เมษายน 27, 2024, 01:55:58 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 408611 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #60 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2015, 04:16:30 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมมฐาน วันที่ 9/2/58

- วันนี้เจริญธรรมปฏิบัติเหมือนดังวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ 2558 เมื่อว่างจากงานได้นั่งอยู่ ณ ที่หนึ่งแล้วเจริญสมาธิรู้ลมหายใจเข้าออกตามปกติที่ทำอยู่ ใฝ่เจตนาในความไม่ยึดเอาสิ่งใดทั้งปวงที่จิตรู้ ก็เกิดหวนระลึกถึงนิมิตที่นิ่งว่างสว่างนวลเหมือนตอนที่อยู่ในฌาณนั้น ที่มีแต่สติกับอุเบกขาเท่านั้นอยู่ จากนั้นลมหายใจเบาลง เกิดความคิดอยากจะเห็นทุกอย่างเป็นสภาวะธรรมทั้งปวงเหมือนที่เราเคยได้สัมผัสนั้นอีก มันก็เกิดความปรุงแต่งนิมิตตน เหมือนกับสภาวะธรรมที่ตนเคยเห็นแต่ว่ามันเป็นสีเหลืองลักษณะเหมือนน้ำ ซึ่งก็ให้แปลกใจว่าเพราะสิ่งใดหนอ จะบังคับให้ไปเป็นในอสุภะก็ไม่ได้ เมื่อใจมันไม่มีตัวตนบังคับไม่ได้ ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ก็ได้แต่ดูนิมิตนั้นนิ่งอยู่ปล่อยเลยตามเลย โดยดูแล้วตั้งสติสัมปะชัญญว่าเพ่งกสินสีเหลืองอยู่ประมาณนั้น แต่ที่ต่างคือมันมีสภาวะที่เป็นน้ำก็แค่นั้น จากนั้นก็เลิกทำสมาธิ

- จากนั้นเราก็มามองดูสภาวะภายในกายตนว่า ทุกวันนี้ร่างกายเราเสื่อมโทรมไปมาก เรี่ยวแรงเริ่มหดหาย อาการเจ็บป่วยมีมากขึ้น เราจะทำอย่างไรให้เห็นปัญญาในกายตนได้หนอเพราะไม่รู้จะตายเมื่อไหร่ "พอรู้ตัวทั่วพร้อมระลึกถึงสภาวะของกายตนแล้ว ก็เกิดนึกถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปขึ้นมา ไม่เที่ยงไม่คงอยู่ได้นาน แล้วจิตมันก็เกิดวิตกอุปมาเปรียบเทียบร่างกายของเรานี้ ประดุจดั่งประสาทเรือนหนึ่ง เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นด้วยอิฐศิลาแลงมีสีแดงเข้มเหมือนสีเลือด พอผ่านวันเดือนปีไปไม่นานมันก็เริ่มผุพังย่อยลงไป จนปราสาทนั้นแตกพังลงแล้วสลายไปในที่สุด ก็เกิดนิมิตเข้ามาเห็นในกายตนนี้แล เห็นอวัยวะทั้งหมดในอาการทั้ง ๓๒ ที่รวมๆกองธาตุทั้ง ๕ อยู่นี้ ค่อยๆผุพังแล้วย่อยสลายไปเหมือนปราสาทอิฐศีลาแลงนั้นไม่ต่างกัน" ก็เกิดความหน่ายอยู่ขณะหนึ่ง แล้วกลับเกิดเบื่ออยากพักผ่อน อยากอยู่เงียบๆเฉยๆไม่เข้ายึดสิ่งใด ต่อมามีสติเข้ารู้เหตุการณ์นี้ ซึ่งเราเคยเกิดมีมาแล้วเป้นอาการที่ถูกโมหะมันหลอก เมื่อรู้ดังนั้นแล้วเราก็ให้จิตจับลมหายใจเอาไว้เป็นฐานกำลังให้สติ จึงเห็นว่า


๑. เมื่อจิตมันจะคิด มันจะเห็น มันก็เป็นไปของมันเองฝืนบังคับมันมากก็ไม่ได้ สิ่งนี้นั้นมันสักแต่มีไว้ระลึกรู้ไม่ได้มีไว้เสพย์ ดั่งพระสัพพัญญูเจ้าสอน เพียงแค่เรารู้สภาวะมันตอนนั้นแล้วทำให้เกิดสติสัมปะชัญญะ มีจิตจดจ่อควรแก่งานได้ มันก็จะเกิดความเป็นไปในสภาวะธรรมให้เห็นเอง สามารถใช้ประโยชน์จากสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นนั้นได้ตามจริง แต่ว่าจะเห็นได้ก็ต้องอาศัยการฝึกจนเกิด พละ ๕ ให้มีอินทรีย์แกร่งกล้า

๒. เมื่อคราวต่อไปหากเราหมายจะพิจารณากายให้เห็นสภาวะธรรมในกายเรา อันที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า "เห็นกายในกายตน" ให้ได้บ่อยๆเนืองๆจนเกิดความเบื่อหน่ายได้นั้น ด้วยจริตของเรานี้ก็ต้องจดจำนิมิตและสภาวะธรรมในครั้งนี้ไว้ให้มั่น จำสภาวะธรรมอันปรุงแต่งกำหนดนิมิตขึ้นมาให้ได้ จดจำและกำหนดนิมิตเราให้เห็นว่ากายเราประดุจดั่งปราสาทหินศิลาแลงสีแดงเข้มเรือนนี้ไว้ ที่มัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แตก ผุพัง สุญสลายดับหายไปในที่สุด ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่นาน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตน เป้นทุกข์ ดังนี้





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2015, 08:39:15 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #61 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2015, 09:22:27 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมมฐาน วันที่ 12/2/58


- วันนนี้ได้ไปใส่บาตร หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ในยามเช้า 7.00 น. เมื่อใส่บาตรเสร็จหลวงปู่ได้บอกกับเราว่า ทานนี้มีเยอะแล้ว ทานครั้งนี้มีผลมาก นี่น่ะจะรวยแล้วนะ รวยแล้วๆๆๆ ซึ่งใส่บาตรหลวงปู่มาตลอดเวลาตั้งแต่ประมาณเดือน กรกฏาคม-สิงหาคม ไม่เคยได้ยินหลวงปู่พูดอะไรกับเราเลย นอกจากเวลาที่เราทำกรรมฐานหลวงปู่ ทำให้เรามีความแช่มชื่นปราโมทย์ เกิดความอิ่มใจเป็นสุขเป็นอันมาก
- พอเราใส่บาทเสร็จหลวงปู่ก็จัดดอกไม้ธูปเทียนขึ้นกุฏิ ส่วนตัวเราคาดว่าาหลวงปู่ขึ้นทำวัตรและเข้านิโรธสมาบัติโปรดมนุษย์ หมู่สัตว์ และ เทวดาทั้งหลาย ช่วงรอหลวงมาจังหันเช้า เราจึงได้ไปที่หลังกุฏิหลวงปู่แล้วนั่งสมาธิรอ วันนี้เหมือนมีสิ่งให้เร่าร้อนใจทำสมาธิไม่ได้พอจะสงบก็มีเกตุให้เร่าร้อนวูบออกตจากสมาธิทุกครั้ง หาความสุขสงบเป็นเหตุให้เกิดสมาธิไม่ได้(สมาธินี้เกิดจากปัสสัทธิ ปัสสัทธิเกิดจากความสุข ความสุขเกิดจากปิติ ปิติเกิดจากปราโมทย์ ปราโมทย์เกิดจากความไม่เร่าร้อน ความไม่เร่าร้อนเกิดจากศีล ซึ่งฝ่ายอภิธรรมปริยัติที่เจริญโดยขณิกสมาธิและปัญญาทางโลกจะไม่รู้จักในส่วนนี้ซึ่งผมเจอมากับตัวเอง แต่ถ้าผู้ปฏิบัติกรรมฐานจะรู้จักกันดีโดยเฉพาะสายพระป่าเจโตวิมุตตินั้นจะรู้จักกันดี)
- เมื่อไม่เกิดสมาธิไรๆเราจึงได้ไปเดินจงกรมที่หน้ากุฏิท่าน แล้วระลึกถึงหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒฑโน ระลึกถึงปฏิปทาดีงามของหลวงปู่ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิบัติตรงปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์แล้วและคำสอนของหลวงปู่ ที่คอยพร่ำสอนและเน้นให้อยู่ใน ศีล ทาน ภาวนา เสมอๆ เพราะท่านทรงด้วย ศีล ทาน ภาวนาอันบริสุทธิ์ดีงามตามพระพุทธเจ้าองค์พระบรมศาสดาผู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้าซึ่งประกอบด้วยวิชชาและจรณะอันงดงามบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงดีแล้ว เมื่อเรากราบไหว้ท่านผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าอยู่ เราก็ควรประพฤติตามใน ศีล ทาน ภาวนา ที่ท่านถือปฏิปทอันบริบูรณ์แล้วนั้นตาม เพื่อเข้าถึงซึ่งคุณแห่งวิชชาและจรณะตามพระตถาคตเจ้านั้น
- เมื่อระลึกถึงปฏิปทาของหลวงปู่และคำสอนของหลวงปู่ดังนี้ให้เป็นสังฆานุสสติแล้ว จิตก็เริ่มคลายในความฟุ้งซ่านแล้วสงบลง เราจึงสำรวจดูศีลในตนตั้งแต่ตื่นนอนมาถึงศีลข้อที่เราให้ความสำคัญใจเป็นอันมาก ที่ได้ทำมาบริสุทธิ์บริบูรณ์ดีพร้อมแล้ว จึงไปสำรวจศีลของตนที่เหลือจนครบในกรรมบถ ๑๐ ก็เกิดความแช่มชื่นสบายกายใจจนถึงความสงบมีสมาธิขึ้นมาบ้าง ก็ประขจวบเหมาะเป็นเวลาที่หลวงปู่นั้นจังหันเช้าเสร็จ


   เราจึงได้เข้าไปกราบหลวงปู่ปุญกู้ อนุวัฒฑโนว่า "หลวงปู่ครับ ผมขอถึงหลวงปู่เป็นครูบาอาจารย์อุปัชฌาย์ผู้สอนสั่งกรรมฐานของผมอีกท่านหนึ่งเถิด เนื่องจากวันนี้ผมทำสมาธิไม่ได้เลย จนเมื่อระลึกถึงหลวงปู่เป็นสังฆานุสสติ ระลึกว่าผมได้เรียนกรรมฐานได้รับคำสอนของหลวงปู่ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้ามาอย่างนี้ หลวงปู่ได้เป็นผู้มีปฏิทาถึงพร้อมด้วยสิ่งนั้นที่หลวงปู่สอนมาดีแล้ว ระลึกว่าผมก็ได้ร่ำเรียนมาจากหลวงปู่แล้วเพียรเจริญแล้วและสำรวจดูศีล ทาน ภาวนาของตนตามที่หลวงปู่สั่งสอนว่าวันนี้ได้เจริญมาดีแล้วบริบูรณ์ดีแล้ว ก็พลันยังจิตผมให้เข้าสู่ปัสสัทธิอันมีสมาธิกำกับอยู่เกิดขึ้น จนถึงแม้ตอนนี้ความสงบนั้นก็ยังเกิดอยู่ปกคลุมอยู่ ผมขอหลวงปู่เป็นครูบาอาจารย์สอนกรรมฐานผมเถอะครับ"

   หลวงปู่จึงตอบว่า "อืมๆๆ พร้อมพยักหน้ารับบอกเป็นอย่างนั้น ตามนั้นแหละ"

   จากนั้นเราจึงได้ถามและแจ้งผลกรรมฐานกับหลวงปู่ว่า "เมื่อวันที่ 5/2/58 ที่ผมมากราบขอกรรามฐานหลวงปู่ ผมพยายามไม่นอนเลยระลึกว่าถือเนสัญชิก แต่ร่างกายมันไม่ไหวเพราะถ้าไม่นอนก็ครบ 2 วันพอดี จึงได้คิดว่าหลับสัก 30 นาทีคงไม่เป็นไร เลยเอนตัวลงนอน จิตมันก็คลาย แล้วทำสมาธิก่อนนอนตามปกติที่ทำอยู่ทุกวัน ก็พลันเข้าไปเกิดรู้เห็นสภาวะธรรมและนิมิตอันว่าง เป็นทีละขณะๆๆ ทำให้เห็นว่านอกจากตอนที่จิตรู้ผัสสะนั้นแล้วที่เหลือเป็นสมมติทั้งหมดเพราะอาศัยเจตนา วิตกสังขารเข้าไปหวรระลึกรู้สัญญาในสิ่งนั้นๆ สืบต่อให้เกิดสมมติบัญญัติ แล้วสมมติเรื่องราวทั้งปวงก็เกิดขึ้น ณ ที่นั้น ด้วยนิมิตและการรู้อย่างนี้แล้วถ้าผมไม่หลงไป แล้วสภาวะธรรมนั้นเป็นของจริง แสดงว่า หลังจากที่เรารู้ผัสสะแล้วก็เป็นสมมติทั้งหมดใช่ไหมครับ"

   หลวงปู่ตอบว่า "มันมีทั้งจริงและไม่จริง หากเรายังไม่แน่ใจในสิ่งที่รับรู้นั้นว่าจริงไม่จริง (โดยที่เรานั้นไม่ติดนิมิตไม่ลุ่มหลงนิมิตไม่ถือมั่นเอานิมิต) ให้ละนิมิตนั้นเสีย ถอยออกมาก่อน แล้วกลับมาอยู่ที่สมาธิจนมันสงบตั้งมั่นดีแล้วค่อยกลับไปพิจารณาดูมันใหม่ ก็จะเห็นจริงได้"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2015, 10:07:16 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #62 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2015, 10:07:03 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมมฐาน วันที่ 13/2/58

ทบทวนข้อปฏิบัติกรรมฐานหลังรู้จักอริยะสัจ ๔ แล้ว เพื่อเจริญรอยตามให้เข้าถึงซึ่ง คุณอันว่าด้วย วิชชาและจรณะ ของพระตถาคตเจ้า




ขั้นที่ ๑

1. กรรมบถ ๑๐ + อพรหมจริยา เวระมณีสิกขา หรือ ศีล ๘ เพื่อเป็นฐานแห่งกุศล ทำให้มีสติสัมปะชัญญะระลึกรู้ในศีลกำกับอยู่เสมอ ทำให้ทานบริบูรณ์ ทำให้เกิดสมาธิจดจ่อมากขึ้น จนเข้าถึงใน จรณะ ๑๕
2. ทาน คือ การสละให้
3. พรหมวิหาร ๔ ทำให้ศีลและทานบริบูรณ์ ไม่คับแค้นขัดเคืองใจ ไม่เศร้าหมอง ไม่ใจร้อน ไม่เร่าร้อน เอื้อในการภาวนา
4. ทำสมาธิ "พุทโธ" เป็นพุทธานุสสติ บริกรรมตามลมหายใจเข้าออก โดยมีอานาปานสติรู้ลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นการให้จิตรู้กายสังขารตามจริง ตั้งเป็นหลักให้พุทโธมีกำลังมากตามที่ท่านพ่อลีสอนไว้
5. แผ่พรหมวิหารโดยเจริญใน วิโมกข์ ๘

เจริญจนได้อัปปนาสมาธิอันยังความว่างมีวิตกวิจารอยู่เป็นขั้นต่ำ แล้วจะเจริญพิจารณา อสุภะ ทวัตติงสาการ หรือ จตุธาตุววัตถาน ก็ได้ อันนี้เป็น กายานุสติปัฏฐาน




ขั้นที่ ๒

6. เมื่อยามใช้ชีวิตปกติให้เจริญสัมปะชัญญะ รู้อิริยาบถตน รู้กิจการงานที่ตนทำในปัจจุบันรู้สภาวะกายตนไป ประกอบร่วมกับ รู้ว่าตอนนี้ตนเป็นสุขหรือทุกข์หรือเฉยๆทางกายและใจ๑ และ ตอนนี้ตนนั้นมีความคิดที่เป็นกุศลหรืออกุศลอยู่๑ เมื่อมีสติสัมปะชัญญะรู้กายใจตนในขณะนั้นเสร็จแล้ว ก็ให้มีสติในพุทโธเป็นเบื้องหน้ากำกับเจริญรู้ลมหายใจเข้าออกของตนที่กำลังดำเนินไปอยู่ในปัจจุบันขณะเพื่อให้มีจิตตั้งมั่นพอจะรู้เท่าทันสภาวะจิต
7. เมื่อรู้สภาวะจิตตนว่าเป็นสุขหรือทุกข์หรือเฉยๆจนทันในปัจจุบันขณะนั้นแล้ว ก็ให้พิจารณาเห็นความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในตน(ฉันทะและปฏิฆะ)๑ และ เมื่อรู้สภาวะจิตตนในปัจจุบันนั้นว่าเป็นกุศลหรืออกุศลจนชัดเจนแล้ว ก็ให้เจริญจิตรู้ต่อว่าเป็น โลภะ(กามฉันทะ นันทิ ราคะ) โทสะ โมหะ ที่เรานั้นเสพย์อารมณ์ความปรุงแต่งนั้นอยู่๑
8. เมื่อรู้สภาวะจิตต่างๆในตนจนเป็นที่แน่นอนแล้ว ก็ให้เจริญรู้อาการความรู้สึกของจิตในสภาพจริงๆในสภาวะจิตนั้นโดยปราศจากความตรึกนึกคิดเอา เจริญไปเรื่อยๆจนรู้ทันจิตแม้จะมีอาการที่เป็นลักษณะอาการเหมือพุ่งขึ้น หรือ เกิดนิมิตเป็นแสงพุ่งขึ้นเหมือนพุก็รู้ว่าคืออะไรกิเลสตัวใดมารายล้อมให้จิตเสพย์ แต่เรารู้แล้วมันก็ดับไป ไม่ปรุงแต่งสืบต่อ
9. พิจารณาว่าในแต่ละวันนั้นเราได้เจอสภาวะธรรมอาการความรู้สึกอย่างไรบ้างในแต่ละวัน

เจริญจนได้จิตอันผ่องใสเบิกบาน รู้ทันอาสวะกิเลสที่เกิดมีขึ้นในปัจจุบันขณะ รู้เห็นตามจริงในสภาพปรมัตถธรรม เห็นทางเข้าสู่อุเบกขาจิตตามจริงจนละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีได้ อันนี้เป็น เวทนานุสติปัฏฐาน และ จิตนานุสติปัฏฐาน




ขั้นที่ ๓

10. พละ ๕ คือ ศรัทธาพละ วิริยะพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
11. ทำสมาธิ "พุทโธ" เป็นพุทธานุสสติ บริกรรมตามลมหายใจเข้าออก โดยมีอานาปานสติรู้ลมหายใจเข้าและออกนั้น ตั้งเป็นหลักให้พุทโธมีกำลังมากตามที่ท่านพ่อลีสอนไว้ แม้เวลาทำกิจการงานอยู่ก็รู้ลมหายใจหรือมีพุทโธให้มากที่สุดเท่าที่จะมีกำลังระลึกได้
12. อสุภะในภายนอกโดยสัญญา คือ อสุภะ ๑๐ และ ทวัตติงสาการอสุภะภายในกายตน (อาการทั้ง ๓๒ ประการ เป็น ปฏิกูลบรรพ)
13. จตุธาตุววัตถา จนถึง ธาตุ ๖ กรรมฐาน ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธา วิญญาณ
14. ไม่ยึดมีั่นถือมั่นในวิญญาณขันธ์ หรือ วิญญาณธาตุ หรือ จิต โดยรู้ตามจริงว่า จิตรู้ทุกสิ่ง แต่สิ่งที่มันรู้คือสมมติทั้งหมด ถ้ายังมีเจตนา+วิตก+สัมญญา สิ่งที่เกิดรู้ก็คือสมมติทั้งนั้น จนเกิดปัญญาเพื่อถอนใจที่ยึดครองธาตุนั้นๆที่มีในกายออก เกิดสติสัมปะชัญญะไม่ถือเอาแม้วิญญาณธาตุ ด้วยเห็นไตรลักษณ์และความเข้ายึดสมมตินั้นของมัน เป็น จิตเห็นจิต
   - ถ้าเข้าถึงตรงนี้ได้ จะเกิดความเห็นชอบสงเคราะห์ลงใน อริยะสัจ ๔ จะทำให้ศรัทธาพละในพุทโธมีมาก เพราะเห็นทุกสิ่งเป็นสมมติ แล้ว พุทโธ คือ ผู้รู้สมมติอันลุ่มหลงโดยโมหะ ผู้ตื่นสมมติอันลุ่มหลงโดยโมหะ ผู้เบิกบานด้วยตัดขาดจากสมมติอันลุ่มหลงโดยโมหะ สิ่งนี้เป็นคุณของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่มีค่ามาก ทรงคุณค่า วิตกว่า พุทโธ คือ กุศลวิตก เป็นสัมมาสังกัปปะ คู่กับลมหายหายใจซึ่งเป็นของจริงที่มีอยู่ในกาย ซึ่งเป็นกายสังขาร ให้จิตจับที่ลมหายใจนี้ คือ หาการงานชอบของจิตทำ เป็นต้น จนเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสภาวะธรรม ทั้งหมดนี้เป็นธรรมมานุสติปัฏฐานทั้งหมด
15. แยก กาย เวทนา สัญญา สังขาร จิต
16. สลายธาตุ ๖ จนเห็นกายและใจตนนี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วเรื่อมค่อยๆผุพังลงกลายเป้นเพียงธาตุและย่อยสลายไปในที่สุด ธัมมวิจยะที่จะเกิดในที่นี้จะเกิดจากสมาธิทำให้เกิดยถาภูญาณทัสนะความรู้เห็นตามจริง เป็นญาณล้วนๆให้เป้นไปในมรรค โดยปราศจากความตรึกนึกอนุมาณในคาดคะเนหรือคิดด้วยปัญญาในทางโลกนั่นเอง แต่เป็นวิตกวิจารที่เกิดสำเนียกรู้แยกจากสภาวะธรรมอันปรุงแต่งจิตด้วยสติสัมปะชัญญะและสมาธิที่มีกำลังมากพอควรแล้วทำให้เห็นสภาวะธรรมโดยสภาพตามจริง จนลงเคราะห์ลงในไตรลักษณ์ได้ถูกต้องตามจริง
17. สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิดหรือที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม
18. ธรรมคู่อันงงาม ๒ คือ ทมะ๑ ความข่มใจมีกุศลวิตก ๓ เป็นต้น และ อุปสมะ๑ ความสงบใจจากกิเลย ไม่ตั้งเอาอกุศลวิตก ๓ มาเป็นอารมณ์ จนจึงสภาวะจิตที่ไม่ยึดถือ รู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวาง ด้วยเหตุอันเห็นว่า กุศลวิตก ๓ ที่จิตรู้นี้ สิ่งเหล่านั้นที่จิตรู้มันสมมติทั้งนั้น ของจริงมันดับไปแล้วตั้งแต่เกิดผัสสะรู้สภาวะธรรมนั้นแล้ว แต่อาศัยสมมติให้เกิดขึ้นโดย เจตา วิตก สัญญา และ เข้าไปยึดอาสวะกิเลสให้เกิดเวทนา แล้วสังขารต่อให้เกิดเสพย์กิเลสให้เราเร่าร้อนกายและใจ ถ้าติดใมนความคิดก็ติดในสมมติทั้งนั้น แล้วจะโง่เสพย์สมมติให้เกิดกิเลสไปเพื่อสิ่งใด
19. ธรรมคู่อันงงาม ๒ คือ ขันติ๑ ความทนได้ทนไว้อันเกิดแต่กุศลวิตก ๓ + ความรู้จักปล่อยวางไม่ยึดในกุศลวิตก ๓ และ โสรัจจะ คือ อินทรีย์สังวร ด้วยเห็นสืบต่อมาจาก ทมะ+อุปสมะ ว่า มันแค่สมมติให้เราเร่าร้อนจะโง่ไปเสพย์มันเพื่ออะไร ปล่อยมันไปเสีย ทิ้งมันไปเสีย มันไม่เกิดประโยชน์ไรๆ ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ทีแต่สร้างทุกข์ ปล่อย ละ วาง มันไป ทิ่งมันไปเสีย เพิกจิตออกไม่ยึดเอามัน มันอยากจะปรุงอยู่ก็ปล่อยมันไป ก็แค่รู้ว่ามันปรุงแต่งสืบต่ออยู่แต่เราไม่เอามาตั้งเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ตั้งจิตมั่นยึดเอาแค่ ศีล ทาน ภาวนา มีพุทโธเป็นเบื้องหน้า
20. เพียรเจริญกรรมฐาน ๔๐ กองใดกองหนึ่งก็ตามให้เกิดมีจิตตั้งมั่นยังความว่าง แล้วเกิดรู้แต่สภาวะธรรมให้เกิดขึ้น ลับปัญญาให้คมพอที่จะเห็นและตัดละ รู้ตามจริงในในความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของมันโดยเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น แต่ไม่ได้โง่ไปเสพย์ตามมัน เห็นแค่นามรูปทั้งปวงในกายนี้มีเกิดขึ้นเพียงเพื่อทำหน้าที่ในแต่ละส่วนของมันไม่ได้มีไว้ยึด ไม่เที่ยงไม่คงอยู่นาน บังคับไม่ได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุปัจจัยในสภาวะธรรมนั้นๆ ไม่ได้มีไว้ยึดมั่นถือมั่นไรๆทั้งสิ้น ทำให้เกิดสภาวะนี้ขึ้นบ่อยๆจนกว่าจิตมันจะอิ่มและเต็มจนละสมมติจึงจะตัดขาดได้ อาศัยญาณอันเป็นไปในมรรคให้มากให้เกิดขึ้นเนืองๆละอาสวะกิเลสที่เกิดมีอยู่โดยไม่อาศัยเจตนาเรื่อยๆ จนเกิดญาณอันเป็นไปในปัญญาที่มีลักษณะตัดขาดจากสมมติทั้งปวง


มีท่านผู้รู้ผู้ปฏิบัติในสายพระป่าเหมือนผมอยู่ท่านหนึ่งชื่อว่า อ้น ท่านได้บอกกับผมว่า เพราะจิตนี้สัมเสพย์ติดสมมติมาตั้งแต่เกิด การรู้เห็นสภาวะธรรมเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้มันตัดได้หรอก ต้องให้มันรู้ตามสภาวะธรรมจริงๆเรื่อยๆ และ เห็นในไตรลักษณ์เรื่อยๆ จนมันอิ่มคลายความยึดมั่นถือมั่นอันสมมติ ปัญญามันจึงจะเกิดความหน่ายและตัดได้

ทบทวนปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนทั้ง 20 ข้อนี้เกิดขึ้นพร้อมกันในลำดับจิตที่สืบต่อกัน จะเกิดเป็นมรรคญาณ และ ปัญญาญาณ เพราะทั้ง 20 ข้อนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 09:45:36 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #63 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2015, 01:11:15 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรมมฐาน วันที่ 19/2/58

ทบทวนข้อปฏิบัติกรรมฐานหลังรู้จักอริยะสัจ ๔ แล้ว เพื่อเจริญรอยตามให้เข้าถึงซึ่ง คุณอันว่าด้วย วิชชาและจรณะ ของพระตถาคตเจ้า




วิธีทำสมาธิ ที่ ๑
- หายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออก บริกรรม "โธ" รู้เพียงว่า พุทโธ นี้คือ พุทธานุสสติ บริกรรมพุทโธ คือ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออก ทำจนลมหายใจคือพุทโธ ระลึกรู้จุดที่ลมผ่าน ปักหลักจิตจับรู้ลมอยู่ที่ ปลายจมูก หรือ หน้าอก หรือ ท้อง ก็ได้
- ไม่ไปต้องรู้จักฌาณ ไม่ต้องไปรู้จักญาณ จะสภาวะธรรมไรๆเกิดขึ้นก็ช่างมัน รู้แค่ทำให้มาก..ไม่ให้จิตหลุดจากพุทโธ
เมื่อลมหายใจอ่อนลงหรือขาดไปก็รู้ว่ามันอ่อนหรือขาดไปเท่านั้น เมื่อจิตสักแต่เพียงรู้ไม่บริกรรมแล้ว มีความสำเหนียกรู้อยู่ก็ให้สักแต่รู้ลมเข้าออกไปโดยสำเหนียกนั้น


วิธีทำสมาธิ ที่ ๒
สำเหนียกรู้ลมหายใจเข้าและออก ไม่ต้องบริกรรม เริ่มต้นผู้ที่หัดใหม่อาจจะรู้วิตกบริกรรมนึกตาม เช่น ลมหายใจเข้า ก็เกิดวิตกว่าหายใจเข้า เป็นต้น ก็ปล่อยมันไปไม่ต้องฝืน ไม่ต้องขัด บริกรรมตรึกนึกตามก็แค่รู้ว่าตนบริกรรมตรึกนึกตามเท่านั้น รู้ลมเข้าออกไปไม่ให้จิตหลุดจากลมหายใจ เมื่อลมหายใจอ่อนลงหรือขาดไปก็รู้ว่ามันอ่อนหรือขาดไปเท่านั้น เมื่อจิตสักแต่เพียงรู้ไม่บริกรรมแล้ว มีความสำเหนียกรู้อยู่ก็ให้สักแต่รู้ลมเข้าออกไปโดยสำเหนียกนั้น


วิธีทำสมาธิ ที่ ๓
สภาวะนี้เป็นมรรคล้วนๆ เป็นสภาวะที่เห็นตามจริงมาแล้วว่า ร่างกายนั้นเป็นเพียงธาตุ ๖ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ไม่มีความรู้สึกเป็นกองธาตุที่อาศัยกันอยู่รวมกันอยู๋เพื่อทำหน้าที่ของมัน และ วิญญาณธาตุหรือจิต ซึ่งจิตนี้แหละที่มันเข้าไปยึดครองธาตุ ๕ ทำให้ธาตุ ๕ ในกายนี้เป็นธาตุที่มีใจครองว่าเป็นเรา เป็นของเรา จิตมันรู้ทุกสิ่ง แต่มันรู้แค่สมมติ จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติ เช่น เมื่อใดที่มี..วิตก-วิจาร คือ ความตรึกนึกคิด รู้สิ่งที่คิดแนบอารมร์สิ่งที่คิด..เมื่อนั้นคือสมมติทั้งสิ้น จิตเข้าถึงศรัทธาพละแล้วโดยเห็นตามจริงนั้น จิตเข้าถึงพุทโธตามจริงแล้วจึงจะทำได้
- รู้ว่าจิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติ เราจักเข้าถึงธรรมจริงจักถึงซึ่งความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามองค์สมเด็จพระทศพลเจ้านั้น คำบริกรรมพุทโธนี้ เป็นไปเพื่อการถึงซึ่งความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามรอยพระพุทธเจ้า เมื่อวิตกถึงพุทโธ คือ ความคิดชอบ อาศัยลมหายใจนี้เป็นฐานกำลังให้พุทโธมีกำลังมากให้เข้าถึงความมีจิตจดจ่ออันควรแก่งานได้ มีวิจารความแนบอารมณ์อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกไม่หลุดจากลมหายใจไป
- หายใจเข้า บริกรรม "พุท" หายใจออก บริกรรม "โธ"
- ปักหลักรู้ลมหายใจเข้าและออกอยู่ที่ปลายโพรงจมูก ทำให้เหมือนตอที่ปักหลักอยู่ในน้ำที่ไม่ไหวติงไปตามลม แม้ลมหายใจจะแรงหรือเบา สั้นหรือยาว ลึกหรือตื้นผิวเผินก็ให้สักแต่รู้ตาม..แต่จิตไม่หลุดไม่ไหวติงไปตามลมหายใจที่พัดเข้าออกนั้นคงตั้งจดจ่ออยู่ที่ปลายโพรงจมูกนั้นรู้ผัสสะลมเข้าและออกพร้อมคำบริกรรมไป โดยพึงตั้งจิตรู้ว่า ลมหายใจเข้าและออกนี้ เป็นของจริงที่มีในกาย เป็นธาตุลมที่มีในกาย เป็นกายสังขาร เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยกาย เป็นสภาวะธรรมจริงไม่ใช่สมมติที่เรานั้นรับรู้ได้ง่ายและรู้เห็นได้ตามจริง เมื่อน้อมจิตรู้ลมหกายใจเข้าออกก็เท่ากับให้จิตรู้สภาวะธรรมที่มีจริงๆของจริงที่มีในกายไม่ไปติดกับสมมตินี่หาการงานชอบให้จิต





วิธีเข้าสมาธิ ที่ ๑
ทำจิตให้เป็นสุขกายสบายใจ แล้วจึงทำสมาธิ เพราะสุขสร้างสมาธิ ซึ่งข้อนี้จะรู้แค่นักปฏิบัติเท่านั้นส่วนผู้ที่เรียนปริยัติจะมีผู้รู้น้อยมาก (พระตถาคตได้สอนไว้ในอนิสงส์สูตร)


วิธีเข้าสมาธิ ที่ ๒
ทำจิตให้ผ่องใสเป็นกุศล
โดยเจริญและแผ่เอา ศีล ทาน และ พรหมวิหาร ๔ มีจิตน้อมไปในการสละไปในทิศที่เรามองเห็นอยู่ก่อน แล้วแผ่ไปให้รอบตัว จนถึง 10 ทิศ จนถึงความแผ่ไปในแบบเจโตวิมุตติ อาศัยจิตที่พ้นจากอกุศลธรรมทั้งปวงนั้นแล้ว หากขณะที่แผ่หรือเมื่อแผ่เสร็จแล้วไปสักพักแต่ยังอกุศลให้กำเริบอยู่บ้าง นั่นแสดงว่าจิตยังเป็นกุศลไม่พอบ้าง ยังคงความเป็นโลกียะอยู่บ้าง


วิธีเข้าสมาธิ ที่ ๓
เจริญในจิตตานุสติปัฏฐาน จนทันสภาสวะจิตที่เกิดขึ้นก่อนที่จะปรุงแต่งหรือเสพย์มัน


วิธีเข้าสมาธิ ที่ ๔
เจริญเข้าสู่อุเบกขาจิต
เจริญเข้าสู่อุเบกขาจิต คือ ละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีต่อทุกสิ่งทุกอย่างไปเสีย เพราะติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆไปก็มีแต่ทุกข์หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้


วิธีเข้าสมาธิ ที่ ๕
เจริญจิตเข้าสู่ปัสสัทธิ โดยตั้งเจตนาไว้ที่จะทำดังนี้
ก. ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่จิตรู้ทั้งปวงเพราะมันเป็นสิ่งสมมติทั้งหมด ไม่ว่ามันระนึกอะไร หวนระลึกสัญญาไรๆ ตรึกนึกคิดเรื่องใด เราก็แค่รู้ว่าอาสวะกิเลสมันปรุงแต่งสมมติขึ้นมาหลอกให้จิตรู้จิตเสพย์จิตหลงอีกแล้ว เราจักไม่ทำจิตให้หลงไปตามกิเลส มันเกิดขึ้นมาก็ช่างมัน มันจะปรุงแต่งอย่างไรก็ช่างมัน ไม่ให้ความสำคัญกับมัน มันเป็นแค่สภาวะธรรมหนึ่งที่ปรุงแต่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปตามหน้าที่และกิจของมันเท่านั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราเพียงแต่รู้มันแต่คงสติสัมปะชัญญะไว้รู้ทันกายใจไม่เผลอไผลไปกับมัน มันจะเกิดขัดใจพอใจนั่นมันก็เป็นเรื่องของสิ่งสมมติที่มันปรึงแต่งหลอกล่อให้หลงตามเท่านั้น เราจักไม่ยึดเอาสิ่งสมมติเหล่านั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เราจักตั้งรู้ของจริงอยู่คือพุทโธและลมหายใจเข้าออก หรือ รู้กิจการงานที่ทำอยู่ที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่มีอื่นอีก มีสติสัมปะชัญญะสำรวจรู้ทันไม่ให้จิตเราลุ่มหลงไปกับสมมติอยู่เสมอๆ
ข. เจริญใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ แล้วพึงมีสติระลึกรู้ทัน กาย วาจา ใจ ตนอยู่เนืองๆ เช่น
- ตั้งจิตทำไว้ในใจว่าเราจักเป็นผู้ที่พร้อมด้วยศีลอันงาม มีอินทรีย์สังวรณ์อยู่ ประครอง กาย วาจา ใจ ไม่ให้ก้าวล่วงในศีล มีกรรมบถ ๑๐ หรือ ศีล ๘
- ตั้งจิตทำไว้ในใจว่าตนจักเป็นมิตรที่มีความเอ็นดูปารถนาดีต่อคนและสัตว์ทั้งปวง ระลึกรู้ทันกายใจตนไม่ทำตนให้เศร้าหมองไปผูกเวรพยาบาทใคร
- ตั้งจิตทำไว้ในใจว่าไม่ให้ตนเป็นผู้ไม่ละโมบมักมากเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ ทำจิตให้ตนนี้มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ด้วยผลจากความบริบูรณ์แห่ง ศีล และ พรหมวิหาร ๔ ที่เจริญมาดีแล้วนั้น เป็นต้น

อย่างนี้เป็นการเพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิดหรือที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม ยังจิตให้เกิดปัสสัทธิ ด้วยสติสัมปะชัญญะสังขารโดยรอบดึงสมาธิให้เกิดขึ้น จนสลัดทิ้งซึ่งกิเลสนิวรณ์ทั้งปวง




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 09:47:12 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #64 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 11:43:01 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

อุบายการฝึกให้ถึงทางเข้าสมาธิ

อุบายวิธีเข้าสมาธิ ๑
ทำจิตให้เป็นสุขกายสบายใจ แล้วจึงทำสมาธิ เพราะสุขสร้างสมาธิ ซึ่งข้อนี้จะรู้แค่นักปฏิบัติเดท่านั้นส่วนผู้ที่เรียนปริยัติจะมีผู้รู้น้อยมาก (พระตถาคตได้สอนไว้ในอนิสงส์สูตร) ทีนี้เราจะเอาความสุขอันใดที่ทำให้ปราศจากความห่วงความยึดมั่นต่อสิ่งไรๆแล้วเกิดสมาธิได้ง่าย ก็ให้เจริญเข้าสู่พุทธานุสสติ ที่ว่าด้วยคุณแห่ง อระหัง ของพระพุทธเจ้า คำว่า อระหัง นี้มีความหมายว่าเป็นผู้ดับสิ้นซึ่งเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์โดยสิ้นเชิง โดยให้เราน้อมเอาความดับสิ้นแล้วซึ่งเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้านั้นมาเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดนิมิตว่าพระตถาคตเจ้านั้นได้ทรงแพร่ฉัพพรรณรังสีแห่งความเป็นอระหังนี้มาสู่เราให้หลุดพ้นตาม เมื่อไม่มีกิเลสก็ย่อมไม่มีสิ่งที่ติดข้องใจใดๆทั้งปวง ประดุจดั่งภาพพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นพระศรีมหาโพธฺิ์ ซึ่งประกอบไปด้วยความสุขเบิกบานจากความสงบร่มเย็น ว่างหลุดพ้นจากความปรุงแต่งอันเศร้าหมองกายใจแล้ว มีจิตตั้งมั่นชอบ ให้ระลึกเอาความสุขนั้นมีเกิดขึ้นแก่ใจตนดังนี้



อุบายวิธีเข้าสมาธิ ที่ ๒
ทำจิตให้ผ่องใสเป็นกุศล
๑. เริ่มต้นให้เรารู้และเจริญในฐานที่มั่นอันทำให้จิตผ่องใสนั้นคือ ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ โดยให้ระลึกเอาคุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วย วิชชา(นิโรธ ความดับทุกข์) และ จรณะ(จรณะ ๑๕ ทำให้ อิทธิบาท ๔ บริบูรณ์) มาเป็นอารมณ์ พึงกำหนดนิมิตขึ้นว่า
ก. พระตถาคตเจ้านั้นได้ทรงเสด็จมาเบื้องหน้าเรา แล้วทรงเจริญวิชชาและจรณะให้เห็นในเบื้องต้นดังนี้ว่า
- ความเป็นผู้ยินดีในความปารถนา ไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักประมาณตน
- ความเป็นผู้เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไปกับผู้อื่น
- ความเป็นผู้มีเวรทั้งภายในและภายนอกตน
- ความเป็นผู้มีพยาบาททั้งภายในภายนอกตน
สิ่งเหล่านี้ย่อมนำความเร่าร้อนมาให้ เป็นอวิชชา คือ ความลุ่มหลงไม่รู้ แล้วเสพย์ตามอาสวะกิเลสปรุงแต่งไป เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ทั้งปวง ทำให้ใจเศร้าหมอง
ข. แล้วได้ทรงพึงเจริญให้เห็นถึง ความไม่เร่าร้อน มีความแช่มชื่นใจ มีความอิ่มใจ เป็นสุขยินดี สงบร่มเย็นกายใจ
- จากความเป็นผู้ไม่ฝักใฝ่ใคร่ปารถนา เป็นผู้รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักประมาณตนในการดำรงชีพทุกๆอย่าง
- จากความเป็นผู้ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น
- จากความเป็นผู้ไม่มีเวรทั้งภายในและภายนอก
- จากความเป็นผู้ไม่มีพยาบาททั้งภายในและภายนอก
ค. จากนั้นให้น้อมระลึกถึงความที่เรานี้ได้ดำรงอยู่ในศีลธรรมอันงามข้อใดก็ได้ที่ทำให้เรามีสุขที่สุดเมื่อได้ทำ ระลึกถึงเป็นคนดีบริสุทธิ์ดุจผ้าขาวด้วยศีล เป็นที่รักใคร่เชิดชูของเทวดาและหมู่สัตว์ จะไปทางในทิศใดก็ปราศจากความหวาดกลัว หวาดระแวง เป็นสุขทุกที่ที่ไป ลองนึกดูสิว่าเมื่อเราบริสุทธิ์งดงามดีแล้วย่อมเป็นผู้ไม่มีศัตรู ไม่เป็นที่รังเกลียดต่อใคร ไม่ว่าจะไปที่ใดก็ไม่ต้องกลัวใครมาทำร้าย หรือกลัวใครมารู้ว่าเราทำไม่ดีแล้วยังความฉิบหายมาสู่เรา ไม่ต้องไปคอยจดจ้องกลัวใครจะดีกว่าตนเหนือตน ไม่ต้องไปแข่งขันกับใครให้เร่าร้อนมันเป็นสุขแค่ไหน ให้ระลึกเอาความรู้สึกทางใจในผลอย่างนั้นจนเกิดความรู้สึกยินดีที่ได้ทำในสิ่งนั้น จิตจะเป็นสุขโดยความไม่ยึดเอาสิ่งอันใดที่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ยังความรื่นเริงใจให้เกิดขึ้นสังขารโดยรอบด้วยสติระลึกรู้อยู่ในกายใจตนอยู่เนืองๆไม่ลุ่มหลงไปตามสิ่งที่จิตตรึกนึกคิดเสพย์รู้อารมณ์จนเกิดความสงบจากกิเลสมีสมาธิเป็นผล
ง. จะเกิดปัญญาเห็นว่า ละเบียดเบียนได้ศีล ละโลภได้ทาน ละโมหะได้สุข,สงบ,ภาวนา ดังนี้
จ. จากนั้นให้น้อมระลึกถึงความที่เรานี้เป็นผู้มีใจกว้างดุจมหาสมุทรไม่มีที่สิ้นสุดมีจิตเอื้อเฟื้อแบ่งปันสงเคราะห์และสละให้ผู้อื่นตามสมควรตามสติกำลังเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงความสุขเพราะเรา โดยเมื่อเราสละให้แล้ว ก็ถือว่าไม่ใช่ของเราแล้ว เราจักไม่มาเสียใจ เสียดาย อยากได้คืนในภายหลัง
ฉ. โดยทั้งความไม่มีเวรพยาบาทและความมีจิตแบ่งปันสละให้ อาศัยความมีจิตเห็นว่าเขาเหล่านั้นประดุจดั่งบุพการี ญาตุสนิท มิตรสหาย หรือ สามี ภรรยา บุตร หลานบริวารทั้งหลายของเรา อันเราควรมีจิตเอ็นดูปารถนาดีน้อมไปในการสละต่อเขาโดยไม่ติดใจข้องแวะไรๆทั้งปวง ควรแบ่งปันสละให้ ควรยินดีในสุขที่เขาควรมีควรได้ไม่มีจิตอิจสาริษยาต่อเขา พึงเห็นเสมอเหมือนกันหมดไม้มีเว้น ไม่มีจิตอคติลำเอียงต่อผู้ใดด้วย เพราะรัก เพราะเกลียด เพราะกลัว เพราะไม่รู้ตามจริง เมื่อเราเจริญอยู่อย่างนี้ๆความเร่าร้อนย่อมไม่มี ย่อมเกิดแต่ความอิ่มเอมยินดีด้วยใจไม่เศร้าหมอง เราจักเห็นว่าจิตเรานี้สูงขึ้นแล่นเข้าสู่กระแสสันดานแห่งพระอริยะเจ้าแล้ว มันสุขอย่างนี้ มันยินดีอย่างนี้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มันหนักเป็นภาระกายใจ เมื่อเข้าถึงจิตที่มีลักษณะวางจากสิ่งสมมติทั้งปวง มันทำให้เราผ่องใส ผ่อนคลาย สงบร่มเย็นกายใจ เป็นสุบ เกิดจิตอันนิ่งจดจ่อควรแก่งานอย่างนี้

๒. เมื่อจิตผ่องใสดีแล้วด้วยเครื่องฟอกจิตตามข้อที่ ๑ ก็ให้พึงระลึกถึงคุณแห่ง อนุตโรปุริสทัมสารถิ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเสมอๆว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะไปยังที่ใดทิศใดย่อมแผ่ ศีล ทาน และ พรหมวิหารแบบเจโตวิมุตติ ไปทั่วทุกสารทิศไม่เว้นว่าง ดังนั้นแล้วจึงเป็นผู้ไม่กัวตายเพราะได้กระทำกุศล แห่ง ศีล ทาน ภาวนานั้นมาดีแล้ว จะไม่หยั่งลงนรกเป็นอันขาด แล้วที่พระพุทธเจ้าทรงฝึกให้ภิกษุทั้งหลายแผ่ไปคือวิโมกข์ ๘ นั่้นเอง
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-259.htm
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-128.htm
ดังนี้แล้วให้เราน้อมเอาคุณนั้นมาสู่ตนระลึกถึงพระพุทธเจ้าทรงเสด็จอยู่เบื้องหน้าแล้วเจริญปฏิบัติ ศีล ทาน พรหมวิหารเจโตวิมุุตติเป็นวิโมกข์ ๘ อยู่เบื้องหน้าเรา แล้วเรานั้นแผ่ตามพระองค์ไปตามฉัพพรรณรังสีของพระองค์ที่แผ่กระใจไปกว้างไกลในทิศต่างๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เริ่มจากแผ่ไปให้รอบตัวเรา ไปจนถึง ๑๐ ทิศ จนถึงความแผ่ไปในแบบเจโตวิมุตติ อาศัยจิตที่พ้นจากอกุศลธรรมทั้งปวงนั้นแล้ว หากขณะที่แผ่หรือเมื่อแผ่เสร็จแล้วไปสักพักแต่ยังอกุศลให้กำเริบอยู่บ้าง นั่นแสดงว่าจิตยังเป็นกุศลไม่พอบ้าง ยังคงความเป็นโลกียะอยู่บ้าง




อุบายวิธีเข้าสมาธิ ๓
เจริญในจิตตานุสติปัฏฐาน จนทันสภาสวะจิตที่เกิดขึ้นก่อนที่จะปรุงแต่งหรือเสพย์มัน จะเกิดสมาธิปกคลุมด้วยสติสังขารโดยรอบทำให้จิตผ่องใสน้อมไปในการสละ ไม่หนักตรึงหน่วงจิต




อุบายวิธีเข้าสมาธิ ๔
เจริญเข้าสู่อุเบกขาจิต
๑. ละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีต่อทุกสิ่งทุกอย่างไปเสีย เพราะติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆไปก็มีแต่ทุกข์หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้
๒. อนึ่ง..เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราหวนระลึกถึงแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง สิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้นและล่วงเลยมาแล้ว มันเป็นอดีตไปแล้ว แต่อาศัยเจตนาวิตกไปหวนระลึกถึงสัญญาประกอบกับอาสวะกิเลส แล้วสังขารปรุงแต่งสมมติให้เกิดขึ้น สิ่นเหล่านั้นย่อมไม่มีอยู่จริงในปัจจุบัน ย่อมไปแก้ไขสิ่งไรๆไม่ได้แล้ว แม้เราจะเข้าไปตั้งความพอใจหรือไม่พอใจในสิ่งนั้นๆแต่มันก็เกิดขึ้นล่วงเลยมาแล้ว ไม่ว่าเราจะเป็น..สุข หรือ..ทุกข์ หรือ..เฉยๆ ไปกับสิ่งเหล่านั้น เราก็กลับไปแก้ไขหรือห้ามไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นก็ไม่ได้ ดังนั้นแล้วเราควรวางเฉยกับมันยังดีเสียกว่าไปทุกข์กับมันให้เศร้าหมองใจเปล่า




อุบายวิธีเข้าสมาธิ ๕
เจริญจิตเข้าสู่ปัสสัทธิ โดยตั้งเจตนาไว้ที่จะทำดังนี้
ก. ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่จิตรู้ทั้งปวงเพราะมันเป็นสิ่งสมมติทั้งหมด ไม่ว่ามันระนึกอะไร หวนระลึกสัญญาไรๆ ตรึกนึกคิดเรื่องใด เราก็แค่รู้ว่าอาสวะกิเลสมันปรุงแต่งสมมติขึ้นมาหลอกให้จิตรู้จิตเสพย์จิตหลงอีกแล้ว เราจักไม่ทำจิตให้หลงไปตามกิเลส มันเกิดขึ้นมาก็ช่างมัน มันจะปรุงแต่งอย่างไรก็ช่างมัน ไม่ให้ความสำคัญกับมัน มันเป็นแค่สภาวะธรรมหนึ่งที่ปรุงแต่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปตามหน้าที่และกิจของมันเท่านั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราเพียงแต่รู้มันแต่คงสติสัมปะชัญญะไว้รู้ทันกายใจไม่เผลอไผลไปกับมัน มันจะเกิดขัดใจพอใจนั่นมันก็เป็นเรื่องของสิ่งสมมติที่มันปรึงแต่งหลอกล่อให้หลงตามเท่านั้น เราจักไม่ยึดเอาสิ่งสมมติเหล่านั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เราจักตั้งรู้ของจริงอยู่คือพุทโธและลมหายใจเข้าออก หรือ รู้กิจการงานที่ทำอยู่ที่กำลังดำเนินไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่มีอื่นอีก มีสติสัมปะชัญญะสำรวจรู้ทันไม่ให้จิตเราลุ่มหลงไปกับสมมติอยู่เสมอๆ
ข. เจริญใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ แล้วพึงมีสติระลึกรู้ทัน กาย วาจา ใจ ตนอยู่เนืองๆ เช่น
- ตั้งจิตทำไว้ในใจว่าเราจักเป็นผู้ที่พร้อมด้วยศีลอันงาม มีอินทรีย์สังวรณ์อยู่ ประครอง กาย วาจา ใจ ไม่ให้ก้าวล่วงในศีล มีกรรมบถ ๑๐ หรือ ศีล ๘
- ตั้งจิตทำไว้ในใจว่าตนจักเป็นมิตรที่มีความเอ็นดูปารถนาดีต่อคนและสัตว์ทั้งปวง ระลึกรู้ทันกายใจตนไม่ทำตนให้เศร้าหมองไปผูกเวรพยาบาทใคร
- ตั้งจิตทำไว้ในใจว่าไม่ให้ตนเป็นผู้ไม่ละโมบมักมากเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ ทำจิตให้ตนนี้มีความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน ด้วยผลจากความบริบูรณ์แห่ง ศีล และ พรหมวิหาร ๔ ที่เจริญมาดีแล้วนั้น เป็นต้น

อย่างนี้เป็นการเพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิดหรือที่เกิดขึ้นแล้ว ยังกุศลให้เกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม ยังจิตให้เกิดปัสสัทธิ ด้วยสติสัมปะชัญญะสังขารโดยรอบดึงสมาธิให้เกิดขึ้น จนสลัดทิ้งซึ่งกิเลสนิวรณ์ทั้งปวง
(การที่จะเกิดกำลังความเพียรละอกุศลได้นี้ต้องมี ฉันทะอิทธิบา๔ ใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ และภาวนาก่อน ต้องหาฉันทะที่มีใน ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ภาวนาของตนให้ได้ ให้พึงรู้ว่า รู้เป็นปัญญา ตื่นเป็นศีล เบิกบานเป็นทาน ละเบียดเบียนได้ศีล ละโลภะได้ทาน ละโมหะได้ภาวนา ผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะมี ศีล ทาน พรหมวิหาร๔ ภาวนาได้ เมื่อเราเป็นผู้รู้และตื่นจากสมมติเราย่อมเห็นคุณใน ศีล, ทาน, พรหทมวิหาร ๔, ภาวนา ว่าช่วยให้เรานี้ปหานกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง จนถึงอย่างละเอียดได้ดีนัก แม้พระพุทธเจ้าก็เชิดชูผู้สังวรอยู่ดังนี้ เราทำได้นี้เราก็เป็นสัตบุรุษเป็ยบัณฑิตเลย)





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 25, 2015, 06:15:12 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #65 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 11:43:50 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 20-2-58 ฟังหลวงปู่บุญกู้เทสน์ # ๑

หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน เทสนา เท่าที่พอจะจำได้ผสมกับความตรึกนึกอนุมานของตนที่พอจะหวนระลึกปรุงแต่งคำสอนของหลวงปู่ได้

๑. การเผยแพร่ธรรมไปต่างแดน ทำพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป
เหมือนพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระะรรมทูตไปเผยแพร่พระพุทะศาสนาให้กว้างไกลจนในยุคนั้นชมพุทวีปเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาจนถึงวันนี้ แต่ตอนนี้เราถูกลัทธิอื่นแทรกแทรงจนพระพุทธศาสนาเริ่มเสื่อมและดับสูญ เราโชคดีที่เกิดมาเป็นคนไทยมาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนา มีแต่พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่มีศีล เป็นศีลเครื่องกุศล เป็นศีลที่เป็นไปเพื่อความพ้นจากกิเลส
๒.ชีวิตความสุขสบายในทางโลก
ซึ่งความสุขทางโลกนี้ต้องอาศัยอามิสจากสิ่งที่เสื่อมสูญมีแต่วันผุพังย่อยสลายดับไปอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นทีวี ตู้เย็น รถ เครื่องอยู่ เครื่องกิน เครื่องใช้ สัตว์หรือบุคคลที่ใคร่ปารถนา ที่นับวันก็จะมีแต่ผุพังเสื่อมสูญดับไป "พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความสุขทางโลกหรือทางโลกียะนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เพราะอาศัยสิ่งที่ไม่เที่ยงมาเป็นความสุขของตน"
๓. เห็นความวุ่นวายทางโลก
คนที่ยังหลงอยู่ก็ตะเกียกตะกายไขว่คว้าหาเอาความสุขจาก สิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เหล่านั้นมาครอบครองเพื่อความสุขทางโลกของตน ทั้งข้าวของเครื่องใช้ บุคคล สัตว์ สิ่งของไรๆ เมื่อตนยังไม่มีเสพย์ หรือ เมื่อมีแล้วเวลาผ่านไปไม่นานสิ่งเหล่านั้นก็ผุพังดับสูญไป ก็ตะเกียกตะกายฝักใฝ่พยายามหามาให้ได้อีก พอไม่ได้ก็ทุกข์ พอได้ก็สุข สุขจากการเสพย์สิ่งของภายนอกหรือจากคนภายนอก ที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนหาความจีรังไม่ได้ บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้
๔. เห็นทุกข์ในทางโลก
พอเมื่อเอาความสุขสำเร็จของตนไปผุกขึ้นไว้กับสิ่งของหรือคนอื่นภายนอกซึ่งเป็นของไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ หาสุขไม่ได้ สุขนั้นก็ไม่ยั่งยืนเพราะสิ่งเหล่านั้นมีแต่รอวันผุพังเสื่อมสูญสลาย แม้สิ่งเหล่านั้นจะยังไม่ผุพังสุญหายเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อเราตายไปแล้วก็เอาบุคคลหรือสิ่งของเหล่านั้นไปด้วยไม่ได้ คงมีเพียง ๒ สิ่งเท่านั้นที่เราแบกเอาสิ่งที่ติดตัวไปได้ คือ บุญกับบาป
๕. บารมีกรรมหรือ กรรมทายาท
จิตเรานี้ควรอบรมเจริญในกุศลผลบุญให้มาก มีศีล สมาธิ ปัญญา ทาน เพื่อสะสมให้ถึงความหลุดพ้น ดังนั้นเมื่อดำรงชีพอยู่ให้พึงเห็นว่า จิตนี้ขาดทุน หรือ ได้กำไร เมื่อเราดำรงในกุศลธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญา และทาน อยู่มาก จิตก็ได้กำไร ไปเกิดบนสวรรค์ เกิดเป็นคน เกิดในภพภูมิที่ดี จนถึงความหลุดพ้น เมื่อจิตเราขาดทุนก็ตายไปลงนรก เป็นเปรต เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทุกข์ทรมานในวัฏฏะสงสารไม่มีที่สิ้นสุด
๖. ศีล พรหมวิหาร ๔ ทาน
ศีลเป็นฐาน เป็นเครื่องแห่งกุศลทั้งปวง ทำให้ไม่ก้าวล่วงในบาป หลีกพ้นจากกิเลสตัณหา อาศัยเมตตาในการเอ็นดูปารถนาดีต่อผู้อื่นทำให้ตนมีจิตอันดีผ่องใสเป็นกุศลน้อมไปในการสละ ไม่ทำกายวาจาใจไปเบียดเบียนผู้อื่น มีจิตกรุณาสงเคราะห์แบ่งปันอยากให้ผุ้อื่นเป็นสุขพ้นจากทุกข์ มีการสละให้ตามกำลัง มีจิตมุทิตายินดีเมื่อเขาเป็นสุข ไม่อิจฉาเขา ไม่ซ้ำเติมเมื่อเขาเป็นทุกข์ มีจิตเป็นอุเบกขาวางเฉยไม่เร่าร้อนไปตามความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีของตน แลเห็นกรรมในกุศลและอกุศล กรรมดีและกรรมชั่ว ที่เป็นไปตามแต่การกระทำนั้นๆของตนและผู้อื่น ไม่ลำเอียงอคติ มีทานคือการสละให้เพื่อยังใจให้อิ่มเอมให้เต็ม เป็นสุข ทั้งการมีศีลคือละความเบียดเบียน ละโทสะมีความรักใคร่เอ็นดูหวังดี แบ่งปัน ยินดีต่อผู้อื่น ไม่ยินดียินร้ายจากการกระทำและผลที่ได้ไรๆจากผู้อื่น ถึงอภัยทาน
๗. ปัญญา, ศีล+เมตตา,  ทาน, สมาธิ
ให้เราเดินบนทางแห่งมรรค ๘ เพื่อถึงความหลุดพ้นทุกข์ เพียรเจริญปฏิบัติให้บริบูรณ์
ก. คนมีปัญญาจึงจะมีศีลและทานได้ เพราะมีปัญญาเห็นทุกข์เห็นอริยะสัจจ์ รู้เห็นสิ่งนี้ๆดีและสิ่งนี้ๆไม่ดีเท่านั้นจึงจะเกิดศีลและทานได้ คนที่ไม่มีปัญญาจะไม่รู้ดีรู้ชั่วทำให้เจริญในศีลและทานไม่ได้เลย เพราะแยกแยะถูกผิดไม่ได้
ข. ศีลและทาน จากปัญญา
- เพราะศีลเป็นความไม่เร่าร้อน เพราะไม่ต้องไปกลัวหวาดระแวงว่าใครจะมาทำร้ายหรือรู้ว่าตนทำผิด เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่นหรือเหมือนคนอื่นเป็น คือความไม่เบียดเบียน เป็นการละการกระทำในสิ่งที่ไม่ดีอันเบียดเบียนผู้อื่นทางกายและวาจาไปอาศัยเมตตาทำให้ใจเว้นจากการหมายเบียดเบียนผู้อื่น
- เพราะทานเป็นความอิ่มเอมสุขใจในกุศล ทาน คือ การสละให้ ละความโลภมีจิตสงเคราะห์ให้เป็นทาน อาศัยผลแห่งทานนี้เป็นตัวสร้างความอิ่มเอมเป็นสุขเต็มกำลังใจให้เรา เพราะได้สละให้ผู้อื่นแล้วความเบิกบานใจในการได้ช่วยเหลือผู้อื่นตามสติกำลังย่อมเกิดขึ้น หรือการได้ถวายภัตราหารใส่บาตรแก่ภิกษุสงฆ์ ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บุญย่อมเกิดขึ้น ยังความอิ่มใจเป็นสุขร่มเย็นกายใจให้เกิดขึ้น
(โดยส่วยตัวของจากการเจริญปฏิบัติในศีลและทานของเราแล้วทำให้รู้เห็นว่าจะเกิดสติสัมปะชัญญะระลึกรู้ทันกายใจตนสังขารโดยรอบให้ดำรงอยู่ในทางกุศลดีงามไม่ก้าวล่วงในศีลและทานนั้นไปทุกขณะเพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งศีลนั้นจนรู้สึกได้เลยว่าเกิดสมาธิปกคลุมกายใจตนอยู่ทุกขณะด้วยผลจากความตั้งจิตมั่นเพียรเจริญทำในศีลเครื่องแห่งกุศลนั้น)
ค. เมื่อมีศีลและทานบริบูรณ์ กายใจก็บริบูรณ์ สร้างความไม่เร่าร้อนเป็นสุขสงบยังผลให้กายใจตนเกิดสมาธิชอบเป็นกุศล ทำให้จิตให้ว่างจากความปรุงแต่งฟุ้งซ่านจากกิเลสเครื่องร้อยรัดดั่งไฟอันเร่าร้อน เมื่อมีการอบรมจิตด้วยเครื่องแห่งกุศลทั้งหลายให้มีจิตตั้งมั่นชอบควรแก่งาน

- เมื่อเพียรเจริญในข้อ ก,ข,ค จนเกิดกุศลสมาธิในกาลทุกเมื่อจนทำให้เกิดความรู้เห็นตามจริง ก็จะเกิดปัญญาตัดขาดสิ้นเพลิงกิเลสทั้งปวง

- ศาสนาพุทธ คือ ศาสนาของ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ก. รู้ คือ ปัญญา.. รู้ถูก-ผิด, รู้จักดี-ชั่ว, รู้กุศล-อกุศล รู้ความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น-ไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นเป็นสันติ
ข. ตื่น คือ ศีล..เจริญในกุศลไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ค. เบิกบาน คือ ทาน ความอิ่มเอมเป็นสุขเบิกบานพ้นจากกิเลสความลุ่มหลงยินดีเมื่อได้ทำได้สละให้ ด้วยหวังว่าเขาจะเป็นสุขจากการให้ของเราโดยไม่หวัลสิ่งตอบแทนคืน ให้แล้วไม่มานึกเสียใจเสียดายในภายหลัง ด้วยเหตุอย่างนี้ๆทำให้มันเต็มกำลังใจเรามีพละ มีบารมีทาน ยังผลให้บุญทานเกิดเป็นความอิ่มใจเป็นสุข
๘. ธาตุ ๖
กายเรานี้ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ รวมกันเกิดขึ้น มีวิญญาณธาตุเป็นตัวรู้ อาศัยวิญญาณธาตุนี้แหละเป็นตัวเข้าไปยึดครองธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ที่รวมกันเป็นรูปร่างต่างๆขึ้นจึงเห็นเป็นแขนเป็นขาเป็นหน้าเป็นตาเป็นร่างกาย
- เมื่อตาผัสสะรูป มันจึงเห็นว่าเป็นคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ พอใจไม่พอใจในรูปที่เห็นนั้น ไม่มีวิญญาณก็ไม่รู้สิ่งที่เกิดทางตา ไม่มีความพอใจไม่พอใจ
- เมื่อหูผัสสะเสียง
มันจึงรู้ว่าเป็นเสียงของคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ พอใจไม่พอใจในเสียงที่ได้ยินนั้น ไม่มีวิญญาณก็ไม่รู้สิ่งที่เกิดทางหู ไม่มีความพอใจไม่พอใจ
- เมื่อจมูกผัสสะกลิ่น
มันจึงรู้ว่าเป็นกลิ่นของสิ่งนั้นสิ่งนี้ กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น พอใจไม่พอใจในกลิ่นที่ได้รู้ ไม่มีวิญญาณก็ไม่รู้สิ่งที่เกิดทางจมูก ไม่มีความพอใจไม่พอใจ
- เมื่อลิ้นผัสสะรส
มันจึงรู้ว่าเป็นรสของสิ่งนั้นสิ่งนี รสหวาน รสเค็ม พอใจไม่พอใจในเสียงที่ได้ยินนั้น ไม่มีวิญญาณก็ไม่รู้สิ่งที่เกิดทางลิ้น ไม่มีความพอใจไม่พอใจ
- เมื่อกายผัสสะสิ่งที่มากระทบกาย
มันจึงรู้ว่าเป็นของสิ่งนั้นสิ่งนี้มาถูกมากระทบ เจ็บ ปวด สบายกาย พอใจไม่พอใจในเสียงที่ได้ยินนั้น ไม่มีวิญญาณก็ไม่รู้สิ่งที่เกิดทางลิ้น ไม่มีความพอใจไม่พอใจ

วิญญาณธาตุ มันทำหน้าที่แค่รู้เท่านั้น จึงทำให้เราเจ็บเป็น ปวดเป็น ไม่สบายกายสบายใจได้เพราะกายมันไม่มีความรู้สึกอะไรมันเป็นแค่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ที่นับวันก็เสื่อมผุพังสลายไปแต่อาศัยวิญญาณธาตุนี้เข้าไปยึดครองว่าเป็นนั่นเป็นนี่เป็นแขน เป็นขา เป็นกาย เป็นตน มันจึงเจ็บเป็น ปวดเป็น ปวดแขน ปวดขา ดังนี้
พอเราตายธาตุ ๕ ก็ไร้ใจครองก็ผุพังเน่าสลายดับไป มันไม่ได้ติดตามเราไปด้วยเหมือนบุญกรรม แล้วจะเอาจิตไปยึดเอาสิ่งใดกับธาตุทั้ง ๕ นั้นได้ จิตเดิมเรานี้ก่อนที่มันจะมาเข้ายึดครองกองธาตุ ๕ ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้ ชาติก่อนมันเกิดเป็นคน เป็นสัตว์ ไปยึดเอาธาตุขันธ์อื่นมาไม่รู้ตั้งเท่าไหร ดังนั้นธาตุ ๕ นี้เราจึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขา ไม่ควรเอาใจเข้ายึดครอง

จำได้เพียงเท่านี้ แต่รู้ว่าหลวงปู่ได้สอนให้ไม่ยึดวิญญาณธาตุด้วยแต่ตอนนั้นทำสมาธิไปด้วยทำให้ไม่ได้ฟังหลวงปู่ชัดเจนหากเขียนเพิ่มเติมลงไปจะบิดเบื่อนคำสอนได้จึงละไว้ก่อน

ในขณะที่เขียนบันทึกคำสอนหลวงปู่อยู่นี้มีวิตกเกิดขึ้นว่า ความไม่ยึดเอาวิญญาณธาตุ หากตามที่เขียนมาทั้งหมดความเป็นไปได้ในการไม่ยึดนั้น เราก็เกิดความอนุมานคาดคะเนจากคำสอนของหลวงปู่ผสมกับสิ่งที่ตนได้รู้เห็นสัมผัสมาดังนี้คือ
๑. วิญญาณธาตุนี้ มันแค่ทำหน้าที่รู้แล้วยึดครองกายธาตุ เราจึงเจ็บปวดเป็นนั่นเป็นนี่ได้ ละตัวรู้ตัวยึดนั้นเสียไม่ให้ความสำคัญมั่นหมายของใจกับวิญญาณธาตุนั้นอีก เพราะวิญญาณูาตุไม่มีเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ควรยึดไปว่าเป็นเรา มีเราในวิญญาณธาตุ มันแค่มีไว้ทำหน้าที่รู้เท่านั้น ไม่ได้มีไว้ยึด เรา มันจะเข้าไปยึดครองสิ่งใดเราก็ไม่ต้องไปยึดตามมัน เราก็จะไม่มีความยึดครองสิ่งใดอีก
๒. วิญญาณธาตุนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่จิตเดิมแท้ ไม่ได้ติดตามเราไปด้วยเมื่อตาย มันแค่เกิดขึ้นมาทำหน้าที่รู้และยึดในธาตุขันธ์กองนี้เท่านั้น
๓. ด้วยวิญญาณธาตุนี้มันเกาะเกี่ยวยึดมั่นไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งไรๆที่มันรู้มันก็ยึดมั่นเป็นทุกข์เป็นอุปาทาตทั้งหมด ก่อนที่มันจะมายึดในธาตุ ๕ ทึ่เป็นร่างกายในปัจจุบันนีั ชาติก่อนมันก็เข้ายึดในธาตุ ๕ กายอื่นๆที่เข้าไปครองไปทั่ว ไม่ว่าจะเกิดเป็นหมา แมว ไก่ นก หนอนในขี้ หนอนพยาธิ คางคก จิ้งจก มันก็เข้าไปยึดครองในกายนัันทั้งหมด นี่น่ะวิญญาณธาตุเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เลยมันรู้มันยึดมันลุ่มหลงไปมั่วไม่มีที่สิ้นสุด หากเข้ายึดวิญญาณธาตุว่ามันเป็นเราเป็นของเรา เป็นของเที่ยงแล้ว ก็ไม่รู้ว่ามันจะพาเราไปยึดเอากายสกปรกสัตว์เดรัจฉานตัวไหนอีก ดังนั้นเราควรละมันไปเสียอย่าให้ความสำคัญไรๆกับมันอีก มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
๔. จิต หรือ วิญญาณธาตุในปัจจุบันชาตินี้ไม่ใช่จิตเดิม จิตเดิมนี้มีความเกิดขึ้นมารู้มายึดครองธาตุขันธ์ในอดีตชาติแล้วมันก็ดับสูญสลายไปแล้วพร้อมธาตุขันธ์ในอดีตชาตินั้น มาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ อาศัยปัจจัยหรือกรรมอันสืบต่อให้เป็นปัจจัยให้เกิดจิตใหม่ยึดครองขันธ์ใหม่ขึ้นมาซึ่งไม่ใช่สิ่งเดิม จิตนี้จึงไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง มันเกิดมันดับสูญไปของมัน ก็เมื่อเราตายวิญญาณและธาตุขันธ์มันก็ตายไป วิญญาณธาตุที่เราในปัจจุบันภพชาตินี้ก็ตายไปดับไป แล้วก็เป็นจิตใหม่เกิดขึ้น ซึ่งจิตใหม่นี้มันก็อยู่ไปในปัจจุบันภพของมัน แล้วก็ดับ ณ ที่นั้น พอจะมาเกิดใหม่ มันก็เป็นจิตตัวใหม่ที่ครองธาตูขันธ์ตัวใหม่
เหมือนดั่ง พระนาคเสนตอบพระเจ้ามิลินเรื่อง จากนมโค -> มาเป็นนมเปรี้ยว -> มาเป็นเนย หรือ จากเด็กเป็นผู้ใหญ่เป็นคนเดียวกันหรือคนละคนกัน ทั้งหมดเป็นคนละคน คนละจิต แต่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดดับสืบต่อให้เป็นไป จิตและธาตุขันธ์ในตอนเด็กดับไปแล้ว จิตและธาตุขันธ์ในตอนใหญ่จึงเกิดขึ้น อาศัยสัญญาอุปาทานแห่งจิตเท่านั้นจึงเห็นว่าเป็นเราเป็นคนคนเดียวกัน

๕. ตามที่หลวงพ่อเสถียรสอนว่า วิญญาณธาตุคือจิต จิตมันทำหน้าที่รู้เท่านั้น มันรู้ทุกอย่างแต่รู้แค่สมมติ ยึดจิตก็ยึดสมมติหลงสมมติ ละความยึดมั่นในตัวรู้นั้นเสีย ปล่อยมันไปทำหน้าที่อันควรของมันไปเราแค่ใช้มันรู้แต่ไม่ยึดมันว่าเป็นเรา ว่าเที่ยง ว่ามีตัวตน มันเป็นตัวทุกข์ หากยึดจิตก็เท่ากับเรายึดสมมติไม่รู้ตามจริงได้เลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2015, 07:00:00 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #66 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 09:49:35 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 20-2-58 ฟังหลวงปู่บุญกู้เทสน์ # ๒

หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน เทสนา เท่าที่พอจะจำได้ผสมกับความตรึกนึกอนุมานของตนที่พอจะหวนระลึกปรุงแต่งคำสอนของหลวงปู่ได้

๖. หากตามวิชาธาตุของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ท่านว่าอากาศมีมากในจิตหรือวิญญาณธาตุให้ใช้อากาศที่มีสภาพว่างไม่มีประมาณสลายวิญญาณธาตุ ไม่ยินดียินร้ายกัยสิ่งใดๆทั้งสิ้น ประดุจพระตถาคตตรัสสอนแก่พระราหุลเถระใน ราหุโลวาทะสูตร ว่า ทำกายใจให้เป็นสภาพว่างไม่ยึดเอาสิ่งใดทั้งปวงเหมือนดั่งอากาศธาตุที่มีแต่ความว่างไม่มีความพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี ชอบ ไม่ชอบ รักหรือรังเกลียดต่อสิ่งใดๆทั้งสิ้น





บันทึกกรรมฐานวันที่ 21-2-58 # ๑
หลังจากได้ฟังธรรมเทสนาของ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน แล้วเราน้อมนำมาเจริญปฏิบัติ

ในวันนี้หลังจากที่กลับมาจากฟังเทศน์ของหลวงปู่ เราได้เพียรเจริญสมาธิ ทบทวนพิจารณาธรรมของหลวงปู่อยู่เนืองๆตั้งแต่กลับจากวัดในวันที่ 20/2/58 เวลาประมาณ 14.00 น. ก็เริ่มเกิดความปิติอิ่มเอมไม่ฟุ้งซ่าน มีปัสสัทธิความสงบร่มเย็นกายใจโล่งเบาเป็นสุขเต็มกำลังใจ นิ่ง ว่าง ไม่ครองกาย ไม่ครองอาการทั้ง ๓๒ ไม่ครองธาตุ ๖ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นเรา เป็นของเรา ไม่มีสิ่งใดที่จะบังคับให้เป็นไปดั่งใจได้ ไม่มีตัวตน ไม่เห็นความเที่ยงแท้ยั่งยืนในโลกียะสุข สุขในโลกียะประกอบด้วยทุกข์ สุขในโลกียะไม่มีในตนไม่เกิดเฉพาะตน-แต่เป็นสุขที่อาศัยสิ่งภายนอก เป็นความสุขความสำเร็จที่ฝากขึ้นไว้กับคนอื่นหรือสิ่งอื่นๆที่กำลังจะเสื่อมสูญสลายไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน หาความสุขใดๆไม่ได้เลยนอกจากทุกข์ นี่หนอสุขทางโลกียะคงเข้าได้กับคำสอนที่ว่า สุขบนทุกข์ ทุกข์เท่านั้นที่เกิด ทุกข์เท่านั้นที่ดับ

ได้หวนระลึกถึงคำสอนครูอุปัชฌาย์ทั้ง 2 ท่านคือ ธรรมปฏิบัติที่เราได้เจริญมาดีแล้วนี้ทั้งตามที่ที่หลวงพ่อเสถียร และ หลวงปู่บุญกู้ พระอรหันต์ทั้ง ๒ องค์ ที่เราได้ขอฝากตัวท่านเป็นศิษย์ขอท่านเป็นพระอุปัชฌาย์สอนกรรมฐานซึ่งท่านก็ยินดีรับไว้ด้วยดี แล้วเมื่อนำพระธรรมคำสอนท่านทั้ง 2 องค์มาเจริญปฏิบัติก็ยังผลให้เกิดคุณเป็นอันมาก เป็นคำสอนง่ายๆไม่มากมาย แค่เพียงเราเพียรปฏิบัติ แต่ไม่ยึดมั่นไม่ตั้งความใคร่ปารถนาในธรรมใดๆ ไม่ยึดมั่นใส่ใจไม่ให้ความสำคัญใน ฌาณ ญาณ เจริญด้วยเพียงให้จิตตั้งมั่นให้รู้เห็นตามจริงได้บ้าง โดยหวังเพียงให้ตนได้เห็นแลพะรู้ธรรมตามจริงตามที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นทางเพื่อออกจากทุกข์เท่านั้น คอยพิจารณาโดยอนุโลม ปฏิโลม เจริญศีลและทานให้บริสุทธิ์ มีอินทรีย์สังวร ตั้งมั่นในพละ ๕ เดินบนทางแห่งมรรค ๘ นี่แหละเป็นฐานให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ แล้วสิ่งใดที่ควรในธรรมทั้งปวงมันก็จะมาเอง เห็นเอง ถึงเอง จะรู้และเข้าถึงได้ไม่มากก็น้อยตามแต่บารมีที่สะสมมา

ธรรมปฏิบัติที่สลายรูปขันธ์

๑. ศีล + ทาน
๒. พุทธานุสสติ + อานาปานสติ (ให้เจริญตั้งไว้เป็นเบื้องหน้าเป็นฐานที่ตั้งแห่งสติและสมาธิให้ถึงจิตตั้งมั่นควรแก่งาน)
๓. ทวัตติงสาการ (ให้เห็นกายในกายตนจนคลายอุปาทานลงมาบ้าง)
๔. ธาตุ ๖ (เห็นร่างกายอวัยวะน้อยใหญ่ในอาการทั้ง ๓๒ นี้สงเคราะห์ลงเป็นธาตุ ๕ แต่อาศัยวิญญาณธาตุที่เข้าไปยึดครอง)
๕. มรณะสติ (พึงเห็นว่าตนจักตาย พึงคิดว่าตนเป็นคนตาย พึงเห็นว่าเราจะต้องทิ้งกายนี้ไป หากจะตายก็ควรเร่งเพียรให้รู้ธรรม)
๖. อสุภะกรรมฐาน (เมื่อตายแล้วศพเราก็ไม่มีใจครอง ธาตุ ๖ ก็ไม่มีความรู้สึก เมื่อยังชีพอยู่ก็ค่อยๆเสื่อมไป เมื่อตายก็ยิ่งเน่าสลายไปในที่สุด เจริญเห็นอวัยวะตนเน่าเปื่อยย่อยสลายไปจนเป็นธาตุ แล้วก็สลายธาตุดับไปให้หมด)
๗. เห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจสัญญา อนัตตาสัญญา ทุกข์

การดับสลายธาตุ โดยสมเด็จพระญาณสังวร

เครื่องกำจัดวิจิกิจฉา

ท่านแสดงว่าธาตุกรรมฐานนี้เป็นเครื่องกำจัดนิวรณ์ข้อวิจิกิจฉา คือความเคลือบแคลงสงสัย

อันวิจิกิจฉาคือความเคลือบแคลงสงสัยนั้น ย่อมมีมูลฐานตั้งอยู่บนตัวเรา ของเรา และเมื่อมีตัวเราก็ย่อมจะมีความเคลือบแคลงสงสัยในตัวเราของเรา ในอดีตบ้าง ในอนาคตบ้าง ในปัจจุบันบ้าง ฉะนั้น ตัวเราของเรานี้เอง จึงเป็นที่ตั้งแห่งความเคลือบแคลงสงสัยทั้งหลายเป็นส่วนมาก หรือเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นนิวรณ์ และตัวเราของเรานี้ก็ตั้งขึ้นที่กายนี้นั้นเอง กล่าวคือยึดถือกายนี้ และโดยเฉพาะก็คือเป็นตัวเราของเรา

ฉะนั้นเมื่อมาพิจารณาแยกธาตุออกไปเสียว่าโดยที่แท้แล้ว ความที่สำคัญหมายยึดถือว่าเป็นก้อนเป็นแท่ง จนถึงเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราของเรานั้นหาได้มีไม่ มีสักแต่ว่าธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และธาตุอากาศ ทั้ง ๕ นี้เท่านั้น

และเมื่อธาตุทั้ง๕ นี้ประกอบกันอยู่ ชีวิตก็ย่อมตั้งอยู่และเมื่อชีวิตตั้งอยู่จึงหายใจเข้าหายใจออกได้ เดินยืนนั่งนอนได้ และก้าวไปข้างหน้า ถอยไปข้างหลังเป็นต้นได้  อาการทั้งหลายในร่างกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นต้น ต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนๆ และยังดำรงอยู่

แต่เมื่อธาตุที่ประกอบกันเข้าเป็นกายอันนี้แตกสลาย ดังที่ปรากฏ ดับลม ลมหายใจเข้าออกนั้น หายใจเข้าแล้วไม่ออก หายใจออกแล้วไม่เข้า ขาดสันตติคือความสืบต่อ ดับลม เมื่อความดับลมปรากฏขึ้น ธาตุไฟก็ดับ เมื่อธาตุไฟดับ ธาตุน้ำธาตุดินก็เริ่มเน่าเปื่อยเหือดแห้งเสื่อมสลายไป เพราะฉะนั้นความสิ้นชีวิตก็ปรากฏ และเมื่อความสิ้นชีวิตปรากฏ ร่างกายนี้ที่เป็นร่างกายที่มีชีวิตก็กลายเป็นศพ

ป่าช้า ๙

และศพนั้นเมื่อเป็นศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าดังในสมัยโบราณ เมื่อพิจารณาดู หรือเมื่อนึกดูถึงสภาพของศพ ก็ย่อมจะปรากฏว่า เมื่อเป็นศพที่ตายวันหนึ่ง สองวัน สามวัน ก็ย่อมจะมีสีเขียวน่าเกลียด และจะมีสัตว์ต่างๆมาจิกมากัดกิน และเมื่อเป็นดั่งนี้ก็จะเป็นศพที่เป็นโครงร่างกระดูก มีเนื้อเหลือติดอยู่ มีเส้นเอ็นรึงรัด และเมื่อปล่อยทิ้งไปยิ่งไปกว่านี้ก็จะไม่มีเนื้อเหลือ แต่ยังเป็นโครงร่างกระดูกที่มีเส้นเอ็นรึงรัด และต่อจากนั้นเส้นเอ็นที่รึงรัดก็จะหมดไป เน่าเปื่อยไป โครงกระดูกที่ประกอบกันอยู่นั้นก็จะเริ่มกระจัดกระจาย กระดูกขาก็จะไปทางหนึ่ง กระดูกแขน กระดูกตัว กระดูกบั้นเอว กระดูกซี่โครง กระดูกบ่า กระดูกคอ ฟัน ศีรษะ ก็จะไปทางหนึ่ง จึงกลายเป็นกระดูกหรือเป็นอัฏฐิที่มีสีขาว และกระดูกนั้นเมื่อนานไปๆก็จะมารวมกันป่นเข้าเป็นกองๆ พ้นปีออกไป และเมื่อนานไปๆ นั้น ก็จะผุป่นละเอียดไปหมด ก็เป็นอันว่าร่างกายอันนี้ก่อนแต่มาประชุมกันเป็นชาติคือความเกิด ก็ไม่มี

และเมื่อธาตุทั้งหลายมาประชุมกันเข้า คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศคือช่องว่าง และวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ มาประกอบกันเข้า ความตั้งครรภ์ของมารดาก็ปรากฏขึ้น และก็เริ่มชาติคือความเกิด จนถึงเมื่อคลอดออกมาเป็นชาติ คือความเกิดที่ปรากฏ ดำรงชีวิตอยู่ก็โดยที่ธาตุทั้ง ๖ นี้ประกอบกันอยู่ และก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปในทางเจริญ คือเป็นวัยเด็กเล็ก เด็กโต เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นผู้ใหญ่ แล้วก็แปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อม ก็เป็นความแก่ที่ปรากฏ

จนถึงในที่สุดวิญญาณธาตุคือธาตุรู้ ก็จุติคือเคลื่อน เมื่อเป็นดั่งนี้บรรดาธาตุ ๕ ที่ไม่รู้นั้น ที่รวมกันอยู่ก็แตกสลาย ดังที่ปรากฏเป็นความดับลมเป็นต้น ดั่งที่กล่าวแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ร่างกายอันนี้ก็เริ่มแตกสลาย แล้วก็ไปจนเป็นกระดูก แล้วก็เป็นกระดูกผุป่นในที่สุดก็เป็นอันว่าก็ถึงภาวะที่เรียกว่าไม่มีเหมือนอย่างเดิม เดิมก็ไม่มี และเมื่อมีชาติคือความเกิด ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิขึ้นในครรภ์ของมารดา จนถึงสิ้นชีวิตในที่สุด แล้วในที่สุดเมื่อกระดูกผุเปื่อยไปหมดแล้วก็กลับไม่มีเหมือนอย่างเดิม

อนิจจะ ทุกขะ อนัตตา

เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ตรัสสอนให้พิจารณา ว่านี้คืออนิจจะคือความไม่เที่ยง ที่ปรากฏเป็นความเกิดเป็นความดับ จึงปรากฏเหมือนอย่างว่าเป็นสิ่งที่ขอยืมเขามาตั้งอยู่ชั่วกาล และปรากฏว่า เดิมก็ไม่มี แล้วก็มีขึ้น แล้วก็กลับไม่มีเหมือนอย่างเดิม ดั่งนี้เป็นอนิจจะคือความไม่เที่ยง และเพราะความไม่เที่ยงดั่งนี้จึงชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเหตุว่าถูกความไม่เที่ยงคือความเกิดดับนี้บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา จึงตั้งอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจากเกิดจนถึงดับ และเมื่อเป็นดั่งนี้จึงเป็นอนัตตา คือไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา เพราะบังคับให้เป็นไปตามความปรารถนามิได้

เมื่อบังคับให้เป็นไปตามปรารถนามิได้ เพราะเหตุว่าต้องเกิดต้องดับ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปดั่งนั้น จึงขัดแย้งต่อความเป็นอัตตาที่ยึดถือ และเพราะเหตุที่ตนบังคับให้เป็นไปตามความปรารถนามิได้ต้องเกิดดับ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นของที่ว่างเปล่าจากสาระแก่นสาร เป็นของที่ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเราของเรา ความเป็นตัวเราของเรานั้นเป็นความยึดถือไว้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นสัจจะคือความจริง ความจริงนั้นก็คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2015, 07:00:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #67 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2015, 09:31:46 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 21-2-58 # ๒
หลังจากได้ฟังธรรมเทสนาของ หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน แล้วเราน้อมนำมาเจริญปฏิบัติ

สามัญลักษณะของสังขารทั้งปวง

เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานแม้ในข้อกายานุปัสสนา พิจารณากาย ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นี้ เมื่อตรัสสอนให้กำหนดพิจารณาดูลักษณะของกาย กำหนดลักษณะ หรือเรียกว่ากำหนดรูปธรรมก็ได้ กำหนดรูปลักษณะของลมหายใจเข้าออก ของอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถน้อย ของอาการ ๓๑ หรือ ๓๒ ของธาตุ ตลอดจนถึงของศพ ตั้งแต่เริ่มตาย จนถึงเสื่อมสลายไปหมดในที่สุด เป็นการตรัสสอนให้กำหนดรูปลักษณะ

เมื่อตรัสสอนให้กำหนดรูปลักษณะ ดั่งนี้ ย่อมจะทำให้มองเห็นสัจจะคือความจริง ซึ่งเป็นสามัญลักษณะ คือเป็นลักษณะที่ทั่วไปของสังขารทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ทุกขลักษณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์  อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตามิใช่ตัวตน ทำให้ อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์  และ อนัตตตา ความเป็นอนัตตา ปรากฏขึ้น ดั่งนี้จึงเป็นตัวปัญญาวิปัสสนา ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง ในอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ ในอนิจจตา ทุกขตา อนัตตา

เมื่อเป็นดั่งนี้ จึงเป็นไปเพื่อวิปัสสนาปัญญา อันตั้งขึ้นจากสมาธิที่กำหนดรูปลักษณะของกาย สมาธิที่ตั้งกำหนดรูปลักษณะของกายตามที่ตรัสสอนนี้ จึงเป็นวิธีที่ให้ได้วิปัสสนาปัญญา

ในสามัญลักษณะ เป็นตัวปัญญาดังที่ตรัสเอาไว้ว่า ตามเห็นเกิด ตามเห็นดับเป็นธรรมดา ตามเห็นทั้งเกิด ตามเห็นทั้งดับเป็นธรรมดา ดั่งนี้

ฉะนั้นการปฏิบัติในสติปัฏฐานตั้งสติเบื้องต้น กำหนดรูปลักษณะของกาย ก็ทำให้ได้สมาธิ และทำให้ได้วิปัสสนาปัญญา อันเป็นตัวปัญญาที่ให้ได้วิมุติความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ แม้จะชั่วระยะหนึ่ง เร็วหรือช้า มากหรือน้อย ตามสมควรแก่กำลังปฏิบัติ


สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน

ท่าน ให้สลายธาตุน้ำก่อน สลายแล้วคอจะแห้ง ต่อมาให้สลายธาตุไฟ ธาตุไฟสลายแล้ว จะรู้สึกหนาว ต่อมาจึงสลายธาตุดิน สลายธาตุดินแล้ว กายจะเบา ต่อมาสลายวิญญาณธาตุ สลายแล้ว จะดับความยึดมั่น ไม่มีร่างกาย ว่างแคว้งคว้าง
ธาตุลม ท่านห้ามสลาย จิตจะอยู่ที่ถุงลม ถ้าสลายธาตุลมต้องมีจิตกล้าแข็ง และกลับมาได้ เพราะสังขารกายเนื้อยังค้างคาอยู่

หลวงปู่สอน จิต กับอารมณ์อย่าแยกกัน จิตไม่ไปพร้อมกับอารมณ์ กิเลสแซก จิตไปพร้อม กับอารมณ์ กิเลสไม่แซก เรียกว่ามีสติ ประโยชน์ ใช้คุมตัวเอง ดูแลตัวเอง



ส่วนตัวเราสลายมันทุกธาตุจนเห็นกายดับสูญ บ้างก็ลมก่อนก็ให้เห็นอากาศธาตุนี้แคบลงจากนั้นดินและน้ำก็แคบลง บ้างก็น้ำก่อนก็เห็นดินนี้เหี่ยวแห่งผุพังสลายไป





วันที่ 25/2/58 ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ เวลา 07.25 น. โดยประมาณ

เราได้รับพระเกศาธาตุและพระร็อคเก็ต จาก หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน พร้อมได้ให้หลวงปู่อธิษฐานจิตพระผงรูปเหมือนหลวงปู่ซึ่งอีกด้ายเป็นพระอุปคุตเถระ และ เหรียญครูอุปัชฌาย์องค์แรกของเรา คือ หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ (พระครูโกศลสมณะกิจ) วัดป่าโกศลประชานิระมิต อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น

โดย..เราได้บอกกับหลวงปู่ว่า "ด้วยพระผงองค์ที่นำมาให้หลวงปู่ให้อธิษฐานจิตให้ ทำให้ผมออกตามหาหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ใช้เวลาอยู่พอควร ถ้าจำไม่ผิดก็ตั้งแต่ประมาณช่วงกรกฏาคม-สิงหาคม ปี 57 จนได้มาเจอหลวงปู่เมื่อประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม ปี 57 และ มาขอกรรมฐานจากหลวงปู่ประจำจนมีโอกาสที่หลวงปู่รับผมเป็นลูกศิษย์เมื่อวันที่ 12/2/58 ที่ผ่านมานี้เองครับ"
(ซึ่งในพระผงเขียนว่าวัดอโสการาม สมุทรปราการ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ. ทำให้เราคิดว่าหลวงปู่อยู่ที่ จ.สมุทรปราการ จึงได้ตัดใจไป จนได้ดูทางอินเตอร์เน็ตจึงรู้ว่าหลวงปู่ได้จำวัดอยู่ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. จึงได้ออกตามท่าน ซึ่งเมื่อเดือนแรกก็ไม่เคยเจอท่าน เนื่องจากท่านจะได้รับนิมนต์ประจำและฉันข้าวมื้อเดียว แต่พระในวัดก็บอกว่าหลวงปู่ยังดำรงขันธ์อยู่ อยู่ที่ กุฏิ ๘ จึงได้มาหาท่านจนเจอ)

หลวงปู่ได้กล่าวตอบกับเราว่า "ดีๆๆ ดีแล้ว ดีๆ ดีมากๆ ดีแล้ว พร้อมพยักหน้ายิ่ม" จากนั้นหลวงปู่ก็นำดอกไม้ที่ญาตโยมนำมาถวายใส่บาตและนำกล่องใส่ผอบและพระเครื่องเราขึ้นไปบนกุฏิด้วย จากนั้นอีกประมาณ 1 ชม. เมื่อหลวงปู่ก็ลงมาจากกุฏิ ญาติโยมก็มาถวายภัตราหารเช้าแก่หลวงปู่เมื่อเขาถวายเสร็จหลวงปู่ก็เรียกเราเข้าไปเอากล้อง ในกล่องมีทั้งพระเกศาธาตุ พระผง และหลวงปู่ได้มอบล็อคเก็ตรูปหลวงปู่เลี่ยมทองให้แก่เรา เราเป็นปลื้มตื้นตันมาก ความฟุ้งไรๆไม่มี มีแต่จิตยินดีที่โลดแล่น จนเข้าใจถึงลิงที่ถวายรังผึ้งให้แก่พระพุทธเจ้าแล้วเกิดปิติยินดีกระโดดโลดแล่นแล้วก็ตายในที่สุดแล้วก็ไปจุติบนสวรรค์ นี่มันเป็นอย่างนี้เลยอารมณ์นี้ ซึ่ง

ครั้งที่ ๑ ที่เป็นแบบนี้คือ เมื่อได้พระบรมสารีริกธาตุ จากพระอาจารย์สามารถที่วัดอนงค์คาราม ตอนไปทำบุญให้ อาก๋ง-อาม่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2557 ครั้งนั้นเมื่อนั่งสมาธิก็เห็นพระพุทธเจ้ามาตรัสสอนกรรมฐานทั้ง ๔๐ เมื่อนอนหลับก็ฝันเห็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์มาสอนกรรมฐานอยู่ 3 วัน 3 คืน จนเราได้อธิษฐานต่อรูปพระตถาคตที่เขาถ่านติดที่ใต้ต้นโพธิ์ว่า พระตถาคต ขอโปรดพอก่อนๆ ผมตามไม่ทันแล้ว จากนั้นก็ไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์อีกเลย จนต่อเมื่อเราเกิดความหลงตนจึงได้เห็นหลวงปู่ฤๅษีลิงดำ มาสั่งสอนและทลายความลูบคลำทิฐิตน จนละมานะทิฐินั้นได้
ครั้งที่ ๒ ที่เป็นแบบนี้คือ เมื่อได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากครูบาแก๊บ และ เกศาธาตุของหลวงพ่อเสถียร
ครั้งที่ ๓ ที่เป็นแบบนี้คือ เมื่อได้ฟังธรรมที่ทางพ้นทุกข์โดยแยบคายจาก หลวงพ่อเสถียร  
ครั้งที่ ๔ ที่เป็นแบบนี้คือ เมื่อหลวงปู่บุญกู้ อธิษฐานจิตและลงยันต์พระท่านพ่อลี ธัมมะธะโร ให้เรา และ มอบพระเครื่องบูชาและหนังสือธรรมมะแก่เราเรื่อยๆ
ครั้งที่ ๕ ที่เป็นแบบนี้คือ เมื่อหลวงปู่บุญกู้ รับเราเป็นลูกศิษย์
ครั้งที่ ๖ ที่เป็นแบบนี้คือ เมื่อหลวงปู่บุญกู้ มอบเกศาธาตุ และ ร็อคเก๊ตเลี่ยมทองรูปหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน และ อธิษฐานจิตพระผงรูปเหมือนท่านให้แก่เรา

นี่ขนาดพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ายังอานิสงส์มากขนาดนี้ ถ้าเป็นพระพุทธเจ้ามอบให้โดยตรงทั้งธรรมและเกศาธาตุนั้นจะยังความสุขปานใด ดังนั้นนี่บ่งบอกให้เห็นเลยว่า เราควรมีพละ ๕ เป็นอันมาก โดยตั้งที่ศรัทธาให้เป็นกำลังก่อนเลย ศรัทธามีลักษณะตามไป น้อมไป ดังนี้.. ดั่งพระนาคเสนกล่าวสอนแก่พระเจ้ามิลินฉันนั้น

และ วันนี้ก็ได้เจอพระอาจารย์บุญเลิศ ผู้ที่ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายธรรมยุต ที่ออสเตเรีย และ ได้ทนฟันฟ่าโดยตัวท่างเองเพียงองค์เดียว จนสามารถสร้างวัดและออกบิณฑบาตที่ออสเตเรียได้ (ออสเตเรียมีกฏหมายห้ามบิณฑบาต และ พระห้ามดูแลวัดเอง ให้แต่โยมเท่านั้นดูแลให้ แต่ท่านก็มีสัจจะและใจเด็ดเดี่ยวได้เผยแพร่พระธรรมจนสามารถสร้างวัดโดยตัวท่านเองและบิณฑบาตได้ที่ออสเตเรีย)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2015, 06:55:11 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #68 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2015, 09:56:08 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทุกกรรมฐาน วันที่ 27/2/58


คืนวันนี้เวลา 22.00 น. - 22.30 น. ได้โทรสนทนาธรรมกับหลวงน้า พระอาจารย์มหาแก้ว ปธ.๙ ท่านเป็นน้องของแม่เรา ท่านบวชตั้งแต่เมื่อยังเด็กยังหนุ่มจนถึงปัจจุบันนี้และเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัเในหนองคาย ซึ่งท่านเป็นพระที่เผยแพร่พระกรรมฐานทั้งสมถะและวิปัสนา เท่าที่พอจะตรึกนึกถึงได้ประกอบกับสัญญาความตรึกนึกคิดอนุมานเอารวมความเป็นบันทึกออกมา ท่านได้กล่าวธรรมสอนว่า

การปฏิบัตินี้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ก็มีการปฏิบัติ ดังนี้คือ

๑. เน้นสมถะก่อน แล้วค่อยไปวิปัสสนา เพราะจะทำให้เห็นชัดตามจริง การเน้นสมถะก่อนนี้หากยังมีโมหะอยู่มาก ไม่มีครูบาอาจารย์สอนก็หลงได้ เพราะจะเกิดให้เห็นนิมิตเกิดดับมากมายหลายอย่างถ้าหลงว่าจริงโดยไม่รู้ว่ามันมีทั้งจริงและไม่จริงเอาแน่นอนไม่ได้ เมื่อเห็นก็ให้สงเคราะห์ลงในธรรมเพื่อละกิเลส ถ้าไม่รู้ตรงนี้ก็หลงไปเป็นอุปาทานแน่นอน
๒. เน้นทั้งสมถะและวิปัสนา แต่ก็เข้าไปเล่นในส่วนนั้นส่วนนี้ก่อนเพื่อให้รู้แจ้งจนหน่ายจนคลาย แล้วจึงออกมาถึงความหลุดพ้น
๓. เน้นวิปัสสนา ก็ไม่ยึดสมาธิ แต่ก็ต้องใช้ขณิกสมาธิละเอียดหน่อยประกอบกับความตรึกนึกคิดดูสภาวะธรรมแล้วเกิดปัญญาดับละทุกข์ได้ทันก่อน ก็เบาสบายก่อน แต่สมาธิจะมีน้อย
- คนเราเมื่อจะปฏิบัติมีอยู่โดยรวม ๓ แบบดังนี้ ใครจะเข้าทางไหนก็ไม่ผิด แต่ผลที่ได้ก็จะต่างกันออกไป แต่เมื่อหลุดพ้นแล้วท่านก็ไม่ยึดติดเอาสิ่งใดอีกแล้ว


- กาม คือ ความใคร่ปารถนาในอารมณ์ไรๆ ไม่ใช่การเสพย์เมถุน ซึ่งหลายๆคนตีความรวมกันผิดไปหมด เสพย์เมถุนมีเพศสัมพันธ์มันเป็นเรื่องของโผฐฐัพพะ เป็นความรู้ทางกายไม่ใช่กาม แต่เมื่อติดใจจากความรู้สึกทางกายที่ได้กระทบสัมผัสนั้น มีความใคร่ปารถนาที่จะได้เสพย์อารมณ์ความรู้สึกในการกระทบสัมผัสทางกายแบบนั้น ความรู้สึกอย่างนี้เป็นกามฉันทะ กามราคะ กามตัณหา

ก. อารมณ์พระนิพพานผู้ที่หลุดพ้นตามจริง คือ เมื่อเข้าไปรู้เห็นแล้วมันตัดเลยมันไม่มีอะไรอีก เมื่อถอยออกมาอารมณ์ที่ตัดนั้นก็คงอยู่ ไม่ดับไป สภาวะธรรมที่เข้าถึงนั้นก็ไม่เลือนมีอยู่ตลอดทุกขณะจิต เพราะมันไม่มีสิ่งได้อีกแล้ว
ข. อารมณ์ที่เป็นโลกียะเมื่อเข้าไปเห็นเกิดหน่ายจิตจักพึงละ แต่พอออกมาก็ยังคงอุปาทานอยู่ ยังละะกายใจตนไม่ได้ ยังมีภายในภายนอกให้จิตยังเสพย์อยู่ คือ ตานี้เป็นภายใน รูปเป็นภายนอก ธัมมารมณ์ มีความพอใจและความไม่พอใจเป็นต้น ผัสสะมาให้จิตยังเสพย์อยู่
ค. ถ้าฐานไม่ดี สมาธิหรือปัญญาก็จะเข้าไม่ถึง ฐานที่ว่านี้คือ ศีล ถ้าศีลไม่บริบูรณ์ก็ไม่ถึงธรรมของพระพุทธเจ้า


พุทโธ นี้เป็นพุทธานุสสติ พุทโธนี้มีหลายระดับ ซึ่งถ้าจะปริยัติอย่างเดียวย่อมไม่รู้ ผู้ที่เข้าถึงพุทธานุสสตินี้มีดังนี้

ระดับที่ ๑ คือ คำบริกรรม ไม่ว่าจะกล่าวพูดเพ่งเสียงออกมา หรือ พูดในใจว่า พุทโธ นี่เป็นคำบริกรรม ดับความคิดฟุ้งซ่านได้ สติจะอยู่กับลม ลมอยู่ที่ไหนสติอยู่ที่นั่นไม่ว่ามันจะแล่นไปจมูก หน้าผาก คอ หน้าออก ท้องน้อย แขน ขา ลมมีอยู่ที่ไหนสติก็อยู่ที่นั่น
ระดับที่ ๒ คือ ความรู้เห็นตามจริง(ยถาภูญาณทัสสนะ) เมื่อเข้าไปอยู่ในสมาธิก็เกิดความรู้เห็นในสภาวะธรรมตามจริง รู้ด้วยปัญญาไม่ใช่ตรึกแนึกคิดอนุมานคาดคะเนเอา เกิดเป็นมรรคญาณ นี่คือ พุทโธ
ระดับที่ ๓ คือ ความหลุดพ้น เมื่อเกิดเกิดมรรคญาณ ย่อมนำไปสู่โพชฌงค์ที่บริบูรณ์ เปิดเป็น ปัญญาณาณ ตัดดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ถึงความเบิกบาน อันพ้นจากกิเลสแล้ว เป็นวิมุตติความหลุดพ้น

พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้คื่น ผู้เบิกบาน
รู้ คือ บัญญัติ คือ ได้รู้เห็นอริยะสัจ วิเคราะห์ทางออกจากทุกข์ด้วยปัญญาแล้ว
ตื่น คือ ปฏิบัติ คือ ปฏิบัติตามแนวทางนั้นๆเพื่อออกจากทุกข์
เบิกบาน คือ ปฏิเวธ คือ ผลอันเกิดการการเรียนรู้วิเคราะห์และปฏิบัติตามธรรมเพื่อออกจากทุกข์นั้นๆ


ในวันนี้ตอนเช้าได้ไปหาหลวงน้าที่วัดมกุฏกษัติยาราม แต่ไม่เจอ เลยกลับมาหาพี่ๆทีมงานที่กรมสรรพสามิตราชวัตร ก็ได้พบเจอพี่กบหัวหน้าเก่าเราซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์พระป่าสายหลวงปู่มั่นแนวท่านพ่อลี ธัมมะธโร เหมือนกับเรา และ พี่ๆที่เป็นจนท.กรมสรรพสามิตคนอื่นๆ ท่านเล่าว่ามีพี่คนหนึ่งท่านจะเป้นผู้เลอะเลือนสติสตังไม่ดีเอ๋อทำงานไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ทางโลกไม่ได้แต่เป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตนี้แหละ พอท่านหันมาเจริญในศีล สมาธิ และ สติปัฏฐาน ก็นานมาหลายปี อานิสงส์แห่งการกรรมฐานนั้นทำให้ท่านผู้นี้หายสติฟั่นเฟือนไป ซึ่งเราเองก็รู้จักสนิทกับท่านคนนี้อยู่ก็พอไปเห็นท่านอีกครั้งถึงกับอึ้งจนพูดไม่ออก นี่อานิสงส์ของ ศีล(ทำให้กายใจบริสุทธิ์ไม่เร่าร้อน) สมาธิ(ทำให้สงบเอื้อต่อสติให้ถึงมหาสติ) สติปัฏฐาน ๔(รู้ทันกายเวทนา จิต ธรรม) มีมากขนาดนี้เลย อานิสงส์นี้เราเห็นผลตามจริง
จากนั้นพี่กบก็ได้สอนธรรมเรื่อง ศีล ทาน ภาวนา แก่เรา ยังความอิ่มเอมให้มีขึ้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2015, 02:56:34 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #69 เมื่อ: มีนาคม 04, 2015, 09:52:41 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ภาพพระเถระศิษย์หลวงปู่มั่น และหลานศิษย์ ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ และ ครูบาอาจารย์ที่เราให้ความเคารพนับถือและได้มีโอกาสไปขอคำชี้แนะจากท่าน ที่เมื่อเราระลึกถึงคุณแห่งพระสงฆ์ เป็นสังฆานุสสติ ระลึกเอาคุณปฏิปทาจริยะวัตรการปฏิบัติของท่าน ซึ่งเป็นผู้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรงแล้ว ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นคู่แห่งบุรุษสี่คู่ แล้วระลึกถึงพระธรรมคำสอนที่ท่านคอยบอกกล่าวชี้แนะเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ แล้วทำให้เราถึงความสงบรำงับจากกิเลสถึงปัสสัทธิ เป็นสุขผ่องใสเบิกบาน ถึงความมีจิตตั้งมั่นได้ ทั้งที่ท่านนิพพานดับขันธ์ไปแล้วและที่ยังดำรงขันธ์อยู่ ที่เรามีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ท่าน ซึ่งพระธรรมคำสอนท่านนี้หาค่าประมาณมิได้






หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ (พระครูโกศลสมณะกิจ) ท่านเป็นพระอรหันต์ที่ได้นิพพานไปแล้ว
วัดป่าโกศลประชานิรมิต หรือ วัดป่าคุ้มจัดสรรค์ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น.

ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ได้เดินทางในกองทัพธรรมมาถึง อ.บ้านไผ่ จึงได้มีคนขออาราธนาหลวงปู่มั่นเป็นเจ้าอาวาส ท่านหลวงปู่มั่นได้ให้หลวงปู่นิลอยู่เป็นเจ้าอาวาสที่วัดป่าสุมนามัย หลวงปู่นิลท่านได้บวชให้ผมทั้งที่บวชเณร และ บวชพระ ท่านได้ให้ฉายาผมว่า จารุวังโส เป็นครูบาอาจารย์ท่านแรกที่ผมได้เรียนรู้พระธรรมด้วย นอกจากเตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา บิดาของผม และ เตี่ยของผมก็ได้ไปสนทนาธรรมและขอกรรมฐานท่านเป็นประจำ หลวงปู่นิล นี้สมัยผมบวชถ้าใครไม่ไปทำวัตรหรือทำผิดศีล เขาเล่ากันว่าท่านนี้จับไปนอนใต้เมรุเผาศพเลย หรือ บางคนก็โดนท่านถอดจิตไปเคาะกุฏิเรียกทั้งๆที่ ตัวท่านนี้นั่งทำวัดอยู่ในศาสลาทำวัตร




หลวงปู่อินตอง สุภาจาโร
วัดป่าวีระธรรม ต.ไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร

ท่านเป็นญาติ ทางแม่ผมซึ่งท่านเคร่งมากๆ พระและเณรที่ไม่ปฏิบัตินี้จะอยู่วัดไม่ได้เป็นอันขาด ท่านมีอภิญญาที่ดีพร้อมเป็นที่พึ่งของชาวบ้านใน อ.ฟังโคน เป็นอันมาก ท่านจะชอบเรียกผมว่าบักขี้ดืั้อ เพราะท่านเห็นผมตั้งแต่ยังเด็กไม่กี่ขวบ ท่านจะพากรรมฐานถือธุดงควัตร ฉันมื้อเดียว และ อื่นๆ ท่านที่เคารพท่านก็ไปกราบไหว้เรียนกรรมฐานท่านที่วัดป่าวีระธรรมได้ครับ แต่ท่านจะไม่ค่อยว่างสักเท่าไหร่เนื่องจากมีกิจนิมนต์มากจนแทบไม่ได้พักเลยครับ




พระครูสุจินต์ธรรมวิมล (พระอาจารย์สมจิต รตินฺธโร)
วัดป่าอาสภาวาส ต.หินตั้ง  อ.บ้านไผ่  ขอนแก่น

ท่านเป็นลูกศิษย์ใน พระพุฒาจารย์อาส ท่านถือธุดงควัตร ฉันมื้อเดียวตอน 9.00 น. วัดห่างไกลหมู่บ้าน หมู่บ้านที่ใกล้สุดก็ 5 กม. โดยประมาณ ท่านเป็นผู้สอนกรรมฐานทั้ง ยืน เดิน นั่ง นอน ให้แก่ผม เป็นครูอุปัชฌาย์ที่บวชหลังจากที่ได้บวชกับหลวงปู่นิล มหันตปัญโญ และ ให้กรรมฐานแก่ผม ทั้งตามในสายหลวงปู่มั่นบ้าง ซึ่งท่านจะบอกว่าลูกพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันคำสอนครูบาอาจารย์สายไหนก็ดีหมดถ้าสอนเพื่อถึงความหลุดพ้น ทั้งพุทโธในสายพระพุฒาจารย์อาส และ กรรมฐานในอิริยาบถทั้งหลาย ท่านจะสอนให้มีสติให้มาก ท่านเปิดสอนกรรมฐานอยู่ครับ ถ้าอยากเรียนก็เชิญไปได้ครับ




พระอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน (พระครูพุทธิสารสุนทร)
วัดพระศรีมหาธาตุ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

(ศิษย์โดยตรงของท่านพ่อลี ธัมมะธโร และได้ไปเรียนกรรมฐานกับทางหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่ฝั้น เป็นสายลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) ท่านจะสอนและเน้นใน ศีล ทาน ภาวนา เป็นอันมาก ซึ่งธรรมที่ท่านสอนที่ผมได้เรียนรู้จากท่านมีทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด แต่ผมยังไม่ถึงขั้นสุดเพราะยังไปไม่ถึงจะถามท่านไปแต่ผมก็คงจะไม่สามารถปฏิบัติได้ ท่านเ)็นครูอุปัชฌาย์ของผมองค์ปัจจุบันนี้ จึงยังทำไปตามลำดับอยู่ เชิญไปเรียนกรรมฐานสวดทิพย์มนต์ และ นั่งสมาธิและฟังคำสอนท่านได้ที่วัดมหาธาตุ บางเขน ทุกวันศุกร์ครับ




พระอาจารย์มหาแก้ว (วัดอยู่ที่หนองคายแต่จำชื่อวัดไม่ได้)
ท่านเป็นศิษย์ทางสายหลวงปู่มั่น ท่านได้ปฏิบัติมาทางสายหลวงปู่เทส และ สมเด็จพระญาณสังวรพระสังฆราช ท่านเป็น มหา ปธ.๙ เผยแพร่พระธรรมคำสอนและกรรมฐานทั้ง สมถะและวิปัสสนา ไปทั่วทุกทิศมีลูกศิษย์มากมาย ท่านมีศักดิ์เป็นน้าผม เป็นน้องญาติทางแม่ผม ท่านจะสอนผมทั้งการทำสมาธิ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ การพิจารณาในวิปัสสนาญาณ




พระครูสัตยาภิวัฒน์ ( หลวงพ่อแหวน )
วัดป่าหนองนกกด อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

 ลูกศิษย์สาย พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระสายปฏิบัติธรรม นั่งกรรมฐาน เร้นกายอยู่ในราวไพรครั้งอดีต แต่เมื่อกาลผ่านไป อะไรก็ต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันยุคร่วมสมัย หลวงพ่อแหวน ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์สายพระวิปัสสนา และประกอบเมตตาเป็นที่ตั้ง หลวงปู่แหวนท่านเป็นญาติคราวเพื่อนกับแม่ผม ท่านสอนให้มีสติให้มาก อย่าทิ้งพุทโธเด็ดขาด ให้มีลมหายใจเป็นพุทโธ



ถึงเราจะมีครูบาอาจารย์ที่ได้เป็นพระอรหันต์และพระอริยะเจ้าทั้งหลาย แต่เราก็ยังเป็นแค่ปุถุชนอยู่ ยังไม่ถึงขั้นมนุษย์ด้วยซ้ำ เพราะคำว่ามนุษย์ คือ ผู้ทีสันดานในพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาบันมรรคขึ้นไป แต่เรายังปฏิบัติได้บ้างไม่ได้บ้าง กระทำผิดบ้าง ถูกบ้าง เพราะยังเป็นแค่ปุถุชน ไม่ควรถือตัวว่ามีครูบาอาจารย์ดีแล้วลุ่มหลงว่าตนรู้หรือมีดีกว่าคนอื่น เพราะความคิดนั้นล้วนเกิดแต่สมมติกิเลสที่จะทำให้เรานั้นหลงไป ส่วนครูบาอาจารย์ผมท่านได้ล่วงจากกองทุกข์เหล่านี้แล้ว เพราะเรายังเป็นแค่ปุถุชน หากเคารพนับถือท่านจริงก็ควรเพียรปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ธรรมเพื่ออกจากทุกข์ ธรรมที่เรารู้ไม่ได้มีไว้อวด แต่มีไว้เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง สัตว์ คน มนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 17, 2015, 12:06:46 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #70 เมื่อ: มีนาคม 08, 2015, 11:26:46 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 6/3/58 เวลาประมาณ 10.00 น. - 12.30 น.
แกะเทปบันทึก หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน เทศนาธรรมสอนเรื่องการอบรมจิต



http://mfi.re/watch/9u212y4n7fud257/บันทึกหลวงปู่สอนกรรมฐานวันที่_6-3-58.3gpp


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2015, 08:53:58 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #71 เมื่อ: มีนาคม 15, 2015, 05:02:24 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/3/58 เวลาประมาณ 10.00 น. - 12.30 น.
แกะเทปบันทึก หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน เทศนาธรรมสอนเรื่องการอบรมจิต



บันทึกหลวงปู่สอนกรรมฐานวันที่_13-3-58.wav
http://www.mediafire.com/listen/ht8n2pnd2lah84f/


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2015, 07:55:55 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #72 เมื่อ: มีนาคม 23, 2015, 08:56:09 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
บันทึกกรรมฐานวันที่ 22/3/58 เวลาโดยประมาณช่วง 7.30 น. - 9.45 น. ที่ศาลาลุงชิน ซอยแจ้งวัฒนะ 14

   วันนี้เราได้ติดตามหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ไปทำบุญ ซึ่งพี่เอ๋โยมอุปัฏฐากหลวงปู่ได้บอกแก่เราไว้ในวันเสาร์ 21/3/58 เนื่องจากไฟกวาดลานวัดแล้วเราถูกหมาวัดกัดแต่พอไปหาหมอฉีดยาเสร็จก็เดินกระเผกๆมากวาดลานวัดและกุฏิหลวงปู่ต่อ ตอนที่มาถึงศาลาลุงชินน้ำตาเราแทบจะหลั่งพลูไม่หยุด เพราะเบื้องหน้าที่ได้เห็นมีแต่พระอรหันต์นับสิบรูป เราก็คิดว่าคงไม่มีบุญได้ประเคนถวายภัตราหารอย่างใกล้ชิด ไม่มีโอกาสได้เข้าใกล้ครูบาอาจารย์เป็นแน่แท้ แต่ก็พอดีมีคนดึงแขนเราเข้าไปถวายภัตราหารหน้าหลวงปู่เลื่อน โอภาโส และ หลวงปู่เยื้อน ขันติพะโล ทำให้ได้มีโอกาสฟังธรรมและขอพรจากพระอรหันต์อีกหลายท่าน ซึ่งเราก็มีโอกาสให้ท่านทั้งหลายให้พรเป่าหัวแก่เรา




ละราคะวิตก

ก่อนและตอนเพิ่งมาถึงศาลาลุงชิรในแรกๆที่จะได้ถวายภัตราหาร เราได้เกิดปริวิตกโดยทำไว้ในใจโดยแยบคายในขั้นความคิดสมถะพิจารณาระลึกย้อนถึงเหตุและผลที่ทำให้เกิดและดับไปของราคะเพื่อเสาะหาแนวทางละราคะเมถึน และ อกุศลวิตกอันลามกจัญไรของเรา ก็ตรึกนึกคิดได้ดังนี้ว่า

๑. เลิกแสวงหา รู้จักหยุด รู้จักพอ รู้จักประมาณตน และ ละความปารถนายินดีไรๆในใจนั้นเสีย เขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
๒.ไม่เสพย์ความคิด ไม่เอาจิตยึดสมมติ สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้นแต่ไม่ร่วมเสพย์ ปลรอยให้มันเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เท่านั้น ตามสัจจะธรรมของสังขาร





ดับอกุศลวิตก

- กาลครั้งนั้นเราได้มีโอกาสเข้าไปขอกรรมฐานแนวทางละอกุศลวิตกจาก หลวงปู่เลื่อน โอภาโส ซึ่งท่านได้สอนว่า วิตกความคิดมันเกิดขึ้นตามธรรมชาติของมัน วิตกมันดับไม่ได้ ให้สักแต่รู้ว่ามันเกิดดับ แต่ไม่เข้าไปยุ่งหรือเสพย์กับมัน ความคิดมันเป็นนามก็ต้องดับต้องละด้วยนาม ใช้นามดับนาม เมื่อเกิดปัญญาผุดขึ้นก็จะรู้ทางและละได้เอง
คือ จิต เจตสิก ดับ จิต เจตสิก
(ถ้าจำไม่ผิดท่านจะสอนว่า ใช้รูปดับรูป ใช้นามดับนาม)




- โดยเราอนุมานตรึกนึกคิดคาดคะเนว่า เกิดปัญญาใช้นามดับนามจะทำยังไงหนอ เมื่อคิดทบทวนไปมานามดับนาม ก็เห็นว่า นามดับนาม คือ ใจดับใจ อกุศลวิตกดับด้วยกุศลวิตก ความคิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นละด้วยความคิดำไม่เบียดเบียนทำร้ายตนเองและผู้อื่น  คือ
มีจิตที่คิดน้อมไปในศีล
ความคิดพยาบาทดับด้วยเมตตา
ความไม่รู้จักพอละด้วยความรู้จักพอ
โลภละด้วยทานจิต
ความฟุ้งซ่านกายใจดับด้วยความสงบกายใจ
ความไม่รู้ดับด้วยความเห็นชอบ
ความหลงดับด้วยภาวนา (อบรมจิตใน สติ สัมปะชัญญะ สมาธิ ปัญญา)

(หากในรูปดับรูป ก็การกระทำละด้วยการไม่กระทำ รูปขันธ์งดงามน่าหลงไหลน่าใคร่น่าปารถนาก็ละด้วยรูปปฏิกูล หรือ รูปธาตุ ๖ เป็นต้น หากในทางมัชฺมาแบบลำดับก็มีใช้ธาตุสลายธาตุ ดังที่เคยโพสท์ไว้ในกระทู้นี้
http://www.thammaonline.com/15430.msg17960#msg17960)



- เมื่อหวนระลึกดูแล้วคืออันเดียวดันกับที่หลวงปู่บุญกู้สอนว่า
ละเบียดเบียนเป็นศีล
ละโลภเป็นทาน
ละหลงเป็นภาวนา





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2015, 12:59:13 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #73 เมื่อ: มีนาคม 26, 2015, 09:44:32 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


บันทึกกรรมฐานวันที่ 26/3/58 เวลาโดยประมาณประมาณ 8.35 น. - 8.45 น.
แกะเทปบันทึก หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน เทศนาธรรมสอนเรื่องการอบรมจิต

หลวงปู่เทสนาสอนว่า

ให้มีเมตตาต่อกันไว้ เวลาจะทำเมตตาให้เจริญไปโดย ความเอ็นดู ปรานี ปารถนาดี น้อมไปในการสละให้ ให้เอากุศลน้อมสละไปให้เขา โดยพึงระลึกเป็นเมตตาดังนี้ว่า

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ , อะเวรา สุขะชีวิโน
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด

กะตัง ปุญญะ ผะลัง มัยหัง , สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
ขอให้สัตว์หลาย จงเป็นได้เสวยผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเพียรด้วย กาย วาจา ใจ นี้แล้วนั้นเทอญ.


(จะเอาเฉพาะแต่ภาษาไทยหรือบาลีด้วยก็ได้)

ทำอย่างนี้เป็นการเอากุศลแผ่ไปสู่เขา เป็นการแผ่เอากุศลผลบุญที่เราทำมาดีแล้วนี้ไปสู่เขา พอเราเมตตาต่อเขา เราก็ไม่ทุกข์เขาก็เป็นสุข เป็นอภัยทาน ไม่ผูกเจ็บผูกแค้น ผู้เวร อาฆาต พยาบาทกัน ก็สุขทั้งเราและเขา





  โดยส่วนตัวแล้วผลที่ได้รู้ได้สัมผัสจากการปฏิบัติในแบบนี้ของเรา

   แม้เมื่อกล่าวสิ่งนี้ๆไป เมื่อเราระลึกถึงว่า ผลบุญที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญ เพียร ด้วยกาย วาจา ใจ นี้ เป็นการที่เราน้อมระลึกเอาผลบุญที่เราได้เจริญปฏิบัติมาดีแล้วใน ศีล ทาน พรหมวิหาร๔ ภาวนา(สมถะ+วิปัสนา) ซึ่งเป็นบุญกุศลใดๆ ครั้งใดๆ เวลาใดๆ อันเราได้ทำมาดีแล้ว บริบูรณ์แล้ว งดงามแล้ว ในขณะที่เราระลึกถึงผลบุญจากการกระทำเมตตานี้ให้เขาไปแล้ว จิตเราก็ย่อมเกิดกุศลอิ่มเอมเมื่อหวนระลึกถึง ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ ภาวนา ที่เราได้ปฏิบัติมาดีแล้วบริบูรณ์แล้วงดงามแล้วเหล่านั้น ยังให้เต็มกำลังใจในบารมีแห่งบุญกุศลที่ได้ทำมาดีแล้วนั้นเป็น "อนุสสติกรรมฐาน" แล้วจะเกิดพลังที่อัดเต็มแผ่ไปให้เขาโดยไม่มีประมาณ จะไปทิศใดๆก็ยังด้วยความเต็มกำลังใจอย่างนี้ๆไปสู่เขา

  ผลที่ได้รับคือ
๑. เขาก็ได้บุญกุศลเต็มที่โดยปราศจากความเศร้าหมองกายใจปะปนไปให้เขา
๒. เราก็มีความอิ่มเอมใจ-สงบ-สุขล้นเต็มกำลังใจ-จิตมีกำลังตั้งมั่น, เกิดศรัทธาพละ, เกิดฉันทะอิทธิบาท ๔, เกิดสังวรปธานในอิทธิบาท ๔ หรือ มีวิริยะพละ, เกิดจิตตะอิทธิบาท ๔ หรือ มีสติพละ, เกิดฉันทะสมาธิ หรือ มีสมาธิพละ, เกิดวิมังสะอิทธิบาท ๔ หรือ มีปัญญาพละ, เกิดเป็นบารมีสิบทัศน์,





  คนที่มีบุญบารมีมาเกิด กับคนที่ไม่มีบุญบารมีมาเกิด

   การที่คนเรานั้จะเกิดมานี้ก่อนจะมาจุติลงในกายนี้เราก็เป็นดวงจิต เป็นวิญญาณไม่ได้มีรูปร่างอย่างนี้ๆที่เป็นอยู่ ไม่ว่าใครก็เป็นอย่างนี้เสมอกัน แต่บุญและบาปที่ติดตามมานั้นอาจจะต่างกันตามแต่บุญกรรมที่ติดตัวมา บางคนเป็นเทวดา เป็นเทพเจ้า เป็นพรหมมาเกิด บางคนก็เป็นผี เป็นเปรต เป็นมารมาเกิด พอมาจุติอาศัยในร่างกายนี้คนมีบุญมากก็มีโอกาสมาก ได้มีโอกาสทำบุญเยอะ ได้ถวายข้าวปลาอาหารดีๆเป็นทานเยอะ ได้ทำอะไรดีๆเยอะกว่าคนที่มีบุญน้อย คนมีบุญน้อยก็จะมีโอกาสต่างๆน้อย มีโอกาสทำบุญน้อย ได้โอกาสทำอะไรน้อยกว่าคนที่มีบุญมาก แต่เราทุกคนเมื่อได้เกิดมาแล้วมีโอกาสได้ทำบุญทำใน ศีล ทาน ภาวนาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ให้ตั้งใจทำ เพียรเจริญปฏิบัติสะสมไป ก็จะส่งผลให้ได้รับในภายภาคหน้า พอจะตายไปจากกายนี้ ก็เหลือแค่ดวงจิต เป็นวิญญาณไม่มีรูปร่างเหมือนกันหมด เปลี่ยนแปรไปตามแต่บุญและกรรมที่ทำมาเป็นทายาทติดตามสืบต่อให้จิตเป็นไป ดังนั้นให้ตั้งใจเพียรเจริญปฏิบัติในศีล ทาน ภาวนาให้มาก เมื่อมันมีมากหรือเต็มมันก้จะแสดงผล

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2015, 12:28:15 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #74 เมื่อ: เมษายน 05, 2015, 10:18:42 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 4/4/58

ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ ไฟคือราคะ ความอยากทั้งปวงคือไฟ ไม่ว่าจะตอนอยากที่จะทำ อยากที่จะเสพย์ ทั้วหมดคือไฟ เมื่อได้ทำได้เสพย์ตามที่อยากนั้นแล้วก็คือไฟ ไฟที่เผาเราในภายหลังจากที่ได้สมใจอยากแล้ว ประดุจดั่งการคิด พูด ทำไรๆที่เป็นไปเพื่อความอยากย่อมเป็นไฟที่เผาไหม้เราเสมอ เมื่อได้กระทำทางกาย วาจา ใจตามความอยากนั้นแล้วไฟจากผมที่ได้กระทำนั้นก็จะตามเผาไหม้เราอีก ดังนั้นให้มีสติรู้ปัจจุบัน รู้ว่านี่คือไฟ รู้ว่าอย่างไรคือการกระทำที่ไม่ทำให้ไฟเผาตนเอง

ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ ความรู้และยึดเสพย์สมมติ ความอยาก ไม่อยาก ชอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ มันเป็นไฟ ความอยากไม่ใช่เรา ความไม่อยากไม่ใช่เรา ความชอบไม่ใช่เรา ความไม่ชอบไม่ใช่เรา ความพอใจไม่ใช่เรา ความไม่พอใจไม่ใช่เรา แต่มันเป็นไฟเป็นกิเลส ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา กิเลสต่างหากที่อยากที่ชอบ แต่มันอาศัยใจเป็นเครืองมือให้รู้ให้เสพย์ไปตามสมมติที่มันสร้างขึ้น แล้วก็หลงไปยึดตามความอยากไม่อยาก ชอบไม่ชอบนั้น เมื่อเอาจิตไปยึดถือแล้วก็จะถูกมัรเผาให้เร่าร้อนไหม้เกรียมไม่รู้จบ ไฟคือกิเลสดังนี้

อะนว่ากายเรานี้เป็นเพียวขันธ์ ๕ ที่หาความยั่งยืนไม่ได้อาศัยสุขจากไฟมาเผาไหม้ตน เมื่อยึดกายก็ดีหรือใจก็ดีหรือความปรุงแต่วไรๆก็ดีย่อมถูกไฟเผามันเป็นของร้อน ทั้งเมื่อรู้สมมติตามมัน ทั้งเมื่ออยาก ทั้งเมื่อเสพย์ ทั้งเมื่อได้เสพย์ได้ทำสมใจนั้นแล้ว ย่อมถูกไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะนี้เผาไหม้ เหมือนตอนที่เราคิดว่าทำงานที่นี่คงไม่เจริญอยากไปที่อื่นที่คิดว่าจะดีเช่นกลับไปบ้านที่ศูนย์ขอนแก่นแล้วออกตัวแรงไม่ขอเขาไปดีๆ กลัวเขาไม่ให้กลับย้าง กลัวคนอื่นแย่งตำแหน่งก่อนบ้าง จึงหลงไปตามคสามอยากไม่อยาก ชอบไม่ขอบตามที่กิเลสนั้นมันสมมติขึ้นมา แล้วก็เกิดการกระทำทางกาย วาจา ใจอันเป็นไปตามความอยากร้ายแรวไปตามความไม่มีสตินั้น ผมจากการทำนั้นก็เป็นทุกข์ ถูกไฟเผาไหม้เร่าร้อนจนกินไม่ได้นอนไม่หลับไปสองวันสองคืน นี้คือถูกไฟกิเลสเผา

กายเรานี้สักแต่เป็นเพียงธาตุ ๖ จะไปยึดเอาอะไรกับมัน มันไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเราเลย แล้วจะไปหลงเสพย์ตามมันสมมติมาหลอกเราทำไม ไม่ควรยึดอัตตานุปาทานในตน ให้พึงรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั้น เราไม่ใช่คนนั้นคนนี้ที่ดีเลศคู่ควรต่อสิ่งนั้นๆนี้ เราสักแค่อาศัยธาตุ๖นี้เพื่อให้ละไฟกิเลสได้ เราไม่ใช่สิ่งสำคัญ คนสำคัญต่อใคร ไม่ใช่คนมีบุญ ไม่ใช่คนมีบารมี ไม่ใช่คนที่มีโอกาสมากมาย สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา คนนี้ๆไม่ใช่เรา เราไม่มีอะไรทั้งสิ้น ทำความเข้าใจต่อธาตุ๖ ตั้งสติอยู่เบื้องหน้ารู้ลมหายใจเข้าออกคือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจริงในปัจจุบัน เมื่อกายนี้ยังต้องอาศัยลมหายใจเป็นกายสังขารให้ดำรงชีพอยู่เราจะไปยึดว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ สำคัญตนว่าดีว่าสูงไม่ไ่ด้ เพราะเราก็ยังอาศัยลมคือธาตุลมให้ดำรงชีพอยู่ได้แล้วจะไปเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เหนือคนอื่นได้อย่างไร เพรายังอาศัยลมหายใจเหมือ หมู หมา กา ไก่ วัว ควาย ขอทาน โสเภณี คนเก็ยขยะเก็บของเก่าขาย คนยากจน นี่ยังอาศัยกายสังขารให้ดำรงชีพอยู่เหมือนทั้งสัตว์เดรัจฉานและปุถุชนคนทั่วไปแล้วจะไปดีเลิศเกินกว่าเขาได้อย่างไร อย่าสำคัญตนผิด เพราะนั่นไม่ใช่เรา เราไม่ใช่นั้น นั่นไม่มีในเรา เราไม่มีในนั้นดังนี้

พึงเปลื้องจิตออกจากไฟคือโมหะ ไฟคือความหลงความยึดสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นให้จิตรู้จิตเสพย์นั้นเสียว่า เราสำคัญอย่างนี้ สูงอย่างนี้ เลิศอย่างนี้ นี่คือเรา เราคือนี่ หลงตนสำคัญตนว่าเบิศเลอดีกว่าใคีไปทั่วทั้งๆที่ตัวเรานั้นก็ยังอาศัยลมหายใจเหมือนสัตว์เดรัจฉานปุถุชนคนทั่วไป พึงบะไฟคือความพอใจ ไฟคือความอยาก ยินดีที่ตนเป็นนั่นเป็นนี่สำคัญอย่าวนั้นอย่างนี้เสีย ไฟจากโมหะ จากราคะนั้นก็จักเผาเราไม่ได้

ก็เมื่อเราเป็นแค่ธาตุ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ อาศัยวิญญาณธาตุที่เข้าไปยึดครองรูปธาตุทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยวิญญาณแค่ทำหน้าที่รู้เท่านั้นซึ่งวิญญาณก็ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราแปรเปลี่ยนไปเรื่อย ย รู้ไปทั่ว ยึดสมมติไปทั่ว บังคับก็ไม่ได้ สิ่งที่มันรู้ก็ไม่มีเราเลยมีแต่สมมติและความลุ่มหลงเท่านั้น แล้วจะไปเอาอะไรกับธาตุมันเล่า สิ่งไรๆที่มากระทบทั้งที่ชอบ ไม่ชอบใจ ยินดี ยินร้าย ก็ล้วนแต่เป็นสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นทั้งนั้น เมื่อธาตุ ๖ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในนั้น นั่นไม่มีในเรา ก็ไม่จำเป็นต้องไปหลงยึดตามสิ่งที่ใจรู้ ไฟคือโมหะก็จะเผาเราไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วใน "อาทิตตปริยายสูตร" ว่า ขันธ์ ๕ คือของร้อน ไม่ใชเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ควรสำคัญว่า ขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเที่ยงแท้แน่นอน เมื่อไม่ยึดขันธ์ ๕ ไฟคือกิเลสย่อมเผาเราไม่ได้ ดังนี้




เมื่อ ธาตุ ๖ ไม่ใช่เรา กายนี้ไม่ใช่เรา เราจะไปยึดมั่นเอาไว้เพื่อสิ่งไรๆ มันย่อมหาประโยชน์ไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์ เมื่อมันเป้นทุกข์ ก็ไม่ควรจะไปยื้อเอาสิ่งใดกับมัน ยึดไปก็หาประโยชน์สุขจีรังยั่งยืนไม่ได้ มันไม่ใช่ของเที่ยงแม้แน่นอนยั่งยืนนาน ดังนั้นเมื่อธาตุ ๖ ไม่ใช่เราเราก็ต้องใช้มันเพียงทำกิจการงานนั้นๆ ยืมมันมาใช้ทำกิจการงานชอบชั่วคราวแล้วก็สละคืนทิ้งไป

๑. ไม่มีเราในธาตุลม ลมธาตุไม่มีในเรา เราไม่ใช่ธาตุลม ลมธาตุไม่ใช่เรา
๒. ไม่มีเราในธาตุไฟ ไฟธาตุไม่มีในเรา เราไม่ใช่ธาตุไฟ ไฟธาตุไม่ใช่เรา
๓. ไม่มีเราในธาตุน้ำ น้ำธาตุไม่มีในเรา เราไม่ใช่ธาตุน้ำ น้ำธาตุไม่ใช่เรา
๔. ไม่มีเราในธาตุดิน ธาตุดินไม่มีในเรา เราไม่ใช่ธาตุดิน ธาตุดินไม่ใช่เรา
๕. ไม่มีเราในธาตุอากาศ อากาศธาตุไม่มีในเรา เราไม่ใช่ธาตุอากาศ อากาศธาตุไม่ใช่เรา
๖. ไม่มีเราในธาตุวิญญาณ วิญญาณธาตุไม่มีในเรา เราไม่ใช่ธาตุอากาศ อากาศธาตุไม่ใช่เรา

เมื่อธาตุ ๖ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่มัน มันไม่มีในเรา เราไม่มีในมัน เมื่อรู้ตามจริงดังนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องไปยึดเอาว่า เราเป็นนั่นเป็นนี่ สำคัญตัวว่าดีเลิศกว่าคนนั้นคนนี้ เราดีเก่งอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะมันไม่ใช่เรา เพราะความเข้าไปยึดเอาธาตุ ๖ มาเป็นอัตตานุทิฐิไรๆมันไม่ใช่สิ่งยั่งยืนมันเป็นไปเพื่อทุกข์ จะมีก็เพียงแค่บาปและบุญเท่านั้นที่ติดตามเราไปแม้ธาตุ ๖ นี้ดับไปแล้ว เราจึงใช้เพียงธาตุ ๖ ไว้เพื่อทำกิจการงานอันเป็นไปเพื่อความชอบ
ทีนี้เมื่อเรารู้กระทบจากสิ่งภายนอกไม่ว่าจะเป็นคำพูด คำจา คำด่า คไชม คำสรรเสริญ นินทา การกระทำไรๆที่ทำให้ชอบและไม่ชอบใจก็ตาม สิ่งที่ภายนอกกระทำมากระทบสัมผัสนั้นเป็นเรารึ ผมรึที่เป็นเรา(ผมขาดร่วงก็ไม่เห็นเราจะขาดใจตาย) ขนรึที่เป็นเรา(ขนขาดร่วงก็ไม่เห็นเราจะขาดใจตาย) เล็บรึที่เป็นเรา(เล็บหักหรือถูกตัดก็ไม่เห็นเราจะขาดใจตาย) ฟันรึที่เป็นเรา(ฟันหักหรือถูกตัดก็ไม่เห็นเราจะขาดใจตาย) หนังรึที่เป็นเรา(หนังหลุดร่วงนิดหน่อยไม่เห็นเราจะขาดใจตาย) ก็ในเมื่อ อาการทั้ง ๓๒ ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในนั้น สิ่งใดที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่ผู้อื่นกล่าวและกระทำมากระทบสัมผัสให้รู้ก็ย่อมไม่ใช่เรา อาการทั้ง ๓๒ ก็เพียงธาตุ ๕ ที่เป็นไปในกายนี้ อาศัยใจยึดครองทำให้รู้ แต่มันก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป้นนั่น นั่นไม่เป้นเรา ไม่มีเราในนั้น นั่นไม่มีในเรา แล้วจะไปยึดเอาสิ่งไรๆเอามาให้ทุหข์ว่านี่ๆนั่นๆสิ่งนี้สิ่งนั้นเป็นเราได้เล่า แม้เมื่อหมายยึดเอามันว่าเป็นเราแต่มันก็ไม่อยู่ยืนนานย่อมดับสลายไปในที่สุดหาสุขได้ก็ไม่ยั่งยืน สิ่งที่คอยติดตามเราไปตลอดคือ กุศลจิต กุศลกรรม กุศลธรรมทั้งปวงที่ กาย วาจา ใจ เราได้กระทำ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน
เมื่อรูปไม่ใช่เราแล้ว ว่าโดยขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเหล่านี้หรือที่เป็นเรา เราหรือที่เป็นมัน ก็ไม่ใช่เลย ไม่มีเราในมัน ไม่มีมันในเรา เราไม่ใช่มัน มันไม่ใช่เรา ดังนั้นแล้ว มันจะสุข จะทุกข์ เจตนาจะหวนระลึกความจำได้หมายรู้ในสิ่งไร จะปรุงแต่งตรึกนึกคิดเรื่องราวความรู้สึกไรๆ จะรู้สิ่งไรๆก็มิใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวเราในนั้น ในนั้นไม่มีตัวเรา ก้สักแต่เพียงรู้สภาวะธรรมอาการของจิตจริงๆที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความอนุมานไปเรื่อยๆเท่านั้นพอแต่ไม่ไปยื้อยึดยุ่งเสพย์กับมันเมื่อรู้สัมผัสใดๆเกิดก็ไม่ไปต่อเติมปรุงเสริม ปล่อยมันทิ่งเป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้นจากการรู้อาการจิรงๆของมัน
http://www.thammaonline.com/15430.msg17989#msg17989

    แล้วอัตตา สังโยชน์ เราจะคลาย ขันธ์ก็จะแยกออกเป็นกองๆ แล้วจะตัดขาดได้ไม่ได้ก็อยู่ที่เราอบรมจิตมาดีพอให้เห็นของจริงมากน้อยแค่ไหนพอจะทำให้มันเบื่อหน่ายได้หรือไม่



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2015, 08:04:53 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 18, 2024, 09:13:20 PM