด้วยกามคุณ กามารมณ์ กามเมถุน มันสุขแค่ประเดี๋ยวชั่วคราว สุขแค่ชั่ววูบแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ล้วนประกอบไปด้วยทุกข์ เพราะเมื่อเสพย์แล้วก็เกิดความทุกข์ลำบากจากการแสวงหาใคร่ที่จะเสพย์อีกบ้าง สูญเสียบ้าง เมื่อความสุขนั้นดับไปสูญไปบ้าง หรือ ยังซึ่งความฉิบหายให้เราและผู้อื่นในภายหลัง"





เช่น เมื่อกินเหล้า สูบบุหรี่ หรือ เมถุนแล้ว สุขกับการเสพย์มันก็แค่ประเดี๋ยวชั่ววูบชั่วคราว แล้วก็ดับไป เมื่อดับไปแล้วก็ทุกข์ร้อนรนตะเกียกตะกายแสวงหามาให้ได้เสพย์อีก เมื่อเสพย์มันแล้วก็ต้องแลกกับ กุศล ความดีงาม ภัณฑะ ทรัพย์สิน สิ่งของมีค่าทั้งปวงที่สั่งสมมา เพื่อแลกกับที่จะได้เสพย์มันเพียงชั่วคราวเท่านั้น



เราเองก็ได้รู้รสความสุขเพียงประเดี๋ยวชั่วครู่ชั่วคราวจากกามคุณ ๕ คือ ทั้งเหล้า ยา ปลาปิ้ง บุหรี่ เมถุน แต่ทำร้ายกุศลที่ดีงาม ทรัพย์สิน บุคคล สิ่งของอันเป็นที่รักที่หวงแหนยิ่ง ที่สั่งสมมาอย่างยากลำบาก ที่เก็บไว้เพื่อลูกเมีย เพื่อเตี่ยแม่ จนนำความสูญเสียความฉิบหายมาให้มีมากมานักต่อนักแล้ว ดังนั้นเราควรละความสุขทางโลก อันไม่เที่ยงสุขแค่ประเดี๋ยวประด๋าวชั่ววูบชั่วคราวนั้นเสีย ละความสุขในกามารมณ์ กามคุณ ๕ กามเมถุน ทั้งปวงเสียได้ เราจักไม่ทุกข์อีก




พระตถาคตตรัสสอนว่า เพราะละความสุขทางโลกียะที่มีแค่ชั่วคราววูบหนึ่ง ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ทั้งหลายเหล่านี้เสียได้ จึงถึงสุขแห่งโลกุตระอันเป็นนิรันด์ เป็นอมตะสุขได้

(ความไม่แสวงหา ความไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆ ความปล่อยวาง ความว่างจากกิเลส ความดับกิเลส ความสละคืน คือ  บรมสุข)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 04:14:09 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #143 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 01:05:35 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 14-15 สิงหาคม 2558

    - วันนี้..เราไม่ได้นอนแล้วทำสมาธิ เมื่อช่วงประมาณ 15.30 น. ทำสมาธิเข้าสมาธิมีลมหายใจละเอียดขึ้น ขาที่ปวดบวมอักเสบอยู่ก็ไม่ปวดขาอีก ไม่เป็นตะคริวด้วย นั่งอยู่จนถึงประมาณ 16.41 - 17.00 น. ขณะหนึ่งก็มีอาการปวดขาบ้างอยู่ "แต่เราก็ระลึกคำสอนหลวงปู่บุญกู้ว่า..ที่เราเจ็บปวดขานี้ นั่นเพราะลมหายใจยังหยาบอยู่ ถ้าลมหายใจเราละเอียดเมื่อไหร่ เวทนาทางกายก็จะดับไปไม่ปวดขาอีก" และ "อาศัยระลึกถึงคำสอนของหลวงพาอเสถียรที่ท่านกรุณาสอนเราว่า กำหนดนิมิตเพ่งดูด้วย "ธาตุ ๖" กายเรานี้มันแค่ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ แต่อาศัยใจเข้าไปยึดครองในธาตุเหล่านั้นให้รู้สึกเจ็บ ปวด สุขกาย สบายกายได้ ทั้งๆที่กายนี้มันรู้สึกเองไม่เป็นถ้าไม่มีจิตเข้าไปยึดครอง ดังนั้นแลเราจักถอนจิตที่ยึดครองกายนี้ไปเสียมันสักเป็นแต่แค่กองธาตุ ๕ ไม่มีชีวิตจิตใจเท่านั้น หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ (ซึ่งอาการปวดจริงๆมันดับไปนานแล้วแต่อาศัยจิตเข้าไปยึดสัญญาเวทนาจึงเกิดขึ้นไม่หยุด แม้เวทนานี้ก็เพียงสมมติมีขึ้นโดยสัญญาเท่านั้นไม่ควรเอามายึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราสักแต่ว่ารู้ก็แค่นั้น)"
    - ก็เมื่อทรงอารมณ์อยู่นี้ ก็มีนั่งปวดฉี่และปวดขาก็ดับทุกขเวทนาด้วยประการอย่างนี้จนนิ่งดีแล้ว จิตมันไปจับเอากสินบ้าง เอากสินแสงเป็นอารมณ์(รู้โดยตนเองว่าเราเจตนาจะกำหนดกรรมฐานกองกสินเอง ไม่ใช่มันขึ้นมาเองไม่) จากแสงมีทองเหมือนแสงของดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์กลายเหลือเป็นวงแสงใสขาวสว่างในเบื้องหน้าวูบนึงไม่นานก็ดับไป จึงได้กำหนดเอาแสงนั้นใหม่อีก สักพักจิตมันจดจ่อได้สักนิดมันก็อยากจะเห็นพระพุทธเจ้า ก็กำหนดนิมิตสมมติเอาอีกว่าจะไปนิพพาน ก็เกิดทำให้อาการทั้งกายนี้อัดพุ่งขึ้นทำให้กายรู้สึกหนักทั้งๆที่จิตเบาเหมือนจะออกจากร่าง สักพักมันก็ปรุงแต่งเองอีกนั่นแหละว่าเห้นพระพุทธเจ้า เห็นเป็นกายเนื้อ อยู่ในปราสาทในนั่นเป็นที่โล่งเหมือนในถ้ำ แต่ถ้ำนั้นก็เป็นแก้วเหมือนกับถ้ำน้ำแข็ง ก็เป็นภาพไปตามที่จิตจะอุปโลคขึ้นมานั่นแหละ เห็นพระพุทธเจ้างดงามตระหง่านยิ้มให้อยู่ มีจีวรสีขาวสะอาดเป็นประกายมีเพชรระยิบระยับ มีมงกุฏิเพชรพลอยสีขาวเหมือนทองคำขาว แก้วมนีรัดทั้งที่พระเกศาที่ทำเป็นกระจุกพุ่มบนพระเศียร และ แขนตอนบน มีสร้อยสังวาลย์สวยงามมาก หน้าตาเหมือนคนไทยแต่งดงามหมดจรดหาที่เปรียบไม่ได้ ดูมีพระบารมี พระกรุณาธิคุณมาก นี่น่ะถ้าไม่มีสติรู้ว่าตนเองกำหนดนิมิตคิดสมมติเอาเองนะ เราคงหลงไปแล้วว่าตนเองมีอภิญญามีมโนมยิทธิ พอนึกถึงก็ขำตัวเองมาก..




    - แต่ก็รู้ตัวเองอยู่เสมอมีสติอยู่น้อมพิจารณาทบทวนอยู่เป็นเบื้องหน้าว่า..ที่เราเห็นนิมิตอย่างนี้เพราะเราเองนั้นแหละที่ปรุงแต่งกำหนดนิมิตมาอย่างนี้ๆอยู่ ที่ทำนี้เพียงเพื่อจะระลึกถึงเป็นพุทธานุสสติ เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ระลึกถึงคุณว่าพระพุทธเจ้าดับสิ้นเชิงกิเลสอย่างนั้นก็คงจะมีพระวรกายและพระพักตร์อย่างนี้ๆ พระตถาคตเจ้าประกอบด้วยพระเมตตา พระกรุณา ประกอบด้วยวิชชาและจรณะ มีวิโมกข์ ๘ แจ่มแจ้งโลกเหล่าใด ก็ย่อมมีอิริยาบถ กิริยาท่าทาง ปฏิปทา งดงามอย่างนี้ๆ พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยบารมี ๓๐ ทัศน์จนเต็มอิ่มบริบูรณ์จนสุดแล้วเป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้เลื่อมใสเห็นทางพ้นทุกข์ พระองค์ย่อมมีเครื่องทรงพระวรกาย น้ำเสียงที่นุ่ม อบอุ่น เมตตา กรุณา มีกำลังประดุจราชสีห์ กึงก้องมีพลังแต่นุ่มนวลอย่างนี้ๆ เพื่อให้ตนถึงคุณแห่งความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ให้มีอกุศลธรรมเข้ามาแทรกเป็นเจตนาหลัก



    - ทีนี้เมื่อรู้ว่าตนเองกำหนดนิมิตเองได้เสมือนจริงขนาดนั้นแล้วมีกำลังทั้งย่อขยาย ดูได้ทุกมุมขนาดนั้นแล้ว ต่อมาก็เลยลองกำหนดนิมิตใหม่ขึ้นมาเป็นหญิงสาวสวยแล้วมาม้างกายดูบ้าง แต่จิตมันก็คงรูปนิมิตนั้นไม่นานก็ผละออกเสียแล้ว เราเลยกำหนดเป็นธาตุ ๖ ขึ้นมาพิจารณา จากนั้นก้อลองระลึกเอาว่า อวัยวะส่วนนี้เป็นธาตุนี้แล้วกองออกไว้ อวัยวะนี้ๆเป็นธาตุนี้แล้วกองออกไว้ จนเหลือแต่ดวงจิตที่เป็นสีทองสว่างไสวเป็นประกายได้สักพัก
    - จากนั้นเราก็หมายจะออกจากสมาธิ จึงได้กำหนดจิตแผ่เมตตาไปแบบไม่มีประมาณ แผ่ไปด้วยความสงบใจจากกิเลสอันดีแล้ว
๑. โดยตั้งระลึกเอาประกายสีทองนั้นแหละเป็นกำลังพรหมวิหาร ๔ ของเราที่แผ่ไปทั่ว เริ่มจากพ่อ แม่ บุพการี ลูก เมีย ญาติ พี่ น้อง มิตรสหาย บุคลคนที่เราเคยผูกเวรพยาบาทกัน เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย เมื่อเราแผ่ให้บุคคลอันเป็นที่รักของเราฉันใด เราก็จับเอาจิตนั้นแผ่ไปให้เขาอย่างนั้น จากนั้นก็ไปคนที่รู้จัก แผ่ไปยังคนไม่รู้จัก แผ่ออกไปทั่วโลก แล้วจิตมันก็มาหวนย้อนเอาธาตุ ๖ แล้วแผ่ไปทั่ว ๓ โลก โดยกำหนดว่า ขอให้ทิ่งสิ่งทุกอย่างทั้วหมื่นโลกธาตุนี้ ทั่วใน ๓ โลกนี้ ไม่ว่าจะโลกมนุษย์ สัตว์ทั้งปวง มาร สัมภเวสี นรกภูมิ พระยายมราช เทวดา ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ยักษ์ คนธรรม์ นาค ครุฑ ไปถึงพรหม ไม่ว่าจะดำรงขันธ์อยู่ด้วย ธาตุดินก็ดี ธาตุน้ำก็ดี ธาตุไฟก็ดี อากาศธาตุก็ดี วิญญาณธาตุก็ดี จะอยู่โดยธาตุใดธาตุหนึ่งหรือหลายธาตุรวมกันก็ดี มีจำเพาะวิญญาณธาตุ-เฉพาะจิตอยู่ก็ดี ขอให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีสุข ปราศจากกิเลสทุกข์เครื่องเร่าร้อนเศร้าหมองกายใจ จงเป็นผู้ไม่ผูกเวรและไม่มีเวรภัยใดๆมาเบียดเบียน จงเป็นผู้ไม่พยายาทและไม่มีภัยพยาบาทใดๆมาเบียดเบียน จงเป็นผู้ปราศจากทุกขฺ โศก โรคภัย ทั้งปวง เป็นผู้มีกาย วาจา ใจ อยู่โดยกุศลปล่อยวางกิเลส โลภะ โทสะ โมหะซึ่งกันและกันปราศจากความเร่าร้อนกายใจ รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภายทั้งสิ้นเทอญ
(อาการนี้แผ่ไปด้วยกุศลจิตดับอกุศลจิตได้แล้วสงบจากกิเลสทั้งปวงแล้ว แผ่ไปด้วยธาตุดังนี้ไม่มีประมาณมันแผ่ไปได้ทั่วถึงทั้งหมดไม่จำกัดกาลจำกัดจำเพาะขันธ์ ไม่มีผู้ใดที่ใดก็รับได้หมด หากเหมือนกำลังที่แผ่ไปแล้วเหมือนจิตเราเหนื่อยหรือ ระลึกถึงได้ไม่นาน ไม่มีกำลัง เราได้น้อมระลึกถึงเอาว่าพระตถาคตที่เป็นแสดงประดุจดวงอาทิตย์สีทองนั้นประทับผู้บนเหนือจิต{ในสมาธิมันจะเห็นเป็นสภาวะเราอยู่กลางรู้เห็นนิมิตของเรานั่นแหละ} แผ่นำทางเราออกไปแบบไม่มีประมาณกว้างไกลไปได้ทั่วทั้ง ๓ โลก ทั่วจักรวาลไม่มีสิ้นสุด ไม่มีประมาณ)
๒. จากนั้นเราก็เอาจิตอันประกอบด้วยความมีใจช่วยเหลือ สงเคราะห์แบ่งปันเอาบารมีทั้งปวงที่เป็นเป็นกรุณา แผ่ไปทั่วไม่มีประมาณทั่ว ๓ โลก ทั้งบุคคลที่รัก ที่ชัง ที่เกลียด เจ้ากรรมนายเวร ที่รู้จัก ไม่รู้จัก เทวดา มาร พรหมทั้งปวง แผ่ไปจนถึงทั่วจักรวาล ตั้งเอาแค่ความที่ไม่ยึดเอาธาตุทั้งปวงนี้ เหมือนประดุจตนอยู่ในอวกาสอันมืดกว้าง ว่างไปทั่วไม่มีประมาณ ที่มีสิ่งมีชีวิตหรือสามโลกนี้อยู่เป็นต้นไปทั่วให้เขาจงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ถึงซึ่งความสุขทั้งปวง
(อาการนี้เมื่อทำไปแล้วเหมือนจิตเรามีกำลังมากเหมือนจิตอยู่เหนือกายมีกำลังแผ่ไปทั่วทั้งจักรวาลได้ พอเมื่อกำลังไม่พอก็น้อมกำหนดเอาพระบารมีของพระตถาคตนั้นแผ่นำทางเราไป จิตอยู่ที่การแผ่ไปโดยไม่จำเพาะเจาะจงที่กายอีก)
๓. จากนั้นก็แผ่เอาความอิ่มเอมใจเป็นสุข สงบร่มในการสละให้ไปดีแล้วนั้น ที่มีอยู่ที่ใจเรานี้แผ่ไปทั่วจักรวาลไม่มีประมาณให้ได้รับสุขด้วยกุศลนี้ไปทั่ว ให้เขาได้คงไว้ซึ่งสมบัติ บุคคล สิงของทุกสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหนยิ่งอยู่ไว้ไม่สูญสลายไป ยังจิตอันยินดีเป็นสุขของสรพพสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นสุขประดุจเหมือนกันฉะนี้ น้อมรำลึกถึงจิตอันเป็นสุขที่มีอยู่แก่สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนอาศัยเนื่องด้วยวิญญาณ สุขนี้อยู่ที่วิญญาณธาตุ อยู่ที่จิต ก็จับเอาจิตอันเป็นสุขนั้นเป็นอารมณ์แผ่ไปไม่จำเพาะเจาะจงอยู่ที่กาย
(อาการที่ทำแล้วจิตอิ่มเอมแต่นิ่งสงบดีมากด้วยสุขแห่งจิตนั้น จิตมันไม่ยึดกายอีก ความปวดฉี่ ปวดเมื่อยกายมันหายไปแล้ว)
๔. จากนั้นเราก็แผ่เอาความวางใจไว้กลางๆโดยเห้นว่าทุกสิ่นทุกอย่างล้วนเกิดแต่กรรม มีกรรมเป็นผู้ให้ผล ติดตาม และอาศัย ไม่ว่าบุญหรือบาป กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตามเราไปให้พบเจอผลจากกรรมนั้น ก็ปลงใจไว้กลางๆเสีย แล้วตั้งเอาความไม่เพ่งโทษต่อกันและกัน ความไม่ยินดี-ยินร้ายต่อกัน ความว่างหรือความสงบใจจากกิเลส ความละวางความไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ความไม่หลงอยู่ไม่ปิดกั้นด้วยกิเลส ไม่ตั้งเอาทั้งสุขหรือทุกข์จากสิ่งไรๆมาเป้นอารมณ์ แผ่ออกไปทั่ว ด้วยสภาวะที่จิตไม่ยึดเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น ไปทั่วจักรวาล ด้วยหมายว่าจะยึดกายก็ทุกข์ ยึดอิริยาบถรูปลักษณ์ใดแห่งกายย่อมทุกข์ จิตเรานี้แม้เป็นสุขก็จริงอยู่ แต่ทุกข์ก็ที่จิตอันนี้แหละ ยึดจิตก็ทุกข์ ดังนั้นแล้ว ขันธ์ ๕ ทั้งปวงล้วนเป้นทุกข์ เราก็ไๆม่ยึดจับเอาสิ่งใดเลยทั้งสิ้นแม้สิ่งที่จิตรู้ ตั้งอยู่โดยความสงบว่างอันไม่ยึดเอาขั้นธ์ทั้งปวงแม้อันใดอันหนึ่งเป็นอารมณ์แผ่ไปทั้วทั้งจักรวาลให้ถึงกันให้เขาทั้งหลายยังความไม่ยินดียินร้าย ไม่ถือ ไม่เพ่งโทษซึ่งกันและกันด้วยจิตอันมีประมาณเช่นนี้โดยทั่วกัน
(ทำอย่างนี้ แม้ความฟุ้งก็ไม่มี จิตไม่ยึดเอาอะไรแม้ขันธ์ ๕ ของตน มันแผ่ออกไปเหมือนจิตหรือกายนี้ก็ตามถ้ายังรู้สึกกายอยู่เหมือนมันจะใหญ่กว้างไกลมีกำลังอันไม่ยินดียินร้ายต่อกันแผ่ไปไม่มีประมาณ)




    ต่อมา เวลา 20.00 น. เข้างานกะดึก ถึง 8.00 น. ได้มีช่วงเวลาพักในตอน 22.00 น. ของวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ถึง เวลา 3.00 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ช่วงเวลาประมาณ 22.30 น. - 00.15 น. พอได้นอนพักบ้างเล็กน้อย แล้วตื่นขั้นมา เนื่องจากมีเสียงรบกวนให้นอนไม่หลับ จึงพยายามนอนให้หลับ แต่ก็ไม่หลับจึงนอนทำสมาธิไปเรื่อยๆแต่ก็ยังไม่หลับ
    จนลุกขึ้นมานั่งสมาธิเวลาโดยประมาณ 1.53 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ก็ตั้งใจเอาว่าจะนั่งทำสมาธินี้แหละถ้าจะหลับก็นั่งหลับไปเลย แต่กลับไม่หลับ มันเข้าสมาธิได้ กายเบา ไม่มีโงนเงนโยกเยกอะไร นั่งแช่อยู่ โดยก่อนที่จะเข้าสมาธินั้นมันมีความคิดใดๆอยู่ เราก็ปล่อยให้มันคิดตามไปเพราะคิดว่าจะนอนจึงไม่สนใจอะไรมากนัก แต่เพียงกำกับรู้ว่าตนทำสมาธิ ดูรู้ว่าตนคิด รู้ลมหายใจเข้าออกตั้งไว้มี่ปลายจมูก ดูลมไปอย่างนั้น ต่อมามันวูบเข้านิ่งแช่อยู่ในสภาวะว่าง พอรู้ตัวก็เกิดความคิดก็ปล่อยมันคิดไป ซึ่งในขณะทำสมาธิจิตมันจะคิดจะรู้สิ่งใดก็ปล่อยให้มันเป็นไปจนสุด แนบอารมณ์ไปกับมัน นิ่งแน่ใจคิดนั้น วูบนึงสักพักก็รู้ว่าตรกำลังคิดกำลังดูความคิดอยู่ด้วย สักพักมันเหมือนจิตมันเลิกจับความคิด มันเห็นแต่ความว่าง เหมือนตาเรานี้มองกายแต่ไม่มีกาย รู้ตัวว่าทำสมาธิแต่กลับไม่เห็นกายตน มันมีแต่ที่ว่าง และว่างเท่านั้น ไม่มีอะไรทั้งสิ้น สักพักเหมือนตัวที่ดูอารมณ์ว่างมันเบา มันอัดปะทุขึ้นแต่ไม่ใช่สุขที่อัดปะทุเหมือนที่เราเคยมาเพราะยังมีความคิดอยู่ทั้งหมดครบถ้วนและวิจารแต่รู้สึกมันอิ่มเอมดี ไม่ทรมานกายใจที่ไม่ได้นอน แต่กลับมีกำลังด้วยซ้ำ
    เมื่อนิ่งแช่อยู่อย่างนั้นนานพอควร..ก็เหมือนจิตจะออกจากร่างมันทรงอารมณ์นั่นอยู่ทำให้รับรู้ได้ว่ารูปร่างที่เราเห็นว่าว่างที่เป็นเคล้าโครงเหมือนเป้นร่างกายนี้มันหนักตรึงอยู่ แต่ไอ้ตัวที่เห็นความว่างคือตัวรู้นี้มันจะดันออก มันดันปะทุอัดแรงมากเหมือนกับตัวเราจะลอยขึ้น แต่เจ้าสภาพที่และเห็นว่าว่างนั้นมันกลับหนักจะกดลงหรือหลุดลงไปที่พื้นดิน นานพอควรแต่มันก็ไม่หลุดขาดจากกัน สักพักพอเข้าไปรู้อาการนี้อีกเริ่มมีความคิดมากขึ้นกว่าดิม แต่พยายามกดทรงอารมณ์นี้ไว้คือจับเอาอารมณ์นี้ไว้อยู่ พอสักพักไม่เกิด 30 วินาที ถึง 1 นาที มันก็หลุดวูบออกมาจากอาการนั้นก็เห็นความคิดตนเองอีก เราก็จำอาการนั้นไว้อยู่แล้วก็จับเอาแต่หลบตั้งไว้ที่ปลายจมูก ไปสักพักพอมันคิดก็ปล่อยจิตมันแนบความคิดไปแต่ในความคิดนั้นเราย่อมรู้เรื่องราวในนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นเสมอๆก็ปล่อยมันไป สักพักมันก็ดูความคิดอยู่แต่ไม่ร่วมคิดแล้วพอเรารู้สีักพักมันก็กลับมาการที่ดื่มที่เห็นแต่ความว่างอีก ทรงอยู่ได้สักพักก็หลุดอีกเป็นอย่างนี้อยู่ 2-4 ครั้งโดยประมาณจนถึง ตี 2.43 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม 2558 ก็ลุกจากการทำสมาธิมาทำงานต่อ ซึ่งก็ยังคงมีกำลังกายใจอยู่ตามปกติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 05:57:45 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #144 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 03:00:50 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน วันที่ 16 สิงหาคม 2558

 ซึ่งในขณะทำสมาธิจิตมันจะคิดจะรู้สิ่งใดก็ปล่อยให้มันเป็นไปจนสุด ตามมันไปแนบมันไป คิดก็รู้ว่าคิด มันเหนื่อยมันก็นิ่ง ไม่เสพย์ไปกับความคิด เมื่อไม่เสพย์มันก็แยกจากความคิด เห็นผัสสะกองความคิดอยู่เบื้องหน้าบ้าง ฝั่งขวาบ้าง ฝั่งซ้ายบ้าง แต่ไม่รวมในจิต พอสติมีกำลังมากก็ดูเอาว่ามันคิดใน รัก โลภ โกรธ หลง ดูความเป็นไปของมัน มันคิดก็ดูมันว่ามันคิด ดูมันเกิดด้วยมีเหตุให้ มันตั้งอยู่จนสุด มันดับไปเมื่อเหตุดับ กลับมาสมาธิ

    เมื่อวานนี้(วันที่ 17 สิงหาคม 2558)เราไปหา หลวงปู่บุญกู้ เรียนถามกรรมฐานกับท่าน เราอดนอนทำสมาธิ เป็นอันมาก หลวงปู่ท่านเลยเมตตาสอนมาดังนี้ว่า นั่นมันสุดโต่งไปแล้ว กายเรานี้เป็นศูนย์กลางของการบำเพ็ญ ศีล ทาน ภาวนา ไม่มีกายก็ทำไม่ได้ หากเราไม่ดูแลกายให้ดีแล้วร่างกายเกิดเป็นอะไรขึ้นมา เราน่ะยังทำงานอยู่ยังไม่ได้บวชยังต้องเลี้ยงดูลูกเมีย ต้องรู้แลกายให้ดี การภาวนานัั้นทำได้ทั้ง 4 อริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถใดก็ได้ไม่ใช่ห้ามนอนห้ามหลับ ไปถามครูบาอาจารย์องค์ไหน จะพระอาจารย์ใหญ่ก็ได้ ดูสิว่าจริงไหม
    ศิษย์เพียรอย่างนี้ไม่ใช่ว่าครูบาอาจารย์จะชอบ เพียรผิดแบบนี้เรียกว่าสุดโต่ง ถ้าเราน่ะบวชแล้วไม่ได้ทำงาน ไม่มีภาระ อันนี้น่ะทำได้ อย่างเราน่ะมันไม่ใช่ฐานะ ต้องดูแลรักษาร่างกายให้ดี ให้กายมีกำลังดี สมองก็ดี จิตใจก็ดี สบายแข็งแรงควรแก่งานไม่ใช่ทรมานตน ร่างกายย่ำแย่ สมองก็แย่ จิตใจก็แย่ แต่ก็ไม่ใช่ให้อ่อนเหลาะแหละเมามันในอบายมุข ก็ต้องมีศีล ทาน กำชับไว้ให้ดี ศีลเป็นฐานของทุกสิ่ง ทำให้มันดีงามจิตก็เป็นกุศล ทานนี้ทำให้อิ่มใจเต็มใจเป็นสุข (ซี่งหลวงปู่ท่านสอนว่าทานนี้ถ้าเรามีมากก็ให้มากได้ มีน้อยก็ให้น้อย ไม่มีก็ใช้กำลังกายช่วยเหลือและทำ ทานจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยศีล) อันนี้จึงเป็นทางสายกลาง เรื่องอาหารการกิน ดูแลร่างกายสม่ำเสมอละสิ่งอันเป็นอบายให้ร่างกายทรุดโทรม เราน่ะทำเพื่อหวังผลมากไปอย่างนี้ไม่ได้ ให้ทำสะสมไปอย่าเพิ่งหวังผล ทำกายใจให้เป็นที่สบาย ทำเหตุุให้ดี คือ รักษากุศล ศีล ทาน ภาวนา ถ้าหากภาวนาอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรมได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องมีศีลมีทาน ไม่ต้องทำในกุศลสิ ภาวนาอย่างเดียวมันบรรลุไม่ได้หรอกมันต้องมี ศีล ทาน ด้วย ศีลก็เป็นกำลังส่วนหนึ่ง ทานก็เป็นกำลังส่วนหนึ่ง ภาวนาก็เป็นกำลังส่วนหนึ่งที่สมกันเมื่อเต็มแล้วก็ส่งผลให้บรรลุได้ เหตุเรายังไม่ทำเลยจะไปเอาผลซะแล้วอย่างนี้มันจะได้อย่างไร บารมีที่ต้องสะสมมี ๑๐ ทัศน์ ๓๐ ทัศน์ ต้องเพียรคือ เพียรเจริญปฏิบัติใน ศ๊ล ทาน ภาวนา สะสมไปเรื่อย ไม่ตึง ไม่หย่อน อยู่กลางๆ ไม่สุดโต่งส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำเหตุให้มันดี ถ้าเหตุมันดีมันก็ได้เอง นี่เหตุไม่ทำแต่จะเอาผลแล้วมันไม่ใช่ฐานะ (โดยความหมายถึงทำเหตุให้ดีให้เต็ม คือ พละ ๕ เป็นอาหารของจิตที่ต้องสะสมให้ดีให้มากให้เต็มไม่เร่งร้อนแต่ทำไปเรื่อยๆให้ดี ศรัทธาพละนี้เกิดได้ด้วยปัญญา(ศรัทธา ๔) กำลังความเชื่อนี้เป็นเหตุใน ศีล และ ทาน วิริยะพละคือเพียร)
    พระพุทธเจ้าท่านก็ทรมานกายมาแล้ว จนทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ร่างกายทรุดโทรมผุพังไปก็ไม่สามารถทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ก็จึงทรงยกเลิกเสีย แล้วมาดำเนินโดยทางสายกลาง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 05:57:38 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #145 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2015, 03:29:44 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐาน วันที่ 17 สิงหาคม 2558

 ซึ่งในขณะทำสมาธิจิตมันจะคิดจะรู้สิ่งใดก็ปล่อยให้มันเป็นไปจนสุด ตามมันไปแนบมันไป คิดก็รู้ว่าคิด มันเหนื่อยมันก็นิ่ง ไม่เสพย์ไปกับความคิด เมื่อไม่เสพย์มันก็แยกจากความคิด เห็นผัสสะกองความคิดอยู่เบื้องหน้าบ้าง ฝั่งขวาบ้าง ฝั่งซ้ายบ้าง แต่ไม่รวมในจิต พอสติมีกำลังมากก็ดูเอาว่ามันคิดใน รัก โลภ โกรธ หลง ดูความเป็นไปของมัน มันคิดก็ดูมันว่ามันคิด ดูมันเกิดด้วยมีเหตุให้ มันตั้งอยู่จนสุด มันดับไปเมื่อเหตุดับ กลับมาสมาธิ

    เมื่อวานนี้(วันที่ 17 สิงหาคม 2558)เราไปหา หลวงปู่บุญกู้ เรียนถามกรรมฐานกับท่าน เราอดนอนทำสมาธิ เป็นอันมาก หลวงปู่ท่านเลยเมตตาสอนมาดังนี้ว่า นั่นมันสุดโต่งไปแล้ว กายเรานี้เป็นศูนย์กลางของการบำเพ็ญ ศีล ทาน ภาวนา ไม่มีกายก็ทำไม่ได้ หากเราไม่ดูแลกายให้ดีแล้วร่างกายเกิดเป็นอะไรขึ้นมา เราน่ะยังทำงานอยู่ยังไม่ได้บวชยังต้องเลี้ยงดูลูกเมีย ต้องรู้แลกายให้ดี การภาวนานัั้นทำได้ทั้ง 4 อริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถใดก็ได้ไม่ใช่ห้ามนอนห้ามหลับ ไปถามครูบาอาจารย์องค์ไหน จะพระอาจารย์ใหญ่ก็ได้ ดูสิว่าจริงไหม
    ศิษย์เพียรอย่างนี้ไม่ใช่ว่าครูบาอาจารย์จะชอบ เพียรผิดแบบนี้เรียกว่าสุดโต่ง ถ้าเราน่ะบวชแล้วไม่ได้ทำงาน ไม่มีภาระ อันนี้น่ะทำได้ อย่างเราน่ะมันไม่ใช่ฐานะ ต้องดูแลรักษาร่างกายให้ดี ให้กายมีกำลังดี สมองก็ดี จิตใจก็ดี สบายแข็งแรงควรแก่งานไม่ใช่ทรมานตน ร่างกายย่ำแย่ สมองก็แย่ จิตใจก็แย่ แต่ก็ไม่ใช่ให้อ่อนเหลาะแหละเมามันในอบายมุข ก็ต้องมีศีล ทาน กำชับไว้ให้ดี ศีลเป็นฐานของทุกสิ่ง ทำให้มันดีงามจิตก็เป็นกุศล ทานนี้ทำให้อิ่มใจเต็มใจเป็นสุข (ซี่งหลวงปู่ท่านสอนว่าทานนี้ถ้าเรามีมากก็ให้มากได้ มีน้อยก็ให้น้อย ไม่มีก็ใช้กำลังกายช่วยเหลือและทำ ทานจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยศีล) อันนี้จึงเป็นทางสายกลาง เรื่องอาหารการกิน ดูแลร่างกายสม่ำเสมอละสิ่งอันเป็นอบายให้ร่างกายทรุดโทรม เราน่ะทำเพื่อหวังผลมากไปอย่างนี้ไม่ได้ ให้ทำสะสมไปอย่าเพิ่งหวังผล ทำกายใจให้เป็นที่สบาย ทำเหตุุให้ดี คือ รักษากุศล ศีล ทาน ภาวนา ถ้าหากภาวนาอย่างเดียวแล้วบรรลุธรรมได้อย่างนี้ก็ไม่ต้องมีศีลมีทาน ไม่ต้องทำในกุศลสิ ภาวนาอย่างเดียวมันบรรลุไม่ได้หรอกมันต้องมี ศีล ทาน ด้วย ศีลก็เป็นกำลังส่วนหนึ่ง ทานก็เป็นกำลังส่วนหนึ่ง ภาวนาก็เป็นกำลังส่วนหนึ่งที่สมกันเมื่อเต็มแล้วก็ส่งผลให้บรรลุได้ เหตุเรายังไม่ทำเลยจะไปเอาผลซะแล้วอย่างนี้มันจะได้อย่างไร บารมีที่ต้องสะสมมี ๑๐ ทัศน์ ๓๐ ทัศน์ ต้องเพียรคือ เพียรเจริญปฏิบัติใน ศ๊ล ทาน ภาวนา สะสมไปเรื่อย ไม่ตึง ไม่หย่อน อยู่กลางๆ ไม่สุดโต่งส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำเหตุให้มันดี ถ้าเหตุมันดีมันก็ได้เอง นี่เหตุไม่ทำแต่จะเอาผลแล้วมันไม่ใช่ฐานะ (โดยความหมายถึงทำเหตุให้ดีให้เต็ม คือ พละ ๕ เป็นอาหารของจิตที่ต้องสะสมให้ดีให้มากให้เต็มไม่เร่งร้อนแต่ทำไปเรื่อยๆให้ดี ศรัทธาพละนี้เกิดได้ด้วยปัญญา(ศรัทธา ๔) กำลังความเชื่อนี้เป็นเหตุใน ศีล และ ทาน วิริยะพละคือเพียร)
    พระพุทธเจ้าท่านก็ทรมานกายมาแล้ว จนทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ร่างกายทรุดโทรมผุพังไปก็ไม่สามารถทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ได้ก็จึงทรงยกเลิกเสีย แล้วมาดำเนินโดยทางสายกลาง

"หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน" ท่านได้กรุณาเทศนาสั่งสอนว่า.. "ความสุขทางโลกียะนี้ มันอาศัยสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน มันไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน มันสุขแค่ชั่วคราวแล้วก็ดับไป อยู่ได้นานสุดก็แค่เพียงหมดลมหายใจ สุขนั้นก็ต้องดับไป ก็ต้องพรัดพรากจากสุขนั้นไป ไม่สามารถเอาติดตามไปด้วยได้ ส่วนสุขทางโลกียะนี้มันอยู่ที่ใจ อยู่ที่ศีล ทาน ภาวนา มันลงที่ใจไม่ยึดเอาอามิสสิ่งใดมาเป้นสุขของมัน สุขทางโกุตระคือสุขจากการปล่อยวาง มีศีล ทาน ภาวนา ที่จะติดตามเราแม้ตายไป แม้เกิดใหม่ในทุกภพทุกชาติ"
"สุขทางโลกไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนเพราะอาศัยสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน ความสุขทางโลกก็แค่เพียงหมดลมหายใจเท่านั้น..ดังนี้"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2015, 12:50:57 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #146 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2015, 10:28:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 19-20 สิงหาคม 2558 (ศีลลงใจ)

    ตั้งแต่วันที่ 8-9 สิงหาคม 2558 เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ศีลก็เริ่มเข้าถึงใจเรา หลังจากที่เมื่อศีล กรรมบถ ๑๐ ที่เข้าถึงใจเรามานานสักระยะอยู่นั้น (จากที่ฟังเทศนาหลวงพ่อเสถียรจนเห็นสัมมาทิฐิของจริงตั้งแต่ตอนปีใหม่ 2558) ได้เสื่อมไปเมื่อประมาณ เดือนมีนาคม 2558 ที่ผ่านมา เราก็แทบจะไม่ได้มีศีลอีกเลย จนวันที่ 8 สิงหาคม 2558 เราได้ดูหนังพระพุทธเจ้า ตอนที่พระอานนท์จะถูกนางโกกิลาหมายปองจะให้เป็นสามีของนาง ซึ่งพระอานนท์ ถูกวางยาอยู่ได้ตื่นขึ้นมา เมื่อพบเห็นนางโกกิลาหมายจะคล้องพวงมาลาเอาเป็นสามีอยู่ในขณะนั้น แล้วตั้งสติไว้เบื้องหน้าทำสมาธิ แล้วระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาพที่พระตถาคตเจ้านั้นตรัสสอน(พอที่จะหวนระลึกได้ประกอบกับที่ตนเข้าใจและขยายความให้ความสำคัญกับประโยคนี้จนศีลถึงใจ) ว่า..

"ความสุขทางโลกียะไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนเพราะอาศัยสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นความสุขของตน มันสุขด้วยกามคุณ กามเมถุน มันสุขอยู่ได้แค่ประเดี๋ยวประด๋าวชั่วคราววูบเดียวแล้วก็ดับไป เมื่อหลงไหลในกามคุณ กามเมถุน หลงตัวหลงใจเข้าไปเสพย์มันแล้ว เราก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ทรมานกายใจภายหลัง ทั้งจากความดับไปของมัน ความสิ้นไปของสุข ความสิ้นไปซึ่งสิ่งมีค่าจำเป็นที่แลกเพื่อจะได้มันมาเสพย์ ความเร่าร้อนแสวงหาทะยานอยากไม่รู้หยุด.."

"ดูกรอานนท์ ความสุขในโลกียะ คือ สุขทางโลก นั้นเป็นความสุขแค่ชั่วคราวประเดี๋ยวประด๋าวชั่ววูบหนึ่งเท่านั้น เธอจะยอมแลกทุกสิ่งที่ทำที่สะสมมาดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สิ่งมีค่าโภคทรัพย์ สิ่งของบุคคลอันเป็นที่รัก กุศลธรรมทั้งปวง ศีล ทาน ภาวนา บารมีทั้งปวงที่สะสมมา เพื่อแลกกับความสุขในทางโลกที่มีแค่ชั่ววูบชั่วคราว เสร็จแล้วก็ประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลังอย่างนั้นหรือ.."
"สุขทางโลกไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน แต่ประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลังดังนี้ เพราะละสุขทางโลกได้ จึงถึงสุขห่งโลกุตระธรรมได้"

"หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน" ท่านได้กรุณาเทศนาสั่งสอนว่า.. "ความสุขทางโลกียะนี้ มันอาศัยสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน มันไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน มันสุขแค่ชั่วคราวแล้วก็ดับไป อยู่ได้นานสุดก็แค่เพียงหมดลมหายใจ สุขนั้นก็ต้องดับไป ก็ต้องพรัดพรากจากสุขนั้นไป ไม่สามารถเอาติดตามไปด้วยได้ ส่วนสุขทางโลกียะนี้มันอยู่ที่ใจ อยู่ที่ศีล ทาน ภาวนา มันลงที่ใจไม่ยึดเอาอามิสสิ่งใดมาเป้นสุขของมัน สุขทางโกุตระคือสุขจากการปล่อยวาง มีศีล ทาน ภาวนา ที่จะติดตามเราแม้ตายไป แม้เกิดใหม่ในทุกภพทุกชาติ"
"สุขทางโลกไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนเพราะอาศัยสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของมัน ความสุขทางโลกก็แค่เพียงหมดลมหายใจเท่านั้น..ดังนี้"

     ความสุขทางโลกเป็นความสุขแค่ชั่วคราว เราจะแลกทุกสิ่งความสุขชั่วคราวนั้น แล้วประกอบไปด้วยทุกข์ในภายหลังด้วยคำสอนประโยคนี้ ทำให้ศีลขึ้นมาถึงใจเราเป็นอันมากในขณะนั้น มีจิตเลิกอบายมุขทั้งปวง แล้วตั้งในศีล ๕ อีกครั้ง ด้วยความมีศีลอยู่เต็มกำลังใจที่จะทำเป็นเหตุให้อยู่ๆศีลกลับคืนมาเอง จากเหตุการณ์นี้ทำให้เราได้รู้ว่า การที่จะถึงธรรมข้อใดก็ตามแต่ ถ้าเอาลงใจไม่ได้ โยสิโสมนสิการ ทำไว้ในใจโดยแยบคายไม่ได้ ก็ไม่สามารถเข้าถึงธรรมข้อนั้นได้เลย นอกจากจะจดจำท่องบ่นเอาเท่านัน้ แต่เมื่อถึงใจเมื่อไหร่ ทำไว้ในใจโดยแยบคายแล้ว ย่อมเข้าถึง ธรรมอันงามที่พระพุทธเจ้า และ ครู้บาอาจารย์ทั้งหลายสั่งสอนทันที

(โดยปกติแล้ว..แม้ตอนกรรมบถ ๑๐ เสื่อม เราก็ยังตั้งในศีลบ้างอยู่ไม่ได้ทิ้งไปเลย ยังมั่นใน ศีล ๕ แต่ส่วนมากจะได้เพียง ๔ ข้อ เสื่อมศีลข้อ ๕ สุราเมรัย เพราะกำลังใจในศีลมันหมดไป ดังนั้นความทำให้เต็มใจในธรรมอันใด ศรัทธาเหล่าใดเกิดขึ้น ย่อมนำพาซึ่งความถึงใจมีกำลังใจที่จะทำในธรรมเหล่านั้นเป้นอันมาก)

ศีล แปลว่า ปกติ บางสำนักในพระพุทธศาสนานี้กล่าวว่า ศีล คือ ความปกติของคน มีแต่คนเท่านั้นจึงจะมีศีลได้

- ส่วนตัวเรานี้ในที่ๆมีศีลถึงในใจมีใจเข้าถึงศีล ได้โยนิโสมนสิการถึงศีลแล้ว จึงได้เห็นดังนี้ว่า ศีล คือ ปกติ เป็นความปกติของ กาย วาจา อันเกิดแต่ความที่ใจที่เป็นปกติไม่เร่าร้อน ไม่ฟุ้งซ่านใจ ไม่งุ่นง่านกระวนกระวายใจ คับแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อนเศร้าหมองเผาใจ มีปกติจิตที่ปราศจากไฟแห่งราคะ-โทสะ-โมหะแผดเผาใจจึงถึงศีลได้ จึงอยู่โดยความีศีลได้ จึงเป็นเหตุให้ว่า ศีลของพระพุทธเจ้านี้จะมีแก่เราได้ก็ด้วยปัญญาเห็นชอบ ดังนั้นแล้ว ศีล คือ ความปกติของกายใจเรานี้เอง

ศีล ทาน นี้..เกิดด้วยศรัทธา คือ ความเชื่อด้วยปัญญาศรัทธานั้นมี ๔ ประการดังนี้

๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
๒. วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้

    ขั้นต้นแรกเริ่มนั้นเมื่อเกิดศรัทธาแล้วย่อมเห็นตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ย่อมน้อมใจไปในศีล แต่คนเรานี้ปกติมันอยู่กับของปลอมอยู่กับสมมติกิเลสมายืนยาวนาน ดังนั้นจะให้จิตมันยอมรับศีลเลยคงลำบาก ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เอาศีลลงใจดังนี้
    ๑. เห็นทุกข์จากการไม่มีศีล เข้าถึงความสุขจากการมีศีล
    ๒. เห็นกรรมจากการมีศีลและไม่มีศีล เห็นอานิสงส์ และ ผลวิบากที่่ได้รับจากการไม่มีศีล
    ๓. เห็นทางพ้นทุกข์จากศีล ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน


บันทึกกรรมฐานวันที่ 21 สิงหาคม 2558 (ย้ำศีลเข้าฝังในใจด้วยเทศนาของหลวงปู่บุญกู้)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2015, 12:48:23 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #147 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 08:10:23 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
.....บันทึกกรรมฐานวันที่ 21 สิงหาคม 2558 (ศีลลงใจ)
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #148 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 06:13:55 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ฉฬวรรคที่ ๕
สังคัยหสูตรที่ ๑

             [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ
๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่
ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่
รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ
             [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี
คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖
เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี
รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ
๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อม
นำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ
             [๑๓๐]    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖
                          นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์
                          บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล
                          เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่
                          บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง
                          บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก
                          ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก
                          และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง
                          บรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่
                          น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น
                          ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก
                          ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่
                          พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ
                          ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
                          ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส
                          ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า
                          แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่
                          เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย
                          เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ
                          สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ
                          ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล
                          บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
                          ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน
                          อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น
                          อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ
                          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
                          ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ

จบสูตรที่ ๑
บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #149 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 06:24:07 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

สังคัยหสูตรที่ ๒

             [๑๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว
หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ดูกรมาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวก
ทหรภิกษุทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม
ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น ฯ

             [๑๓๒] มา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว  เป็นผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรด
แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้ถึงพระภาษิตของพระผู้มี-
*พระภาค พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฯ
             พ. ดูกรมาลุกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่พึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็นในบัดนี้ด้วย
ความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด
หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคยได้ฟังแล้ว
ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียงเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคยได้ดม
แล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มีแก่เธอด้วย
เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่นเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้ลิ้มแล้ว
ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว ทั้ง
ไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราถูกต้อง
มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในโผฏฐัพพะ
เหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ
             พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้งไม่ได้
เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย  ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมี
ความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้นหรือ ฯ
             มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า ฯ

             [๑๓๓] พ. ดูกรมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ
จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ใน
อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจัก
เป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอ
จักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์
ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว เธอจักเป็น
เพียงแต่ได้รู้แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่
ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูก
โทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพัน
ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือในธรรมารมณ์ที่ได้
รู้แจ้ง ดูกรมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่างโลกทั้งสอง
ก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

             มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า

             [๑๓๔]    สติหลงไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็น
                          นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
                          ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติ
                          หลงไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจถึงเสียงเป็น
                          นิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจ
                          ในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลง
                          ไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจถึงกลิ่นเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น
                          และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์
                          อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว
                          เพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรสเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิต
                          กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่
                          มีเวทนาอันมีรสเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน
                          อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
                          บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน สติหลงไปแล้ว เพราะ
                          ถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏฐัพพะเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีโผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนก
                          ทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อ
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน
                          สติหลงไปแล้วเพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อใส่ใจถึง
                          ธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น
                          ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์
                          เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสา
                          เข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า
                          ห่างไกลนิพพาน ฯ

             [๑๓๕]    บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย มี
                          จิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็นรูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไป
                          และไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป
                          ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้
                          นิพพาน บุคคลนั้นได้ฟังเสียงแล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียง
                          ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความ
                          ติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวย
                          เวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้น
                          เป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้
                          บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้ว
                          มีสติไม่กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย
                          อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้น
                          เมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
                          ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้น
                          ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรสทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัด
                          เสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคล
                          นั้นเมื่อลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม
                          ทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่
                          สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคล
                          นั้นถูกต้องผัสสะแล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย
                          มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและเสวยเวทนาอยู่
                          ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
                          เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต
                          กล่าวว่า ใกล้นิพพาน บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่
                          กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
                          นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้
                          ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์
                          ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่าใกล้นิพพาน ฯ

             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการฉะนี้ ฯ

             [๑๓๖] พ. ดูกรมาลุกยบุตร สาธุๆ เธอรู้ทั่งถึงเนื้อความแห่งธรรมที่เรา
กล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า

             [๑๓๗]    สติหลงไปเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูปเป็นนิมิต
                          ที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และ
                          มีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสม
                          ทุกข์อยู่อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ

             [๑๓๘]    บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์
                          มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์
                          นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่
                          ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ ฉันใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ
                          เที่ยวไป ฉันนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ฯลฯ เรากล่าว
                          ว่าใกล้นิพพาน ฯ

             ดูกรมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดยย่อนี้โดย
พิสดารอย่างนี้แล ฯ

             [๑๓๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้
มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้ง
นั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอด
เยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกย
บุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๒
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 08, 2024, 07:41:37 PM