เมษายน 26, 2024, 11:58:37 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 31  ทั้งหมด   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน  (อ่าน 408497 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #90 เมื่อ: เมษายน 28, 2015, 05:52:29 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๙

สัพพะสังขาเรสุ อะนิฏฐะสัญญา

ดูกรอานนท์ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง (สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา = การกำหนดหมายในความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง - ธัมมโชติ) ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ฯ

(เลือกความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์)

จากที่เราได้กรรมฐานมาหมดใน สัญญา ๑๐ ทั้ง ๘ ข้อ ได้เกิดขึ้นเป็น สัมมาทิฐิ โดยโลกียะตามปะสาปุถุชนผู้อยากมีสันดานพระอริยะเจ้า ได้เล็งเห็นว่า

๑ ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, อายตนะ ๑๒ ทั้งหลายเหล่านี้ นี้ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีเราในขันธ์ ขันธ์ ไม่มีในเรา เรราจะไปแสวงหาปารถนาเอาสิ่งไรๆกับมันไม่ได้ ยิ่งปารถนาในขันธ์ ๕ ก็ยิ่งทุกข์ มันเป็นเพียงแค่สภาวะธรรมหนึ่งๆที่เกิดมีขึ้นเท่านั้น อาศัยกิเลสที่จรมาให้จิตยึดแล้วเข้าไปตั้งว่า เป็นคน สัตว์ สิ่งของ ประณีต ละเอียด หยาบ ทราม เป็นตัวตนของเขา-ของเรา เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ เป็นของเที่ยง จักเป็นสุขเมื่อได้ลิ้ม-ได้เสพย์-ได้มี-ได้เป็นอย่างนั้นๆนี้ๆ จนเกิดความยึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งนี้ๆควรแก่เรา สิ่งนี้ๆไม่ควรแก่เรา สิ่งนี้ๆเราควรได้ สิ่งนี้ๆไม่ควรเกิดมีแก่เรา จนเกิดเป็นตัวตนถาถมแล้วก็แสวงหาไม่รู้จบบนสิ่งที่ไม่เที่ยงมีแต่วันที่จะบุบสลายผุพังไป ไม่มีตัวตนที่จะจับบังคับให้เป็นไปดั่งใจได้เหล่านี้ ที่จิตได้รู้ผัสสะโดยสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตยึดจิตหลงจิตเสพย์
๒. ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, อายตนะ ๑๒ ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นแต่ของเน่าเหม็น ความเห็นว่างาม ว่าละเอียด ประณีต เพราะมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบบ้าง เมื่อลอกหนังออกก็ไม่มีสิ่งใดน่าดูชมเลย เมื่อแยกอาการทั้ง ๓๒ ม้างกายออกมา ก็ไม่เห็นจะมีตัวตนบุคคลใดที่เราว่างาม ว่าประณีต อยู่ในอาการเหล่านั้นเลย สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้มีแต่จะผุพังไปเน่าสลายไป ไม่ยั่งยืนนาน ไม่ว่าเราหรือใครก็จักเหลือเพียงธาตุเท่านั้น เมื่อลมไม่มี ธาตุไปก็ดับไป ธาตุน้ำก็ดับไป ดินก็ผุกังสลายไป อากาศก็อาศัยอยู่ไม่ได้ ตัวรู้ก็ไม่มีอยู่ในอาการเหล่านั้น เมื่อได้เสพย์ก็ประมาณเหมือนว่าเสพย์เอาศพ เมื่อไม่มีสิ่งใดยั่งยืนนาน ไม่คงอยู่กับเราตลอดไป เมื่อตายไปเราก็นำมันไปด้วยไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เหมือนคนที่เกิดกำหนัดแล้วช่วยตัวเอง แกล้งให้น้ำอสุจิเคลื่อน ทั้งๆที่ไม่ได้ทำจริง ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่เสพย์ความใคร่จากธรรมารมณ์ความตรึกนึกคิดสมมติเรื่องราวของตนเองทั้งสิ้น ไม่มีอยู่จริงเลยฉันใด
    แม้เมื่อได้เสพย์ในเมถุนกับเพศตรงข้ามที่พึงพอใจของตน ก็เหมือนนำอวัยเพศเข้าไปผัสสะน้ำคล้ำ น้ำหนอง ก้อนเนื้อ เส้นเอ็น น้ำเลือด น้ำดี ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ ขี้ อาการทั้ง ๓๒ เหล่าใดที่ไม่มีตัวตน ธาตุ ๕ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ที่มีแค่ อ่อนแข็ง เอิบอาบ เคลื่อนตัวตรึงไหว อุ่นๆ ร้อนๆ เย็นๆ ช่องว่างที่ทำให้ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เคลื่อนตัวได้ เสพย์สุขสมมติไปกับสภาวะธรรมก้อนธาตุที่สงเคราะห์รวมกันบ้าง ติดใจในโผฐัพพะที่ตนได้รู้อารมณ์นั้นๆบ้าง พอสักพักความรู้สึกนั้นก็จางหายดับไป ไม่อยู่ยั่งยืนยาน บังคับให้มันรู้สึกอย่างนี้ๆ ได้รับอารมณ์อย่างนี้ๆไปตลอดก็ไม่ได้
๓. ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, อายตนะ ๑๒ ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นที่ประชุมของโรค ไม่น่าพิศมัยเลย มีสภาพที่น่าเกลียด
๔. ความเสวยอารมณ์ ความจำได้หมายรู้ ความปรุงแต่งให้จิตรู้ ธรรมมารมณ์เหล่าใด ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัยเครื่องล่อใจทั้งปวงให้มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่เพราะเหตุปัจจัยเครื่องล่อใจนั้นยังตรึงอยู่ โดยสัญญาสมมติบ้าง ดับไปเมื่อเสร็จกิจของมัน หรือ เมื่อความตรึงอยู่แห่งความจำไกด้หมายรู้ในเครื่องล่อใจนั้นๆดับไป บังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ทุกอย่างเป็นเพียงสมมติที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกล่อให้จิตรู้แล้วยึดมั่นอุปาทานเท่านั้น เมื่อเสพย์ตามธรรมารมณ์ทั้งปวงย่อมนำความกระหาย ความทะยานอยากแสวงหาจนเกิดทุกข์ ไม่มีสิ่งเหล่าใดที่ควรว่างาม ว่าประณีต แม้แต่วิญญาณธาตุตัวรู้เหล่าใด มันก็รู้แต่สมมติเหล่านี้ที่กอิเลสสร้างขึ้นมาหลอกทั้งนั้น ไม่เคยรู้ของจริงเลย ซึ่งของจริงๆแล้วมันก็แค่เพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆที่มีขึ้นไม่เที่ยง ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีตัวตน ไม่มีสิ่งไรๆทั้งสิ้น แล้วจะไปหมายเอาสมมติของปลอมกับสิ่งที่ไม่ยืนนาน ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราไปเพื่อสิ่งใด สิ่งเหล่านี้เมื่อมันยังคงมีอยู่มันก็กลับกลอกให้เราหลงตามแล้วก็ยังความฉิบหายมาให้ ฉะนั้นควรแล้วหรือที่จะใฝ่ใจใคร่ยินดีในมัน
๕. ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ สังขารธรรมทั้งปวงเหล่าใด เป็นตัวทุกข์ทั้งนั้น ตั้งแต่เมื่อเรามาอาศัยอยู่เมื่อมันมีเกิดขึ้นมา เราก็ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว เมื่อมันเกิดขึ้นเดี๋ยวก็งามบ้าง เดี๋ยวก็หยาบบ้าง น่าเกลียดบ้าง เมื่อมันเกิดขึ้นเดี๋ยวก็หลงสมมตินั้นบ้าง หลงสมมตินี้บ้าง เมื่อมันผ่านกาลเวลามาตามสมควรมันก็มีแต่สิ่งน่าเกลียดเน่าเหม็นน่าขยะแขยงทั้งนั้น บังคับมันก็ไม่ได้ เมื่อภายในมันแปรปรวนกำเริบเดี๋ยวมันก็เจ็บก็ปวด เดี๋ยวตรงนี้ก็บุบพังสลาย เดี๋ยวตรงนั้นก็เสื่อมโทรม บังคับให้มันไม่เจ็บไม่ปวดไม่ทุกข์ทรมานไม่เสื่อมโทรมไปก็ไม่ได้ เมื่อมันไม่สามารถจะพยุงตนเองไว้ได้มันก็ดับสูญไป บังคับให้มันคงอยู่ก็ไม่ได้ แล้วจะไปปารถนาแสวงหามันอยู่อีกเพื่อสิ่งใดกับสิ่งที่ประชุมไปด้วยความเสื่อมโทรม ประชุมโรง เป็นของเสื่อมสูญ เป็นของไม่มีตัวตน เป็นของไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แม้อาศัยมันอยู่นี้มันก็ยังความกำเริบขึ้นแต่สิ่งเน่าเหม็น




หลวงปู่บุญกู้ อนุวัฒโน เท่าที่เราพอจะจำได้ ท่านได้เทสนาสั่งสอนไว้ว่า ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ นามรูป ทั้งปวง ความสุขทางโลกียะนี้อาศัยของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนนานมาเป็นสุขของตน เมื่อเราตายมันก็ไม่ได้ติดตามไปด้วย มีแต่บุญและบาปเท่านั้นที่ติดตามไป ดังนั้นเราจึงควรอบรมจิตให้มาก ให้เจริญในกุศล มีศีล ทาน ภาวนา ให้มาก จะเป็นกำไรในชีวิตที่ติดตามเราไปเมื่อตาย เมื่ออบรมจิตให้รู้จักของจริงได้มากก็ละความหลงได้มาก

ด้วยเหตุดังนี้เมื่อเราพิจารณาน้อมมาใส่ตนก็เห็นว่า

- คนรัก สัตว์ สิ่งของเหล่าใด มันผุพังดับสูญอยู่ทุกขณะไม่คงทนยืนนาน พอมันดับสูญไปก็โศรกเศร้าเสียใจ หรือ เมื่อไม่ได้ในสิ่งนั้นตามปารถนาก็ตะเกียกตะกายเป็นทุกข์คอยแสวงหามันไม่รู้จบรู้สิ้นรู้พอ หาความสุขไม่ได้ สมดั่งหลวงปู่สอนไว้

- แม้เมื่อเราตายไปแล้ว จะหมายกายอันวิจิตนี้ตามไปก็ไม่ได้ ธาตุมันก็กลับไปเป็นธาตุดังเดิม จะหมายเอาสุขเวทนาความโสมนัสเหล่าใดตามไปด้วยก็ไม่ได้ จะหมายเอาความจำได้หมายรู้ที่รักที่พอใจตรึงใจอยู่ไปด้วยก็ไม่ได้ จะหมายเอาความปรุงแต่งที่พอใจยินดีที่ตนชอบตามไปด้วยก็ไม่ได้ จะหมายเอาจิตที่รู้สิ่งดีๆที่รักที่พอใจไปด้วยก็ไม่ได้ แม้ขนาดยังชีพอยู่นี้ยังไม่สามารถจะเป็นเช่นนั้นได้ แล้วเมื่อตายไปมันจะติดตามเราไปได้อย่างไร แม้ยังชีพอยู่เราจะทำกรรมใดไว้เป็นบุญหรือบาปเราก็ยังได้รับผลจากการกระทำเหล่านั้น แล้วเมื่อตายไปทำไมจะยังไม่ได้รับผลนั้นสืบต่ออีก สมดั่งหลวงปู่สอนไว้

- ดังนั้นแล้วขันธ์ ๕ สังขารธรรมทั้งปวงนี้เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีเลย ยิ่งเมื่อได้เพียรเจริญตามที่หลวงพ่อเสถียรชี้แนะเพียงแค่ว่ากายเรานี้คือธาตุ ๖ วิญญาณหรือจิตมันรู้แค่สมมติ แล้วพิจารณาในสัญญา ๑๐ นี้ จนได้เห็นตามจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนทั้งหมด ไม่มีข้อโต้แย้งไรๆเลย ก็ยิ่งเห็นว่า สังขารธรรมทั้งปวง มันไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่สิ่งน่าปารถนายินดีเลย มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่เป็นไปของมันไม่เกี่ยวกับเราเลย เป็นที่ปรชุมไปด้วยโรค ด้วยทุกขเวทนา โทมนัส เป็นที่กลับกลอกหลอกลวงโดยสมมติ เราไม่ควรยึดมั่นไม่ควรยินดีใน ขันธ์ ๕, ธาตุ ๖, อายตนะ ๑๒ สภาวะธรรมภายนอก สภาวะธรรมภายในทั้งหลาย กล่าวคือ สังขารธรรมทั้งปวงทั้งภายในและภายนอกทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวทุกข์ ไม่น่ายินดีเลย

- ของจริงมีอยู่ก็เพียงกายสังขาร คือ ลมหายใจเข้า หายใจออก นี้เท่านั้น ที่มีอยู่จริง เป็นของจริง เป็นสิ่งที่รู้ได้ตามจริง ไม่เป็นที่ประชุมของสมมติ ไม่ใช่ที่ประชุมของโรค ไม่มีภัย ดังนั้นรู้กายสังขารนี้โดยแจ่มแจ้งตามจริงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งห่างไกลสังขารธรรมที่เป็นทุกข์มากเท่านั้น




เพิ่มเติมวันที่ 12/5/58 เวลา 9.00 น.

     เพราะเจริญสัญญา ๑๐ มาใน ๘ ข้อเบื้องต้นก่อน แล้วมาเจริญใน สัพพะสังขาเรสุ อะนิฏฐะสัญญา ที่เรากำหนดใจกับสุรายาเมาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนในข้อนี้ไว้ว่า เราย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังแต่เหล้า และ ความบ้ากามอยากเสพย์ราคะเมถุนสัมผัสทางกาย

  - นั่นเพราะมองเห็นโทษ เห็นทุกข์จากเหล้า มันทำให้เราเป็นคนบ้าฟุ้งซ่านขาดการยับยั้งช่างใจ ทำให้ทำผิดได้ทั้งหมด ทำได้แม้ฆ่าคนโดยไม่สะทกสะท้ายระอา ละอายใจต่อบาป ทำร้ายคนที่รักยิ่งชีพ คือ พ่อ แม่ ลูก เมียได้ ทำให้เราไม่มีเงินหมดเงินให้ลูก หมดเงินที่จะทำบุญ หมดเงินที่จะให้แม่ หมดเงินที่จะครองชีพให้พ้น ๑ วัน มันทำให้เสียการเสียงานสูญเสียทุกอย่าง กินเหล้าเมื่อไหร่งานเสียเมื่อนั้นเกิดเรื่องร้ายๆขึ้นเมื่อนั้น รวมไปถึงเรื่องราคะเมถุนด้วย แม้ระลึกในข้อนี้อย่างนี้จึงเลิกเหล้าและเลิกบ้ากามได้มาระยะหนึ่งแล้ว

  - เพราะสุรายาเมาและราคะเมถุนที่ฝักใฝ่ใคร่ แสวงหา ทำให้อยากไม่รู้จักพอมันทำให้ครอบครัวเรานี้ถึงความฉิบหาย อั่งเปาต้องมารับเคราะห์ก็เพราะเรานี้เสพย์สุรายาเมาและราคะเมถุนมีความฝักใฝ่ยินดีใคร่แสวงหาทำให้อยากไม่รู้จักพอ

  - เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษจากมัน เกลียดชังมัน ขยะแขยงมันอย่างนี้ๆ มีความอึดอัดระอาต่อมัน ตัดความแสวงหา ไม่แสวงหามันอีก ไม่ยึดเอาอารมณ์ทางโลกเพื่อพ้นทางโลกอันประกออบไปด้วยทุกข์มีสุขอยู่บนสิ่งไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา หมายใจว่าควรไม่ควรแก่เรา (สัมมาสังกัปปะคิดออกจากทางโลกดูบันทึกกรรมฐานวันที่ 10/5/58)








« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2015, 09:30:14 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #91 เมื่อ: เมษายน 28, 2015, 06:03:15 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 13/4/58

สัญญา ๑๐ โดยการเจริญปฏิบัติที่เราได้ดำเนินไปอยู่ # ๑๐

อานาปานัสสติ

ดูกรอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
**คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยมีสติตั้งไว้ที่ลมหายใจไม่หลุดไปจากลมหายใจ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่าสั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทา กามราคะ และความหลงไหล นานาประการ**

ราหุโลวาทะสูตร
อานาปานสติภาวนา

           [๑๔๖] ดูกรราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่. ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร
ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่? ดูกรราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ
หายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว.  เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อม
สำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจาก
ราคะหายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจออก ย่อมสำเหนียก
ว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิท หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่
สละคืน หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน หายใจเข้า. ดูกรราหุล
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
ดูกรราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ
ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป หาเป็น
อันบุคคลผู้เจริญอานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปไม่ได้ดังนี้.



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2015, 09:38:13 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #92 เมื่อ: เมษายน 29, 2015, 12:26:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) # ๑
-------------------------------


            [๒๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวก
ผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา-
*โมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ
ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และ
พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาท
พร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง
บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำ
สอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
             [๒๘๓] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวัน
ปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดย
ลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้
เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึง
คุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำ
ให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ
๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท ๑- พวกภิกษุชาวชนบททราบข่าว
ว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่ง
ฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อ
เฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ
@๑. คือวันเพ็ญเดือนสิบสอง
เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บาง-
*พวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวก
โอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาท
พร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ
             [๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่ง
กลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บาน
แห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
เหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรม
อันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับ
บริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การ
กระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้
บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก
มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลก
ยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร
ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
             [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็น
พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ
ได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษ
แล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะ
สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับ
มาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามี
เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
มายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่
ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะ
สิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ใน
เบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้
ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความ
เพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียร
ในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
             [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
บำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2015, 09:38:48 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #93 เมื่อ: เมษายน 29, 2015, 12:28:34 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) # ๒
   (ฐานการเจริญอานาปานสติ เป็นกำลังให้ อินทรีย์สังวร บริบูรณ์)
-------------------------------


             [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร
หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น
ผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
สละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2015, 09:39:40 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #94 เมื่อ: เมษายน 29, 2015, 12:29:36 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) # ๓
   (การเจริญ สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ด้วยอานาปานสติ)
-------------------------------


             [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำ
ให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า
ยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
เข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่ง
ในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียก
อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้
จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออก
ลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจัก
ทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่
ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว
อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น
ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจัก
เป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้
ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส
หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจ
ออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วย
ปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2015, 09:40:20 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #95 เมื่อ: เมษายน 29, 2015, 12:33:35 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) # ๔
   (การเจริญ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ด้วยอานาปานสติ)
-------------------------------


             [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว
ไม่เผลอเรอ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
พิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอ
เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภ
ความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณา
ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ-
*ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
ได้เป็นอย่างดี ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความ-
*เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น
สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร
รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อม
เป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผลอเรอ
ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความ
บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความ
พิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า
ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อ
เธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอัน
ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรม
นั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อม
เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิส
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ
และความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้
ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ
ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิต
ตั้งมั่น ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข
ย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ
เจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้น
ได้เป็นอย่างดี ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
             [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ


จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2015, 09:40:40 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #96 เมื่อ: เมษายน 29, 2015, 01:36:07 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน สัญญา ๑๐ โดยย่อที่เป็นหัวใจของสัญญา ๑๐ ที่เราพอจะมีปัญญาเห็นได้ # ๑

สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง (โดยส่วนตัวเราเห็นว่า พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, และ การเลือกธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ ละธรรมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์ มีอยู่ใน สัญญา ๑๐ นี้ ทั้งหมด) คือ




       ๑. อนิจจะสัญญา      
ขันธ์ ๕ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์โดยอาการ พิจารณามองเห็นว่า ไม่เที่ยง

- ผู้รู้ : รู้เห็นสภาวะธรรมของขันธ์ตามจริง จากยถาภูญาณทัสสนะ นี่เรียกว่า สัมมาทิฐิ ของพระอริยะเจ้า (ญาณอันเป็นไปในมรรค)
- อนิจจะสัญญา เป็นการเจริญให้เข้าถึงความพอใจยินดี ที่ไม่ควรเสพย์(ละความพอใจในขันธ์ ๕) / เกิดความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์



       ๒. อนัตตะสัญญา      
อายตนะ ภายนอก ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะ ภายใน 6 รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์โดยอาการ พิจารณามองเห็นว่า ไม่มีตัวตน

- ผู้รู้ : รู้เห็นสภาวะธรรมของอายตนะ ๑๒ นามรูปที่ได้รู้ผัสสะตามจริง จากยถาภูญาณทัสสนะ นี่เรียกว่า สัมมาทิฐิ ของพระอริยะเจ้า (ญาณอันเป็นไปในมรรค)
- อนัตตะสัญญา เป็นการเจริญให้เข้าถึงความพอใจยินดี ที่ไม่ควรเสพย์ (ละความพอใจในอารมณ์ที่รู้ผัสสะ) / เกิดความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์




สัญญา ๑๐ ในข้อที่ ๑-๒ นี้คือ มรรคญาณ ปัญญาในทางมรรค เกิดขึ้นในโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ไม่ใช่ตรึกนึกคิดเอา แต่เห็นสภาวะธรรมจริงๆด้วย ถ้าได้จากความคิด สัญญา ๑๐ อีก ๘ ข้อจะไม่มีทางเข้าถึงได้เด็ดขาด




       ๓. อสุภะสัญญา      
อาการ ๓๒ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลดหนอง เลือด เหงื่อ มัน น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เป็นต้น โดยอาการพิจารณาเห็น ความเป็นของไม่งาม ไม่น่าพิศมัย ในกายนี้

- ผู้รู้ : รู้เห็นสภาวะธรรมของรูปขันธ์ ที่ได้รู้ผัสสะตามจริง จากยถาภูญาณทัสสนะ คือ ม้างกายในสายพระป่า จนไม่เห็นมีเราในรูปขันธ์ ในรูปขันธ์ไม่มีเรา นี่เรียกว่า สัมมาทิฐิ ของพระอริยะเจ้า (ญาณอันเป็นไปในมรรค)

- อสุภะสัญญา เป็นการเจริญให้เข้าถึงความพอใจยินดี ที่ไม่ควรเสพย์ (ละความพอใจยินดีในรูปขันธ์) / เกิดความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์



       ๔. อาทีนะวะสัญญา      
ผลของโรคต่าง ๆ  และ เหตุของโรคต่าง ๆ โดยอาการพิจารณาเห็น ความเป็นโทษ ในกายนี้

- ผู้รู้ : รู้เห็นสภาวะธรรมของรูปขันธ์ ที่ได้รู้ผัสสะตามจริง จากยถาภูญาณทัสสนะ คือ ม้างกายในสายพระป่า จนไม่เห็นมีเราในรูปขันธ์ ในรูปขันธ์ไม่มีเรา เห็นความเน่าเปื่อผุพังสลายไปของอาการทั้ง ๓๒ นี่เรียกว่า สัมมาทิฐิ ของพระอริยะเจ้า (ญาณอันเป็นไปในมรรค)
- ผู้รู้ : เป็นการเจริญให้เข้าถึงความพอใจยินดี ที่ไม่ควรเสพย์ (ละความพอใจยินดีในรูปขันธ์) / เกิดความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์



สัญญา ๑๐ ในข้อที่ ๓-๔ นี้คือ กายคตาสติ เป็น มรรคญาณ ไปสู่ปัญญา สู่ ปหานสัญญา เป็นยถาภูญาณทัสสนะไปสู่วิราคะสัญญาปุถุชนนี้ยังแยกก็ได้เพียงสัญญาจดจำเอาเ้ท่านั้น แต่พระโสดาปัตติมรรคขึ้นไปท่านม้างกายออกขาดสิ้นไม่เหลือตัวตนเลย ปัญญาญาณก็จะเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจะละสังโยชน์ได้มากน้อยก็เริ่มที่ตรงนี้




       ๕. ปหานะสัญญา      
กามวิตก ,พยาบาทวิตก , วิหิงสาวิตก , อกุศลกรรมทั้งปวงโดยอาการสำเหนียกด้วยอารมณ์ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป  ย่อมทำให้ถึงซี่งความไม่มี
(ที่เราเห็นกรรมฐาน คือ มรรคมีองค์ ๘ สัมมาวายามะ แล้วเพียรใน กุศลวิตก ๓, เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ คือ โสมนัสที่ควรเสพย์และโสมนัสที่ไม่ควรเสพย์ ๑ โทมนัสที่ควรเสพย์และโทมนัสที่ไม่ควรเสพย์ ๑ อุเปกขาที่ควรเสพย์และอุปกขาที่ไม่ควรเสพย์ ๑, กรรมบถ ๑๐, สีลสังวร, สัมมาวายามะ หรือ วิริยะฉันทะ หรือ สัมมัปปธาน ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, กรรมฐาน ๔๐, สติปัฏฐาน ๔)

- ผู้ตื่น : รู้เห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง จากยถาภูญาณทัสสนะ เกิดสัมมาทิฐิหลุดจากความลุ่มหลง เกิดนิพพิทาญาณบ้างแล้ว (ญาณอันเป็นไปในมรรค ทำให้แก่กล้าเข้าถึงญาณแห่งปัญญา) แล้วก็เพียรที่จะละ จะบรรเทาความลุ่มหลงทั้งหลายให้สิ้นไป เพื่อให้หลุดพ้นจากสมมติของปลอมอันเป็นทุกข์ที่กิเลสสร้างขึ้นมาหลอกให้จิตหลงทั้งสิ้นนี้
- ปหานะสัญญา ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพย์



       ๖. วิราคะสัญญา      
ธรรมที่ทำให้เกิดการสละคืนอุปธิทั้งปวง และธรรมที่ทำให้ตัณหาสิ้นไปโดยอาการเจริญปัญญาให้ใจมุ่งมั่น ต่อการทำลายล้างกิเลสที่เกิดขึ้น
(ที่เราเห็นกรรมฐาน คือ  สีลสังวร หรือ ปาฏิโมกข์สังวร, สติสังวร หรือ อินทรีย์สังวร, สติปัฏฐาน ๔, กรรมฐาน ๔๐(กายานุปัสสนา) นั้นคือ มรรค ๘, โพชฌงค์ ๗)

- ผู้ตื่น : รู้เห็นสภาวะธรรมทั้งปวงตามจริง จากยถาภูญาณทัสสนะ เกิดสัมมาทิฐิหลุดจากความลุ่มหลง เกิดนิพพิทาญาณแล้ว แล้ว ภาวนาใน ศีล ทาน กรรมฐาน ๔๐ สังวรปธาน พละ ๕ จนอินทรีย์แกร่งกล้ามากพอให้มรรคบริบูรณ์ดีแล้ว เกิดญาณอันเป็นไปในทางปัญญา เรียกว่า สัมโพชฌงค์ ๗ เมื่อโพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ดีแล้วเด็ดเดี่ยวไม่ยินดีในสังขารทั้งปวงอีกจนเกิดปัญญาญาณที่เป็นการตัด ตัดขาดสะบั้นหลุดออกตายไปไม่มีหวนกลับมาอีก
- วิราคะสัญญา ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ เกิดสัมมาญาณ แล้วตัด(คือ มีทั้ง โสมนัสที่ควรเสพย์และโสมนัสที่ไม่ควรเสพย์ ๑ โทมนัสที่ควรเสพย์และโทมนัสที่ไม่ควรเสพย์ ๑ อุเปกขาที่ควรเสพย์และอุปกขาที่ไม่ควรเสพย์ ๑)
(ข้อนี้เราพอจะสัมผัสได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น)



ปหานสัญญา เป็นไปในมรรคเพื่อทะลายความหลงออกให้ถึงปัญญา, วิราคะสัญญา เป็นไปเพื่อปัญญารู้แจ้งดับสนิทซึ่งเพลิกกิเลสเพลิกทุกข์โดยสิ้นเชิง, นิโรธ เป็นผลจากวิราคะ เป็นวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว




       ๗. นิโรธะสัญญา      
ธรรมชาตินั่นสงบ ประณีต ระงับได้แล้วซึ่ง อุปธิ และตัณหา โดยไม่เหลือโดยอาการทรงอารมณ์ เสวยผลแห่งการเข้าถึงนิพพาน
(ที่เราเห็นกรรมฐาน คือ วิมุตติ, มรรค ๑๐, จิตไม่จับเอาอะไรเลย รู้ก็เหมือนไม่รู้ รู้ก็ช่าง ไม่รู้ก็ช่าง แบบ อรูปฌาณ สัญญาเวทยิตนิโรธ)

**หากอย่างเราๆผู้ไม่ถึง วิมุตติ และ สมาบัติ ๘ ทางกรรมฐานสำหรับเราๆนี้ก็ให้ทำดังนี้คือ**

วิธีที่ ๑ จับเอาที่จิตอันเป็นสุขไม่มีทุกข์ก่อน แล้วยกจิตไปอากิญจัญญายตนะ เข้าวิโมกข์ ๘
๑. ให้เราพึงคำนึงถึงว่า(หวนระลึกถึง หวนคิดถึง)..เมื่อความไม่ทุกข์ ไม่ว่างอยู่โดยความไม่รู้หนังตรึงๆหน่วงจิตมันเป็นอย่างไร, เมื่อจิตไม่มีกิเลสปรุงแต่งมันสุขเพียงไร ความเป็นมิตรต่อสัตว์และมนุษย์ทั้งปวง ความไม่เร่าร้อนปราศจากความรัก โลภ โกรธ หลงสงบว่างร่มเย็นกายใจ ประดุจห้วงมหาสมุทรที่นอ่งว่างสงบเย็น ไม่กระเพื่อมแปรปรวนฟุ้งซ่าน ไม่แสวงหา ไม่ขัดข้องใจ ไม่ผูกความขุ่นเคืองใจมันเป็นไฉน, จิตที่คลายความยึดจากสมมติคลายอุปาทานขันธ์ ๕ มันเป็นสุขขนาดไหน, เมื่อจิตไม่ยึดเอาสมมติไรๆสภาวะธรรมไรๆมันสุขแค่ไหน แม้ความสุข,ความทุกข์,ความไม่สุขไม่ทุกข์ก็ไม่มี..จิตไม่เสพย์ไม่ยึดมันยังความบรมสุขมากแค่ไหน ให้น้อมเอาความรู้สึกอย่างนั้น**
๒. ระลึกถึงว่าหากเราไม่แสวงหา-เราก็ไม่ร้อนรุ่มเป็นทุกข์จากความใคร่ได้ที่จะเสพย์, หากเราไม่ผูกเวรติดข้องขัดเคืองใจใคร-มันก็ไม่เร่าร้อน เดือดดานเป็นทุกข์, หากเราไม่ยึดติดลุ่มหลงอยู่กับสิ่งไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนนาน ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราก็ไม่พรัดพราก ไม่แสวงหา ไม่ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ไม่เกิดความผิดหวัง ก็ไม่ทุกข์ ละอารมณ์ทางโลกอันเป็นไปเพื่อกิเลสสมมติเหล่านี้ก็ไม่ทุกข์ น้อมเข้าทางธรรมอารมณ์ทางธรรมคือไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่จับเอาสิ่งใดทั้งสิ้น ทุกสิ่งเป็นสูญ ไม่ยึดจับเอาอะไรในสังขารทั้งปวง จากนั้นก็แผ่เอาความไม่ยึดเอาสิ่งใดแม้แต่กายใจตน ไม่เอาไม่สนกายและใจตนนี้ แผ่ไปให้ทั่วจักรวาลจนจิตสงบนิ่งแช่อยู่ แต่มีสติสัมปะชัญญะรู้อยู่ แล้วจะรับได้ถึงอารมณ์นั้นที่ว่างมีกำลังนิ่งแช่ไม่มีกาย ไม่มีจิต ไม่มีสมมติ ไม่มีอารมณ์ปรุงแต่ง ไม่สุข ไม่ทุกข์ ว่างสงบนิ่งอยู่ แล้วก็เกิดอาการที่ไม่ใช่อุเบกขาขึ้นไม่จับเอาอะไรเลย เหมือนตอนที่เราฝึกเจริญวิโมกข์ ๘ เมื่อแผ่อุเบกขาไปไม่มีประมาณตอนที่เข้าสวดมนต์แผ่เมตตาหลวงและกรรมฐานที่วัดกับหลวงปู่บุญกู้

วิธีที่ ๒ ตั้งฐานไว้ที่พรหมวิหาร ๔ สืบต่อไป ศีล ทาน ไปแบบไม่มีประมาณลัดเข้าวิโมกข์ ๘
๑. พึงตั้งจิตปารถนาให้ตนเป็นผู้ประกอบด้วยสุข ไม่มีความทุกข์กายใจ ปราศจากกิเลส รัก โลภ โกรธ หลงเครื่องเร่าร้อนกายใจทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีผูกเวรพยาบาท เป็นผู้ปราศจากความทุกข์ลำบากเศร้าหมองกายใจ เป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ พึงกระทำจิตไปดังนี้จนมีจิตแน่วแน่เป็นกุศลสลัดพ้นจากความเศร้าหมองทั้งปวงได้
๒. ทำไว้ในใจว่าเราจักเป็นมิตรที่ดีกับคนทุกคน เริ่มจากพ่อแม่บุพการีก่อน(ถือเป็นความกตัญญูกตเวทียิ่ง) แล้วไปถึงคนที่รัก ที่สนิท ที่เกลียด ที่ชัง ที่ไม่รู้จักก็ตาม สัตว์ทุกตน อมนุษย์ทุกตน เทพเจ้าเทวดานางฟ้าทุกองค์ สัมภเวสีทั้งปวง วิญญาณทั้งปวง พระยายมราช ยมทูตทั้งหลายไม่มีละเว้น
   (ความเป็นมิตรที่ดี คือ สภาวะที่จิตเรานี้มีไมตรีสัมพันธ์ที่ดีต่อเขา ไม่มีความผูกแค้นตั้งความชอบใจและไม่ชอบใจต่อเขา ความที่ให้การสนิทใจต่อกัน มีจิตปารถนาดีให้เขาเป็นสุขไม่มีทุกข์ มีจิตแบ่งปันสิ่งที่ดีงามในกุศลต่อกัน ไม่ผูกเบียนเบียนทำร้ายกันทั้งทาง กาย วาจา ใจ ยินดีเมื่อเขามีความสำเร็จประโยชน์สุขไม่มีทุกข์ประดุจดั่งคนในครอบครัวอันเป็นที่รักของตน เป็นต้น)
 - แล้วแผ่เอาความเป็นมิตรที่ดีนั้นไปสู่ท่านเหล่านั้นให้ทั่วทุกทิศทั่วทุกทิศ ด้วยพึงระลึกว่าบัดนี้เรามีจิตตั้งอยู่ด้วยความเป็นมิตรที่ดีต่อสัตว์ทั้งปวง เป็นผู้ไม่ผูกเวร ไม่ผูกพยาบาท มีจิตความสงเคราะห์แบ่งปัยสุข เป็นผู้มีความยินดีในสุขอันเป็นกุศลของตนเองและผู้อื่นทุกเมื่อ ได้เจริญมาดีแล้วตามที่สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าองค์พระบรมศาสดาของเราตรัสสอน มีจิตผ่องใสเบิกบานแล้วอยู่อย่างนี้ๆ ไม่มีความติดใจข้องแวะสิ่งไรๆให้เศร้าหมอง แม้จักตายไปในตอนนี้ขณะที่หายใจเข้าหรือออก เราก็จักไม่ตกลงสู่อบายภูมิ ไม่ตกนรก แต่จักขึ้นไปอยู่สวรรค์วิมาณอันประณีตงดงามบ้าง อยู่บนสวรรค์ชั้นพรหมบ้าง ถึงนิพพานบ้างด้วยเดชแห่งบุญบารมีนั้น
๓. ระลึกถึงความไม่เบียนเบียนทาง กาย และ วาจา ที่เรานี้มีศีลมาดีแล้วบริบูรณ์แล้ว(สีลานุสสติ ให้เอาศีลข้อที่เราทำมาดีแล้วหรือช่วงเวลาที่ตนปฏิบัติในศีลมาดีแล้วบริบูรณ์แล้วนั้นมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต)
 - พึงระลึกว่าแม้นศีลอันเป็นกุศลเพื่อเว้นจากความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ประกอบไปด้วยคุณ เป็นไปเพื่อความถึงที่สุดแห่งกองทุกข์เหล่านี้ เราก็ได้ทำมาดีแล้วหนอ ได้เจริญปฏิบัติตามทางที่พระตถาคตเจ้าผุ้ประเสริฐนี้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่เบียดเบียนแล้ว แม้จักตายไปในตอนนี้ขณะที่หายใจเข้าหรือออก เราก็จักไม่ตกลงสู่อบายภูมิ ไม่ตกนรก แต่จักขึ้นไปอยู่สวรรค์วิมาณอันประณีตงดงามบ้าง อยู่บนสวรรค์ชั้นพรหมบ้าง ถึงนิพพานบ้างด้วยเดชแห่งบุญบารมีนั้น พึงตั้งอยู่อย่างนี้จนจิตแจ่มใสเบิกบานด้วยฉันทะอิทธิบาท ๔ จากนั้นก็แผ่เอาศีลนั้นไปไม่มีประมาณ พึงมีจิตอันเว้นจากความผูกเวรเบียดเบียน จิตของความเป็นผู้ไม่เบียดบียนนั้นแผ่ไปทั่วทุกทิศ
๔. ระลึกถึงทานไรๆ ความกตัญญูและกตเวทีไรๆต่อพ่อแม่บุพการีที่ได้ทำมาดีแล้ว, ทานอันใดที่ได้มีให้ผู้อื่นโดยไม่ติดใจข้องแวะทั้งก่อนให้-ขณะให้-และหลังให้, แล้วระลึกถึงทานอันใดที่เราได้ทำโดยที่เรานั้นประกอบพร้อมด้วยศีล เพราะทานจะบริสุทธิ์ไม่ได้ถ้าผู้ให้ไม่มีศีล ส่วนเรื่องขอผู้รับนั้นมันก็แล้วแต่เขาเรื่องของเขา ความติดใจข้องแวะมันเป็นเรื่องของทางโลกแต่ทางธรรมนี้ไม่มีอย่างนั้น แค่เรามีศีลก็พอ (พึงตั้งเอาทานเหล่านั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตจนเกิดความอิ่มเอมสุขเบิกบาน เป็น จาคานุสสติ มีฉันทะอิทธิบาท ๔ มีฉันทะสมาธิเกิด)
 - พึงระลึกว่าแม้นทานอันบริสุทธิ์นี้ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดใน ๓ โลกได้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว เราก็ได้ทำมาดีแล้ว มีการสละอันบริสูทธิ์บริบูรณ์แล้วนั้น แม้จักตายไปในตอนนี้ขณะที่หายใจเข้าหรือออก เราก็จักไม่ตกลงสู่อบายภูมิ จักเป็นผู้ไม่ลำบากยากแค้น ไม่ตกนรก แต่จักขึ้นไปอยู่สวรรค์วิมาณอันประณีตงดงามบ้าง อยู่บนสวรรค์ชั้นพรหมบ้าง ถึงนิพพานบ้างด้วยเดชแห่งบุญบารมีนั้น พึงตั้งแผ่เอาความอิ่มเอมสุขจากทานนั้นไปทั่วทุกทิศแบบไม่มีประมาณ

- ผู้เบิกบาน : ความหลุดพ้นจากความลุ่มหลงแห่งกองทุกข์ทั้งปวงแล้ว ความดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นแล้ว
(ข้อนี้เรายังไม่ถึงรู้เพียงปริยัติเท่านั้น แต่รับรู้ได้บ้างในทางโลกด้วยนิโรธที่เกิดจากการปฏิบัติที่เป็นกุศลพ้นความยึดมั่นถือมั่นในทางโลกียะ)



นิโรธ เป็นผลจากวิราคะ เป็นวิมุตติ หลุดพ้นแล้ว



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 14, 2015, 12:46:07 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #97 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2015, 07:52:52 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐาน สัญญา ๑๐ โดยย่อที่เป็นหัวใจของสัญญา ๑๐ ที่เราพอจะมีปัญญาเห็นได้ # ๒

สัญญา ๑๐ ความกำหนดหมาย, สิ่งที่ความกำหนดหมายไว้ในใจ มี ๑๐ อย่าง (โดยส่วนตัวเราเห็นว่า พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, และ การเลือกธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ ละธรรมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์ มีอยู่ใน สัญญา ๑๐ นี้ ทั้งหมด) คือ




       ๘. สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา      
อุปายะ และ อุปาทาน อันนอนเนื่องในอนุสัยจิตโดยอาการเจริญสติ ปัญญา โดยการงดเว้น และ ไม่ถือมั่น
(ที่เราเห็นกรรมฐาน คือ เห็นไตรลักษณ์ ทุกอย่างเป็นเพียงสมมติ ทุกอย่างเป็นเพียงสภาวะธรมไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งใดๆรู้แต่ไม่เสพย์ จนให้มันเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น)

- ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน : ปุถุชนอย่างเราๆเมื่อได้ลิ้มรสในข้อที่ ๑-๗ แล้ว เข้าถึงใจจริงๆแล้ว มีโอกาสได้สัมผัสนิโรธบ้างแล้ว แม้จะเพียงโลกียะก็ตาม สัมมาทิฐิของแท้ก็เกิดเห็นตามจริง นิพพิทาญาณก็ย่อมเกิดมีขึ้น ความไม่ยึดจับเอาสิ่งไรๆที่จิตรู้สมมติย่อมเกิดขึ้นอยู่เป็นนิจย์ เจตนาที่จะไม่ยึดเอาสิ่งสมมติเหล่าใดย่อมมีขึ้นแน่วแน่ขึ้น ไม่ยึดถือเอาอะไรในทางโลกทั้งสิ้น

- แต่ สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา จะเกิดมีขึ้นโดยใจตั้งมั่นได้ ก็ต้องทำนิโรธให้แจ้ง นิโรธนี้แจ้งใจเท่าไหร่ก็แน่วแน่ได้มากเท่านั้น ทำให้เรารู้เห็นดังนี้ว่า

ก. กิเลสทั้งปวง จะเกิดขึ้นมีได้ ก็เพราะจิตรู้และเสพย์สมมติของปลอมไม่รู้จริงนี้แล
ข. อารมณ์หรือสิ่งที่เป็นทางโลกทั้งปวง จะเกิดมีขึ้นได้ ก็เพราะจิตรู้และเสพย์กิเลสนี้แล
ค. อารมณ์หรือสิ่งที่เป้นทางโลกดับ อารมณ์ธรรมอันเป็นนิโรธจึงเกิดมีขึ้นได้


   นิโรธทางโลกียะที่เราเคยได้สัมผัสก็มีหลายระดับดังนี้คือ

๑. ระดับแรกๆของปุถุชนก็เป็นสภาวะที่ทุกข์ดับเกิดสุข
๒. ระดับต่อมาก็เกิดเป็นกุศลจิตอิ่มเอมร่มเย็นเป็นสุขเนื่องจากปราศจากกิเลสอกุศล ณ เวลานั้น
๓. ระดับต่อมาก็เกิดแต่กุศล สติ สมาธิ ถึงความไม่สุขไม่ทุกข์อิ่มเอมร่มเย็นแนบแน่นอยู่
๔. ระดับต่อมาก็เกิดจากการปหานกิเลสได้ แม้จะยังกดทับอยู่ ยังไม่อาจจะตัดขาดได้เลย แต่ความอิ่มเอมสุขที่ปหานยับยั้งกิลสให้ดับลงได้บ้าง นิโรธก็ย่อมเกิดมีขึ้นเป็นสุขยิ่ง
๕. ระดับต่อมาก็เกิดจากสภาวะที่เห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน รู้สมมติ เห็นของจริง แล้วจิตไม่จับเอาสมมติ ตัดสมมติได้บ้างแล้วมาจับเอาแต่สภาวะธรรมจริง หรือจับที่จิตอันเป็นสุขนั้นบ้าง จิตอยู่ที่ลมหายใจตลอดเวลา มีลมหายใจเป็นเครื่องยึด เพราะเป็นของจริงเป็นกายสังขาร เป็นของใกล้ตัวที่ยึดง่ายสุดเห็นง่ายสุด โดยไม่ยึดถือสิ่งสมมติอีกบ้าง
๖. ระดับต่อมาก็วิราคะเกิดขึ้นตัดขาดสิ้น นิโรธก็เกิดแจ้งเป็นวิมุตติสุข(ตรงนี้มีแต่พระอริยะเจ้าเท่านั้นที่รู้ เพราะละสังโยชน์ได้แล้ว)

  หลวงปู่บุญกู้ ท่านได้เทสนาสอนว่า...
- ทำไมพระพุทธเจ้าให้ดูลมหายใจ เพราะลมเป็นกายสังขาร ร่างกายนี้ต้องการลมเพื่อดำรงชีพ ไม่มีลมหายใจมันก็ตาย แขนขาด ขาขาดนี้เรายังไม่ตาย แต่ขาดลมนี้ตาย ดูง่ายสุดใกล้ตัวสุด ยกจิตขึ้นได้ดีสุด เป็นที่ยึดดีสุด ประเสริฐสุด
- แต่บางคนดูลมเฉยๆไม่พอ จิตไม่มีกำลัง จิตหลุดจากลมง่าย ส่งจิตออกนอกง่าย ไม่จดจ่อที่ลมหายใจ สติไม่จับที่ลม ดังนั้นครูบาอาจารย์สายพระป่าท่านจึงให้ระลึกเอาพุทธานุสสติด้วย คือ พุทโธ กำกับไว้ตามลมให้ใจเข้าและออกเพื่อให้จิตมีกำลังจับได้ง่ายขึ้น และพุทโธนี้คือพุทธคุณมีอานิสงส์มาก ทำให้เข้าถึงความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านั้น





       ๙. สัพพะสังขาเรสุ อะนิฏฐะสัญญา      
สังขารทั้งปวงโดยอาการเจริญสติ ปัญญา โดยความรู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชัง แต่ สังขารทั้งปวง
(ที่เราเห็นกรรมฐาน คือ ปฏิฆะ ต่อ ขันธ์ ๕ ทั้งภายในและภายนอกตน ปฏิฆะต่อสมมติ เป็นปฏิฆะต่อกิเลสและเครื่องล่อใจทั้งหลาย เป็นปฏิฆะต่อนามรูปเหล่าใดอันเป็นไปทางโลก, ไม่มีความยินดีในขันธ์ ๕ และ ธาตุ ๖ อีก ด้วยพิจารณาเห็นใน ๘ ข้อสัญญาข้างต้นนั้น)

- ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน : เพราะรู้ เพราะตื่น และรับรู้ความเบิกบานบ้างแล้ว เห็นแล้วในสัญญา ๑๐ จนครบ ๙ ข้อข้างต้นความทำไว้ในใจว่าสังขารทั้งปวงเหล่านี้ที่เราเห็นเป็น ขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ อายตนะ ๑๒ ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งภายในและภายนอกกายใจตน ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของทั้งเครื่องอุปโภค-บริโภค เครื่องใช้ปรนเปรอตามความพอใจตนและเครื่องอยู่อาศัย ทั้งงดงาม ประณีต กลาง หยาบ ที่รัก หรือเกลียด หรือเฉยๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ประกอบด้วยคุณ ไม่ใช่สุขที่ยั่งยืน ไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่กับเราจนวันตาย ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอมตะสุข เป็นของเน่าเหม็นน่ารังเกลียด เป็นสิ่งที่มีโทษ ไม่ประกอบด้วยคุณ เป็นสิ่งที่สร้างความเดือนร้อนและฉิบหายมาให้ เป็นสิ่งที่น่ารังเเกลียด เป้นเพียงธาตุไม่มีสิ่งใดเกินกว่านี้ เป็นแค่สภาวะธรรมที่ยังความฉิบหายมาสู่ตน

**  การที่ทำไว้ในใจแบบนี้ เป็นการตั้งปฏิฆะเพื่อให้จิตไม่ยินดีต่อสังขารทั้งปวง แม้เริ่มแรกจะเป็นการใช้โทสะก็ตาม แต่จัดเป็นการเลือกโทมนัสที่ควรเสพย์ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่ท้าวสักกะเทวราช เป็นการเลือกธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ พอเมื่อเป็นที่ระอาแก่ใจแล้ว ความจำได้หมายรู้ว่าสิ่งนี้ๆงดงาม สิ่งนี้ๆเป็นสุข สิ่งนี้ๆยั่งยืน สิ่งนี้ๆมีตัวตน สิ่งนี้ๆเป็นเรา สิ่งนี้ๆเป็นของเรา เราควรแก่สิ่งนี้ๆ สิ่งอื่นเหล่าใดนอกจากนี้ไม่ควร เป็นการทะลายความกำหนัดยินดี จนเมื่อไม่มีฉันทะราคะในสิ่งเหล่านั้นแล้ว จะไม่เกิดมีแม้ความแสวงหา ความชอบหรือชังทั้งสิ้น แต่เห็นว่าไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ ไม่มีความจำเป้นที่จะต้องเสพย์มันอีก นี้คือที่เราได้พบเจอเมื่อเลิกเหล้าและความบ้ากามเซ็กซ์จัด โดยกรรมฐานของพระพุทธเจ่า พระธรรมของพระพุทธเจ้า และมีสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ได้แก่ หลวงน้าพระครูนกแก้ว หลวงปู่แหวน หลวงปู่อินตอง หลวงปู่บุญกู้ หลวงพ่อเสถียร ท่านได้เทสนาสั่งสอนและได้สอนกรรมฐาน ได้สอนในสิ่งที่พระอรหันต์รู้และเจริญ ทำให้เรามีโอกาสได้สัมผัสเมื่อมีช่วงเวลาที่สิ่งเหล่านี้ดับสงัดไปอยู่นานถึง 3 เดือนกว่าๆ เกือบ 4 เดือน ทำให้ได้ลิ่มรสความเข้าถึงพระธรรมเป็นอย่างไรโดยแท้จริง

(ทีฆนขสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=13&A=4661&Z=4768)




       ๑๐. อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
(ที่เราเห็นกรรมฐาน คือ อานาปานสติ, พุทธานุสสติ+อานาปานสติ(พุทโธ หรือ อรหัง), เห็นตามจริงว่าลมหายใจนี้คือธาตุเป็นของจริงที่มีอยู่ในกาย หาความยินดีในการให้จิตรู้ของจริงก็คือลมหายใจเรานี้แหละ เป็นกายสังขาร)

- ผู้รู้ ผู้ตืน ผู้เบิกบาน : เมื่อได้เป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มาบ้างแล้วแม้จะโลกียะก็ตาม แต่ก็ทำให้เราเห็นว่าของจริงๆทีอยู่จริงเมื่อได้เข้าถึง สัญญา ทั้ง ๙ ข้อ ข้างต้นนั้น มันไม่มีอะไรอื่นที่จะให้ยึดจับอีกนอกจากลมหายใจ เพราะลมหายใจนี้คือของจริงที่สุดเป้นของจริงแท้แน่นอน ร่างกายนี้ขาดลมหายใจมันก็ดับสูญไป ไฟ อาโป ปฐวี อากาศ วิญญาณ ก็ดับไปไม่มีอยู่ในกองขันธ์นี้ได้อีก หากเราได้เข้าถึงธรรมจริงๆแล้วจะเห็นว่า จิตมันไม่ยึดไม่เอาสภาวะธรรมไรๆทั้งสิ้นเพราะมันเห็นเป็นของปลอมของไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ เห็นว่ามันก็แค่สภาวะธรรมเท่านั้น ถ้าเมื่อเข้าสมาธิ จิตมันก็อยู่ยิ่งได้โดยไม่วิ่งแลนล่องลอยด้วยอำนาจแห่งสมาธิฌาณ หรือสมาบัตินั้นเอง แต่เมื่อปกติอยู่นี้จิตมันต้องอาศัยที่ยึดเพื่่อที่จะสามารถรับรู้สภาวะธรรมภายนอก ผัสสะ สภาวะธรรมภายในตามจริงโดยไม่เสียหลัก ดังนั้นเมื่อจิตเห็นทุกสิ่งเป็นสมมติเห็นสังขารทั้งปวงไม่ใช่ที่ยึดมั่นถือมั่น เมื่อจิตมันไม่มีที่ยึด มันจะไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เฉยๆ ไม่ขุ่นมัน แต่มันไม่ผ่องใส เพราะสภาวะธรรมมันรายล้อมอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ดำรงชีวิตประจำวันอยู่ อยู่เราๆปุถุชนคนธรรมดามันจึงเป็นอย่างนี้เพราะยัวงไม่ถึงสันดานแห่งพระอริยะเจ้า ดังนั้นกิเลสมันจึงยังจรมาอยู่ทุกขณะ ขันธ์ไม่แยกกันตลอด ก็จึงต้องอาศัยลมหายใจนี้แหละเป้นหลักให้จิตเป็นที่ยึดให้จิต เป็นของแท้ของจริงไม่มีอื่นอีก ประดุจพระพุทธเจ้าตรัสสอนพระสารีบุตรว่า ตถาคตมีอานาปารสติเป็นอันมาก ตถาคตรู้ลมหายใจอยู่ทุกขณะตลอดเวลาไม่ขาดไป อานาปานสติเป็นกรรมฐานอันประเสริฐ เราก็พึ่งมาเข้าใจเมื่อเห็นสภาวะธรรมมันแยกกันบ้างเล็กน้อย จิตไม่ยึดไม่จับไม่เสพย์สิ่งใดๆไม่เอาอะไรเลยแต่มันรู้สึกตรึกๆหนักๆไม่ผ่องใส เคว้งคว้าง จนเมื่อรู้ว่าจิตไม่มีหลักยึดเพราะยังเป็นปุถุชนอยู่เลยเอาจิตจับของแท้คือลมหายใจอยู่ทุกขณะอาการนี้จึงหายไปไม่เกิดขึ้นอีกเลย
- อานาปานสติ+พุทโธ นี้แหละทำให้ถึงซึ่ง ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน โดยแท้จริง หากอยากพ้นทางโลก ก็ต้องเจริญอานาปานสตินี้แล เพราะอานาปานสติเป็นอารมณ์ธรรมไม่ใช่อารมณ์ทางโลก เป็นอารมณ์ทางธรรม ผู้ที่ถึงธรรมเท่านั้นถึงจะเข้าถึงอานาปานสติได้  เพราะ พุทโธ คือ พระพุทธเจ้า ไม่ใช่อารมณ์ทางโลก แต่เป็นอารมณ์ทางธรรมเป็นอารมณ์แห่งมรรและผล หากจิตเป็นไปในทางโลกจะไม่สามารถถึงพุทโธได้ พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณของพระพุทธเจ้าและผู้ที่ปฏิบัติถึงผล ๔ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเท่านั้น ปุถุชนทางโลกหรืออะไรที่เป็นทางโลกๆย่อมไม่มีพุทโธ ผู้ที่มีสันดานแห่งพระอริยะเจ้าเท่านั้นที่จะทำทุกอย่างให้เป็นไปเพื่อพุทโธได้
- อารมณ์ทางโลก คือ โลกียะ ประกออบไปด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมอง แสวงหาสิ่งปรนเปรอตน มีความสุขอยู่บนของไม่เที่ยง
- อารมณ์ทางธรรม คือ โลกุตระ ประกอบไปด้วยความพ้นจากเครื่องเศร้าหมองกายใจทั้งปวง มีสุขอยู่ที่ความหมดสิ้นไปแห่งกิเลส เมื่อหมดกิเลสก็ไม่มีทุกข์เกิดขึ้นอีกเลย เป็นอมตะสุข
- อารมณ์ทางโลก มันเป็นทุกข์ เพราะประกอบไปด้วยกิเลส รัก โลภ โกรธ หลง แสวงหาความสุขบนสิ่งไม่เที่ยง อาศัยสิ่งไม่เที่ยงมาเป็นสุขของตน
- อารมณ์ทางธรรม มันเป็นสุข เพราะไม่ประกอบไปด้วยกิเลส มีสุขอยู่บนความหลุดพ้นจากสิ่งไม่เที่ยง-ไม่มีตัวตน ดับความรัก โลภ โกรธ หลงทั้งปวง

  หลวงปู่บุญกู้ ท่านได้เทสนาสอนว่า...
- ทำไมพระพุทธเจ้าให้ดูลมหายใจ เพราะลมเป็นกายสังขาร ร่างกายนี้ต้องการลมเพื่อดำรงชีพ ไม่มีลมหายใจมันก็ตาย แขนขาด ขาขาดนี้เรายังไม่ตาย แต่ขาดลมนี้ตาย ดูง่ายสุดใกล้ตัวสุด ยกจิตขึ้นได้ดีสุด เป็นที่ยึดดีสุด ประเสริฐสุด
- แต่บางคนดูลมเฉยๆไม่พอ จิตไม่มีกำลัง จิตหลุดจากลมง่าย ส่งจิตออกนอกง่าย ไม่จดจ่อที่ลมหายใจ สติไม่จับที่ลม ดังนั้นครูบาอาจารย์สายพระป่าท่านจึงให้ระลึกเอาพุทธานุสสติด้วย คือ พุทโธ กำกับไว้ตามลมให้ใจเข้าและออกเพื่อให้จิตมีกำลังจับได้ง่ายขึ้น และพุทโธนี้คือพุทธคุณมีอานิสงส์มาก ทำให้เข้าถึงความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านั้น






คัดลอกหัวข้อมาจาก พระอาจารย์สนทยา ธัมมวังโส (เพราะเห็นว่าความหมายจากการปฏิบัติถูกต้องกว่า ที่คัดลอกมาจากเวบธรรมมะไทย ความหมายจากธัมมโชติ)
ขอบคุณที่มาจาก  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=75.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2015, 09:33:01 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #98 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2015, 09:22:02 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 21-23 เมษายน 2558





    หลังจากที่เราได้รู้ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ได้พิจารณาม้างกายออกมาเป็นส่วนๆก็ไม่เห็นมีตัวตนเราในนั้น ไม่อายตนะภายนอกก็ไม่เที่ยง ไม่มีในเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแล้ว โดยปกติเราจะทำสมาธิก่อนนอนทุกคืน บางครั้งก็มองไปในที่มืดในขณะที่หลับตาพร้อมรู้ลมหายใจและบริกรรมพุทโธไป

    เมื่อเราทำสมาธิโดยเพิกมองไปในที่มืดที่เราหลับตาอยู่ มองดูกำหนดหมายว่าความมืดไม่เห็นอะไรไม่มีประมาณนี้เป็นอากาศบ้าง จากนั้นก็มองไปหมายตาในที่จะมองเห็นเพดานห้องแม้หลับตาไม่ได้แหงนมองดูบ้าง ช่วงนี้จะมีสัญญาเกิดบ้างว่าเพดานห้องเป็นอย่างนี้ๆตามที่เราเคยมอองเห็นยามเช้าเมื่อลืมตาแหงนมอง (เหมือนที่เคยทำเมื่อตอนยังเด็กต่างกันเพียงตอนนี้กำหนดเอาความมืดบ้าง กำหนดว่าเป็นอากาศความมืดนั้นคือทึี่ว่างไปไม่มีประมาณเหมือนห้วงความมืดที่ว่างในจักรวาลบ้าง) ก็เกิดนิมิตเหมือนตาไปมองเห็นนิมิตชัดเจนถึงสิ่งหนึ่งเป็นก้อนสีขาวนวลหน่อย จะว่าก้อนปูนก็ไม่ใช่ ก้อนหินก็ไม่ใช่ มันบังคับเข้าไปมองให้ชัดขึ้นได้ ใหญ่ขึ้นได้ ถอยออกมาได้ แล้วก็นิ่งแช่ไม่ขยับจากตรงนั้น มันจ้องมองนิ่งแช่อยู่นานมากก็ไม่จางหายไป โดยสภาวะแรกมันแค่เห็นแล้วนิ่งแช่เพ่งดูอยู่ในสิ่งนั้นเท่านั้น ไม่มีความตรึกนึกคิดส่วนไรๆ ("สภาวะนี้สมัยเมื่ออายุ 14 ปี เราได้เคยทำ แต่เมื่อก่อนไม่รู้จักสมาธิ เพียงแค่อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นมากเลยอยากถอดจิตได้ ก็เลยทำเล่นๆโดยนอนแล้วเอาผ้าห่มหนาๆคลุมปิดทั้งตัวและหัว การหายใจก็ไปแบบผ่วเบาพอที่จะรับอากาศจากช่องว่างของผ้าและผ้าฝ้ายของผ้าห่ม แล้วก็กำหนดว่าเราจักมองเห็นเพดานห้องถ้ามองเห็นเมื่อไหร่เราก็จะไปดูหรือไปหาบุคคลที่เราต้องการจะดูบ้าง สถานที่ที่เราต้องการจะไปบ้าง แล้วก็เกิดเห็นตามนั้นก็เคยได้ไปตามเพื่อนในสมัยตอนเด็กนั้นเขาก็บอกว่าจริงตามที่เราเห็น")
    พอรู้ตัวมันก็เพ่งมองในสิ่งนั้นด้วยรู้ว่าคืออะไร พอหลุดออกมาอีกมันก็เกิดความรู้ตัวว่าทำสมาธิอยู่ สิ่งที่เห็นคือนิมิตอันเกิดแก่สมาธิ เพราะเรากำหนดใจไว้ที่จะมองไปในที่มืดอันกว้างแล้วมีจิตตั้งไว้ให้เห็นนิมิตหรือรูปภาพ ณ ที่นั้นที่นี้ เสียง ณ ที่นั้นที่นี้ หลังจากเกิดสภาวะนี้ได้นานประมาณ 7-10 นาที แล้วมันก็ดับไปเพราะจิตมันตื่นตัวไปรู้โดยวิตกสมมติมากขึ้น เมื่อพิจารณาดีๆแล้วก็เห็นว่า กสินท่านเพ่งอย่างนี้เองหนอ กสินมันเป็นอย่างนี้เอง


    เมื่อตื่นรู้ตัวก็พุทโธ ก็ทำให้ความกำหนัดยินดีในกามสงัดไป ช่วงวันและเวลานี้ ประมาณกลางคืน ช่วงเวลา 00.30 - 2.00 น. ของวันที่ 21-23 เรามักจะรู้ตัวอยู่โดย ตัวรู้แยกออกจากกาย แยกออกจากความตรึกนึกคิด แลเห็นว่า มันเกิดความตรึกนึกพิจารณาใน อสุภะสัญญา หรือ อาการทั้ง ๓๒ ในกายตน เปล่งวาจาออกมาเหมือนคนละเมอเป็นทั้งบาลีและคำแปลครบอากาทั้ง ๓๒ และในขณะบริกรรมนั้นมันก็เกิดนิมิตในกายตนเป็นส่วนต่างๆไปตามคำสวดพิจารณานั้น ซึ่งทั้งๆที่เราไม่เคยท่องจำอาการทั้ง ๓๒ ได้เลย ไม่เคยได้สวดครบและจำได้เกิด เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง เลยสักครั้ง แต่มันก็ช่วยยังให้จิตคลายกำหนัดได้มากในช่วงเวลานั้น พอเมื่อตัวรู้มันรู้ดังนี้โดยแยกจากกายก็ดี สังขารก็ดี มันนิ่งแช่ดูอยู่จนจบแล้วก็ตื่นขึ้นมา ตลอดตั้งแต่ วันที่ 21-23 เมษายน 2558
    เมื่อเราได้มาหวนระลึกพิจารณาก็เห็นว่าอาจจะด้วยสัญญาที่เราจดจำไว้ว่าหากเราม้างกายในฌาณได้ตามจริง เราจะบรรลุโสดาปัตติผลทันที มันจึงเกิดความสำคีัญมั่นหมายใจไว้อย่างนี้ๆจนนำมาฝันละเมอก็เป็นได้ แต่ในอีกส่วนหนึ่ง เมื่อมันพิจารณาอย่างนี้แม้ในขณะหลับก็ตาม มันก็ยังคุณประโยชน์ให้คลายกำหนัดได้มากขนาดนี้แม้จะเพียงชั่วคราวก็ตาม ถ้าเราสามารถทำได้ตามจริงจะทรงคุณค่าขนาดไหนกันหนอ


    ทุกเช้าในช่วงของวันที่ 21-25 เราจะพาอั่งเปาไปทำบุญ ถวายภัตรแก่พระอริยะสงฆ์ กวาดล้างกุฏิลานวัดที่กุฏิหลวงปู่บุญกู้เป็นประจำไม่ขาด แล้วก็พาอั่งเปาทำสมาธิทุกวัน และ สติวการเรียนให้ ซึ่งหลังจากลูกไปกวาดลานวัด นั่งสมาธิ และ พระอาจารย์มหาณัฐพงษ์ และ ครูบาอาจารย์สายพระป่าจาก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร พระอริยะสงฆ์และพระสุปฏิปันโนทั้ง ๓ ท่าน ได้สอนอั่งเปานั่งสมาธิ รดน้ำมนต์และเคาะหัวให้อั่งเปา (ระอาจารย์มหาณัฐพงษ์ ท่านมาจากวัดป่าที่อเมริกาเพื่อมานำพระพุทธรูปและรูปหล่อของหลวงตามหาบัวที่ญาติโยมสร้างถวายจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ กลับวัดป่าที่อเมริกา)
ก็ทำใ้อั่งเปามีความรับผิดชอบมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น จดจำได้ดีขึ้นตามลำดับด้วย นั่นคงเป้นอานิสงส์จากสมาธิและคำสอนสั่งจากครูบาอาจารย์เป็นแน่แท้


** อาการที่สังขารมันตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวสมมติไปเรื่อยๆ โดยมีตัวรู้คือจิตที่เกิดประกอบกับสติแลดูรู้ทันอยู่ทุกขณะ แต่จิตไม่ได้ยึดเอามาร่วมเสพย์กับสังขาร สภาวะนี้โดยส่วนตัวของเราเรียกว่า "สภาวะที่จิตแลดูอยู่" "ไม่ใช่สภาวะรู้หรือตามรู้" มันจะเห็นสังขารแยกกับจิตโดยสิ้นเชิง ซึ่งสภาวะนี้เมื่อได้ฌาณโดยประมาณปี เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 อาการนี้จะมีอยู่ตลอดทั้ง 3 วัน 3 คืน จึงทำให้รู้จักคำที่หลวงพ่อปราโมทย์บอกว่าหลวงปู่ดุลย์ท่านบอกให้ตามรู้ ตามดูจิตไป ผลมันเป็นอย่างนี้เอง คือ ที่พระพุทธเจ้าตร้สสอนไว้ในสติปัฏฐานสูตรว่า "มีไว้รู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์" มันเป็นอย่างนี้เอง





บันทึกกรรมฐานวันที่ 26 เมษายน 2558 เวลา 00.30 น. - 2.00 น.


    วันนี้ก็ได้เห็นตัวรู้แยกจากสังขารอีกเช่นเคย แต่ครั้งนี้ในนิมิตที่มันเห็นอยู่นั้น เป้นสีทองสว่างไสว มองไปไกลไม่มีที่สุด แต่เห็นความมีความพุงขึ้นเป้นแท่งบ้างเหมือนเสา แล้วก็พังลม วนอยู่อย่างนั้น เหมือนเพลิกไฟของดวงอาทิตย์ที่ลุกไหม้อยู่มีสะเก็ดไฟพุ่งขึ้นก็ว่าได้ "ในขณะนั้นเราสักแต่เพียงรู้และเห็นสีทองอยู่เท่านั้น ไม่มีความตรึกนุึกคิดสิ่งใดๆเลย แล้วไม่นาน จิตมันก็เกิดวิตกสลดสังเวชขึ้นมาเมื่อเห็นนิมิตนั้นว่า "คนทั้งหลายเหล่านี้น่าสงสารจริงหนอ ยังโง่งมงายอยู่ มีความสุขลุ่มหลงอยู่กับของไม่เที่ยง" ทั้งๆที่เห็นเพียงสีแล้วก็สิ่งที่เป้นเหมือนแท่งเสาเกิดขึ้นแล้วก็พังสลายไปจะเหมือนเสาอโศกก็ว่าได้" เมื่อจิตหลุดจากตรงนั้นก็ยังให้จิตผ่องใสไม่ยึดเอาสิ่งไรๆทั้งนั้นเหมือนกับว่าตนได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จากนั้นก็หลับต่อ พอตื่นขึ้นมาเมื่อหวนระลึกถึงอารมณ์นั้นคราใดก็ยังให้จิตคลายจากอุปาทานตัวตนทั้งปวงสิ้นไป ประดุจเหมือนผู้ที่ได้เห็นธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว อารมณ์นี้เมื่อทรงอยู่ได้ไม่นานก็ดับไป แต่มันจะเกิดขึ้นมาอีกทุกครั้งเมื่อหวนระลึกถึงอารมณ์และนิมิตเหล่าใดที่เกิดมีขึ้นในตอนนั้น จนถึงวันนี้ วันที่ 29/4/58 ก็ยังมีอยู่





 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 13, 2015, 10:31:43 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #99 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2015, 10:31:19 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

บันทึกกรรมฐานวันที่ 10/5/58 เวลาประมาณ 12.00 น.

       วันนี้เราไปกวาดลานวัดที่กุฏิหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ขณะกวาดได้พึงคิดว่า ผู้คนที่มาทำบุญที่วัดทั้งหลลายมาเพราะอยากได้บุญอยากรวยจากผลทานเพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระอริยะสงฆ์ แต่ไม่มีใครมาหาหลวงปู่เพราะอยากรู้ธรรมและบรรลุธรรมตามบ้างเลย ถึงแม้เรานี้จะบุญบารมีน้อย ไม่รวยไม่มีตำแหน่งหน้าตาที่ดีพอที่จะเข้าไปขอธรรมและพูดคุยกัยหลวงปู่ได้อย่างเจ้าขุนมูลนายเหล่านั้น แต่เราก็ทำเพื่อความถึงซึ่งพระนิพพาน ไม่ได้มาทำเล่นๆ หรือ หวังรวยล้นฟ้ามีอำนาจบารมี
       เมื่อมาดูที่ตนแล้ว แม้เราเองก็มีความหวังเช่นนี้เหมือนกันไม่ต่างจากเขาเลย ถึงแม้จะไม่รุนแรงมากขนาดเจ้าขุนมูลนายหรือคนที่คิดว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ สูงส่งอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มันก็เป็นความปารถนาเหมือนกัน คือ อยากร่ำรวยอยากมีเงินทองมากมายไว้ให้ลูกหลานใช้จ่ายอยู่อย่างสุขสบายไปตลอด เลี้ยงดูพ่อแม่มีเงินมากมายดูแลพ่อแม่และเป็นเสาหลักของบ้านได้ มีเงินทำบุญมากมายได้อย่างไม่ขัดสน เจริญในหน้าที่การงาน การเงิน ความรัก และ การเรียนรู้ทั้งหลาย เจริญทั้งทางธรรมและทางโลก จนเข้าถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ถึงพระนิพพานตามพระพุทธเจ้านั้น เป็นคนฉลาดๆ หัวไวๆ มีควาจำเป็นเลิศ มีหัวพลิกแพลงมีไหวพริบ แก้ปัญหาได้ทุกอย่างโดยง่าย เป็นผู้ฉลาดไม่มีที่สิ้นสุดสามารถไขปัญหาข้อข้องใจให้ผู้อื่นได้รู้ตาม ได้เห็นธรรมตามที่พระัพุทธเจ้าตรัสสอน ช่วยคนทั้งหลายให้หลุดพ้นทุกข์ตามได้ สามารถประกาศเผยแพร่ธรรมของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาให้ขจรไกลไปทั่วและยืนนานได้ นี่มันก็ปารถนาไม่ต่างจากเขาเลย


       สักพักเมื่อสติเกิดรู้ว่าตนส่งจิตออกออกอยู่ ทั้งๆที่ตั้งใจจะกวาดตราดแล้วเจริญสมาธิไปด้วย เพราะเป็นธุดงวัตร ๑๓ จึงได้คิดมองดูตนดั่งหลวงปู่เทศนาสอนว่า "เรามัวไปดูแต่คนอื่นไปรู้คนอื่น ก็ไม่รู้ตนเอง ไม่เห็นกิเลสตน ดังนั้นให้มองดูที่ตนเอง อย่าไปสนคนอื่น, การที่เราไปโกรธคนอื่น เบียดเบียนคนอื่น เพ่งโทษผู้อื่นนั้น ก็เพราะเมตตายังไม่มี เมตตาเป็นฐานให้ศีลบริสุทธิ์ ต้องมีเมตตาศีลให้มาก คือ มีความปารถนาดีอันน้อมไปในการสละให้, ความเป็นมิตรที่ดี(ความเป็นมิตรที่ดี คือ สภาวะที่จิตเรานี้มีไมตรีสัมพันธ์ที่ดีต่อเขา ไม่มีความผูกแค้นตั้งความชอบใจและ ไม่ชอบใจต่อเขา ความที่ให้การสนิทชิดเชื้อต่อกัน มีจิตแบ่งปันสิ่งที่ดีงามในกุศลต่อกัน ไม่ผูกเบียนเบียนทำร้ายกันทั้งทาง กาย วาจา ใจ ประดุจดั่งคนในครอบครัวอันเป็นที่รักของตน เป็นต้น)"

       ดังนั้นจึงมารู้ตนว่าเรานี้มีจิตเศร้าหมองเพราะไปติดใจข้องแวะกับผู้อื่น ใจแคบกับคนอื่น อิจสาผู้อื่น เรานี้ก็ได้เห็นสืบตามที่หลวงปู่สอน ทำให้เราเห็นว่า..

- ความเป็นมิตรที่ดีต่อผู้อื่น เว้นจากผูกเวร การเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นแม้โดยเจตนา จะเกิดมีได้ก็ต้องอาศัย เมตตา เป็นฐานทั้งสิ้น
- ความสงเคราะห์ผู้อื่น อนุเคราะห์ แบ่งปัน อดโทษต่อผู้อื่น ความมีจิตน้อมไปในการสละให้ สละเสียซึ่งความใคร่ได้ที่จะเสพย์ปรนเปรอตน สลัดทิ้งความผูกขัดใจจนเกิดเป็นทาน และ อภัยทานตามมานี้ ก็เป็นเพราะอาศัย กรุณา เป็นฐาน เกิดร่วมกับเมตตาทั้งสิ้น
- ความที่เราไปขัดใจ ข้องแวะใจ ไม่ยินดี อิจสาริษยาผู้อื่น เราจะทำลายมันได้ก็ด้วย มุทิตา
- ความไม่ยึดถือเอาทั้งโลภทั้งโกรธ ทั้งชอบและไม่ชอบ ยินดีและไม่ยินดีนี้ คือ อุเบกขา ความวางใจไว้กลางๆไม่ลำเอียงเพราะรัก เพราะชัง เพราะไม่รู้ เพราะกลัว ไม่ยินดียินร้ายกับมัน เห็นว่าเป็นตามแต่บุญกรรมของเราและเขาที่สะสมมาทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ส่งผลให้ได้พานพบเจอ


       เมื่อเห็นดังนี้แล้วจึงเห็นว่า เพราะนิจจะสัญญาและอัตตะสัญญา ที่มองว่าเที่ยงว่าเป็นตัวตนเป็นเราเป็นเขา สิ่งนี้ควรและไม่ควรแก่เขาหรือเรา สิ่งนี้ๆเราควรมีควรได้และไม่ควรมีควรได้แก่เขาหรือเรา นี้แหละคือเหตุให้ไม่ถึง พรหมวิหาร ๔ แบบเจโตวิมุตติสักที ดังนั้นเราจึงได้ละอัตตาเราลงเสียจิตก็สงบขึ้น

       เมื่อกวาดตราดต่อก็คิดอีกว่าเราจะทำอย่าไรถึงจะได้หลุดจากทางโลกอันเป็นทุกข์ได้ ก็คิดอยู่สักพักก็นึกถึงว่าถ้าเราถามข้อข้องใจกับหลวงปู่บุญกู้ก็คงดี หรือ มีครูบาอาจารย์สักท่านคอยชี้แนะสั่งสอนแต่สามารถสอบถามได้ทุกเมื่อก็คงดี แล้วจิตก็น้อมคิดถึงหลวงน้า(พระครูแก้ว) เมื่อคิดถึงครูบาอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน สักพักจู่ๆก็มีความคิดแวบนึงเข้ามาว่า "หากเราอยากพ้นทางโลก ก็ละสิ่งใดที่ทำให้เกิดความเป็นในทางโลกเสียสิ" แล้วจึงหวนตรึกนึกคิดต่อว่าสิ่งที่เป็นทางโลกก็คือ

- ก็ที่เรานี้แหละหวนคิดไปขัดแย้งขัดใจไม่พอใจคนนั้นคนนี้อยู่ เห็นว่าสิ่งนี้ๆไม่เหมาะควรแก่เราบ้าง นี่ก็เป็นทางโลก
- ก็ที่เราอยากมีนั้นมีนี้ อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ เห็นว่าสิ่งนี้ๆเหมาะควรแก่เราบ้าง นี่ก็เป็นทางโลก
- ก็ที่เราเห็นเขามีเขาเป็นแล้วอยากได้อยากมีอยากเป็นตามเขาบ้าง หรือไท่พอใจอิจสารอษยาเขาจนเคียดแค้นบ้าง นี่ก็ทางโลก
- ความที่ไม่รู้เห็นตามจริงในสภาวะธรรมทั้งปวง ความลุ่มหลงในสภาวะธรรมทั้งปวงจนเข้าไปฝักใฝ่ใคร่ได้แสวงหาที่จะเสพย์ จนยึดมั่นถือมั่นว่าสภาวะธรรมทั้งปวงยั่งยืนนาน เป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา  เป็นที่ควรและไม่ควรแก่ตน หรือ ควรและไม่ควรต่อใคร ความยึดมั่นถือมั่นเห็นเป็นสิ่งที่ยั่งยืน เป็นตัวตนทั้งสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ เกิดความแสวงหาเหล่าใดอยู่เพราะไม่รู้ว่ามันคือทุกข์ ปล่อยวางจากอุปาทานไม่ได้ นี่ก็ทางโลก





       เมื่อทบทวนกลับไปกลับมา เราก็สรุปโดยย่อได้ว่า ความเห็นว่าเที่ยง ว่าเป็นตัวตน อามณ์ปรุงแต่งให้เป็นไปใน รัก โลภ โกรธ หลง เหล่าใด สิ่งเหล่านี้เป็นทางโลกทั้งหมด หากเราจะพ้นทางโลก ก็ต้องละความเป็นตัวเป็นตนทางโลกไปเสีย เราจะละตัวตนทางโลกนี้ได้ก็ต้องละที่ความเห็นในทางโลกนั้นเสีย ละความเห็นสมมติทางโลกได้ก็ต้องละความคิดทางโลกเหล่านี้ไปเสีย ซึ่งความคิดทางกุศลธรรมจะไม่มี รัก โลภ โกรธ หลง ติดยึดในสุข ทุกข์ เฉยๆ เกลียด รัก ชอบ ชัง แสวงหา
       ดังนั้นเราก็แค่ไม่ไปยึดเอาธรรมมารมณ์เหล่าใด วิตกเหล่าใดที่เป็นไปในทางโลกทำให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาก็เท่านั้นเองก็พอแล้ว
       หากเรายังทำไม่ได้ทุกขณะ ยังไม่บ่อย นั่นเพราะยังภาวนาไม่พอให้จิตมันรู้เห็นและละได้นั่นเอง ฐานแห่งภาวนาก็คือ ศีล, ทาน,  อิทธิบาท ๔, สัมมัปปธาน๔, พละ ๕ นั้นเอง


ละทางโลก เราจะพ้นจากทางโลกได้ ก็ต้องละที่ความคิดเห็นที่เป็นไปในทางโลก
    นั่นเพราะเรามีใจเป็นใหญ่มีใจเป็นประธาน มีธรรมมารมณ์ คือ ความคิดปรุงแต่งเป็นที่ยึดเสพย์แก่จิต

ละทางโลก เราจะพ้นจากทางโลกได้ ก็ต้องละในความที่จิตรู้สมมติ
    นั่นเพราะสมมติทั้งปวงมีใช้และเป็นไปแค่ในทางโลกเท่านั้น




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 13, 2015, 02:21:49 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #100 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2015, 03:32:10 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน


ทบทวนกรรมฐานที่เจริญมาในวันที่ 15/5/58


สัญญา ๑๐ โดยย่อ # ๑ คือ

ก. พึงเห็นความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน พึงไม่ยึดมั่นถือมั่นว่ายั่งยืนและเป็นตัวตน แม้สภาวะธรรมภายในและภายนอกตน เกิดมาก็ต้องทุกข์ยากลำบากไม่รู้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานฟรือคน แม้เป็นคนก็ไม่รู้จะพิกลพิการและมีอยู่มีกินหรือไม่ โตเจริญวัยมาก็ต้องยังชีพอยู่จะสบายหรือลำบากก็ตามแต่บุญกรรมที่ส่งผลตามมาบางคนพิการไม่พอยังยากจนอีกจะกินจะขี้จะเยี่ยวก็ลำบากอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วก็เริ่มอยากได้นั่นได้นี่
ข. ม้างกาย สลายอาการทั้ง ๓๒ ไม่มีเราในอาการทั้งปวง ในอาการทั้งปวงไม่มีเรา
ค. เป็นที่ประชุมโรคแล้วอาการทั้ง ๓๒ ก็เน่าเปื่อยประดุจโรคร้าย สักแต่เป็นแค่ธาตุที่พ่อแม่ให้มา คือ ดินและน้ำเป็นต้น เมื่อมีวิญญาณเข้ามาอาศัยจึงมี ไฟและลมตามมา มีอากาศอยู่ทุกอณู เมื่อลมดับ ไฟก็ดับ น้ำดับ ดินก็ดับ อากาศก็ดับ วิญญาญก็สูญ แล้วสลายไปไม่เหลือ

นี่คือ..............มรรคญาณ สัมมาทิฐิ...............



ง.๑ ละอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นโดย เมื่อเพิ่งตื่นนอนรู้สึกตัวจนถึงก่อนนอนจนหลับไป
- ให้พึงกำหนดลมหายใจเข้ายาว ระลึกบริกรรม "พุท" โดยน้อมเอาคุณของความเป็นผู้รู้เห็นในสมมติทั้งปวงและความเป้นผู้ตื่นจากสมมติทั้งปวงของพระพุทธเจ้า น้อมมาสู่ตน
- ให้พึงกำหนดลมหายใจออกยาว ระลึกบริกรรม "โธ" โดยน้อมเอาคุณของความเป็นผู้เบิกบานอันพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงของพระพุทธเจ้า น้อมมาสู่ตน
- พึงทำอยู่อย่างนี้ไปสักประมาณสัก 3-5 นาที หรือมากกว่านั้น ก่อนที่จะไปทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวไรๆ
- จากนั้นแผ่เมตตาให้ตนเอง แล้วแผ่เมตตาไปแบบไม่มีประมาณให้ทั่วทั้ง 12 ทิศ (ตามแต่จะมีเวลามากน้อยเพียงไร)
- กระทั่งก่อนเข้านอน ก็พึงเจริญเหมือนตื่นนอนไปจนหลับ หรือ จะแค่ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยส่วนเดียวก็ได้จนหลับ

นี่คือ..............สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ...............

ง.๒ ละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วโดย พึงมีสติเป็นเบื้องหน้า เลือกธรรมมารมณ์ที่ควรเสพย์ แล้วตั้งจิตอยู่ใน จิตตานุสติปัฏฐาน รัก โลภ โกรธ หลง เกิดก็รู้ว่ามันเกิด
- แล้วเจริญ ทมะ(คิดชอบ)+อุปสมะ(ความสงบไม่เบียดเบียนแล้วยังใจให้เกิดอุเบกขาเป็นต้น) และ ขันติ(ความทนได้ทนไว้ รู้จักละ รู้จักปล่อย รู้จักวาง)+โสรัจจะ(สติและศีลสังวร) กิเลสตั้งอยู่ก็รู้ว่ายังอยู่
- จากนั้นให้รู้สมมติกิเลสตามจริงว่า แท้จริงแล้วมันก็เพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆที่แยกกันไม่ไใช่จิต ไม่ได้อยู่ร่วมกับจิต แต่เพราะจิตเราน้อมไปหามัน(น้อมไปหาอารมณ์)เข้าไปยึดเอามันมาเสพย์ เจตนา สัญญา วิตกเกิดขึ้น สมมติจึงเกิดขึ้น สังขารขันธ์เป็นธัมมารมณ์หนึ่งที่ไม่ควรเสพย์ เมื่อรู้ดังนี้แล้วก็พึงละสมมติกิเลส พึงเห็นว่าสมมติกิเลสทั้งปวงเกิดมีขึ้นเพราะอารมณ์ทางโลก ความแสวงหาอารมร์ทางโลกเป็นทางให้กิเลสเกิดขึ้น เมื่อเราแสวงหาทางธรรมจึงไม่ควรเสพย์ทางโลกควรละเว้นเสียให้ได้ ปล่อยทิ้งอารมณ์ปรุงแต่งนั้นไปให้มันเป็นเพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเท่านั้น กิเลสตั้งอยู่ ก็รู้ว่ายังอยู่
- น้อมจิตเข้าสมาธิโดยมีลมหายใจเป็นเบื้องหน้า หรือตั้งกุศลวิตกที่พุทโธหนุนตามลมหายใจ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ ให้รู้เพียงสภาวะธรรมหนึ่งๆเกิดมีขึ้นอยู่เท่านั้น เมื่อเราไม่เสพย์มันก็ดับไป เพราะไม่มีเหตุปัจจัยให้สืบต่อ กิเลสดับ ก็รู้ว่ากิเลสดับ

นี่คือ..............สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ยาถาภูญาณทัสสนะ...............

ง.๓ ทำกุศลให้เกิดมีขึ้นพึงทำใจไว้ตั้งอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ ให้มากจนเป็นปกติจิตเป็นอาหารให้ ศีล และ ทาน เกิดงอกงามบริบูรณ์เป็นเบื้องหน้าทุกขณะจิตตั้งแต่ตื่นนอน ดำรงชีพอยู่ จนถึงกระทั่งเมื่อเข้านอน เป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิดสังขารโดยรอบมีสัมปะชัญญะเกิดร่วมจนสติแก่กล้าให้เกิดเป็นมหาสติ มีสมาธิกำกับตามอยู่แนบแน่นให้เห็นตามจริง

อุปมาเหมือน
- ศีลเป็นฐานเป็นพื้นบ้าน
- ทานเหมือนกระเบื้องที่ฉาบพื้นบ้านให้ดูงดงามเกิดความสบายกายใจ
- พรหมวิหาร ๔ เป็นเหมือนสีหรือปูนขาวที่คอยเสริมรอยแตกหรือช่องว่าหรือประสานระหว่างพื้นบ้านและกระเบื้องให้ติดแน่นราบเรียบไม่โปร่งเป้นโพรงจนบริบูรณ์ดีไม่ด่างพร้อย
ฉันใด ศีลเป็นเครื่องดำรงทางกายและวาจาเป็นฐานหลักของทุกสิ่ง ทานเป็นสิ่งเสริมกำลังให้อิ่มเอมเต็มกำลังใจ พรหมวิหาร ๔ เป็นเครื่องดำรงจิตให้กุศลศีลและทานบริบูรณฺ์ ฉันนั้น

แล้วเดินวิโมกข์ ๘ แม้จะเพียงโลกียะ หรือไม่ถึงสมาบัติ หรือไม่เกินปฐมฌาณก็ตาม แต่พึงตั้งใจไว้อย่างนั้น เพื่อเดินจิตไปในทางแห่งกุศลตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้น จนเป็นปกติแห่งจริตสันดานตนก็จะทำให้กุศลเกิดมีขึ้นแล้วขจัดกิเลสได้มากขึ้น ดังนั้นให้ทำไว้ในใจไม่ว่าจะเพิกหน้าไปทางใด หรือจะอยู่แห่งหนใด ไม่ว่าจะทิศใดๆรอบตัวก็แผ่เอา ศีล ทาน พรหมวิหาร ๔ นี้ไปให้ทั่วทุกทิศ ทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องเฉียง เบื้องบน เบื้องล่าง

นี่คือ..............สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ...............

ง.๔ คงรักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม พึงตั้งอยู่ด้วยสติ ไม่ยินดียินร้าย มีอานาปานสติให้มาก มีพุทโธให้มาก อยู่ทุกขณะ ทุกลมหายใจ เป้นเหตุให้ สติกำลัง และสมาธิกำลัง มีเกิดขึ้นแก่กล้า ทำให้จิตน้อมจับแต่กุศลธรรมอันดีงาม เป้นบ่อเกิดแห่งกุศลมูลทั้งปวง ไม่เสพย์อกุศลธรรมอันลามกจัญไรอยู่ทุกขณะ พึงระลึกว่าแม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป้นพระบรมครูแห่งมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ก็ยังมีอานาปานสติเป้นอันมากรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่ทุกๆขณะ เราผู้กรายไหว้อยู่ก็พึงควรประพฤติตาม
(พร้อมทำไว้ในใจโดยความยินดีในกุศลว่า จิตอันเป็นกุศลมันเป็นสุขที่ร่มเย็น ไม่มีความติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆ ไม่ร้อนรุ่ม ไม่เร่าร้อน ไม่เศร้าหมอง มีปกติอยู่โดยสุขปราศจากความทุกข์กายและใจ น้อมจิตไปให้เกิดฉันทะสมาธิและปธานสมาธิ ตั้งอยู่จนจิตแน่วแน่ดีแล้ว)

นี่คือ..............สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ...............


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 11:18:21 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #101 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2015, 06:03:44 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทบทวนกรรมฐานที่เจริญมาในวันที่ 15/5/58

สัญญา ๑๐ โดยย่อ # ๒ คือ


จ. เจริญใน พรหมวิหาร ๔ ศีล ทาน ภาวนาให้มากๆ โดยให้ตั้งมั่นทำไว้ในใจดังนี้
- ศรัทธาในพระพุทธเจ้าให้มากๆ ศรัทธาการตรัวรู้ธรรมและพระธรรมของพระพุทธเจ้าว่าประกอบด้วยคุณเครื่องออกจากทุกข์ มีความเชื่อว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม หากศรัทธาข้อนี้มีน้อยให้หวนระลึกดูว่า เวลาที่เราทำผิดศีลธรรมเราเร่าร้อน ร้อนรุ่ม ระแวง เศร้าหมอง หวาดกลัวความผิดที่ทำไหม กลัวคนรู้เห็นที่ตนทำไหม ไม่สบายกายไม่สบายใจอย่างไร ผู้คนเกลียดชังคับแค้นเรามากแค่ไหน เมื่อเราอยู่ในศีลธรรมขนาดแม้ข้อเดียวหรือแอม้ขณะช่วงเวลาหนึ่งๆ เรามีความสุขอิ่มเอมยินดีไหม จะไปที่ใดก็เป็นสุขไม่เร่าร้อน ไม่ร้อนรุ่ม ไม่เศร้าหมอง ไม่กลัว ไม่หวาดระแวง มีแต่ผู้คนเมตตารักใคร่เอ็นดูให้เกียรติ เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน มันเป็นอย่างนี้ไหม นี่ก็แสดงให้เห็นว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม และ ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมแห่งกุศลทรงชี้แนะสั่งสอนให้คนเดินบนทางแห่งกุศลดังนี้แล "ศรัทธาพละ" ก็เกิดมีขึ้นต่อพระพุทธเจ้า บาป บุญ มีจิตน้อมไปในกุศลธรรมทั้งปวง
- ทำใจไว้ให้พอใจยินดีในกุศลอันปราศจากอกุศลเครื่องเร่าร้อน เศร้าหมองกายใจทั้งปวง ให้เกิดเป็น "ฉันทะอิทธิบาท ๔" เป็นเหตุให้ "ฉันทะสมาธิ" เกิดมีขึ้น
- มีสติตั้งอยู่เป็นเบื้องหน้าทำไว้ในใจว่า เราจักละ จักถอน จักปหาน จักทำลาย จักทำลายซึ่งอกุศลธรรมทั้งปวง ไม่ให้มันกำเริบ ไม่ให้มีเกิดขึ้นแก่ใจเราอีก จะตั้งจิตไว้ไม่เสพย์ธรรมารมณ์อันเป็นอกุศลธรรมทั้งปวง จักทำให้จิตประกอบด้วยกุศลปรุงแต่ง จักทำให้จิตเต็มไปด้วยความเป็นมิตรอันประเสริฐปารถนาดีต่อผู้อื่นอันมีจิตน้อมไปในการสละ มีจิตอนุเคราะห์สงเคราะห์แบ่งปัน มีความยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุขและคงไว้ซึ่งสิ่งที่มีค่าที่รักที่หวงแหน มีความวางใจไว้กลางๆไม่ลำเอียงอยู่เป็นนิจจ์ เราจักไม่เบียดเบียนทำร้ายหรือผูกโกรธแค้นเคืองผู้ใด สัตว์ใดแม้ทางกาย วาจา ใจ จักเลิกแสวงหา จักไม่อยากได้ของผู้อื่น จักเป็นผู้ไม่ตระหนี่ถี่เหนียวมีความสละให้ตามกำลังอยู่เป็นนิจจ์ "สังวรปธานสมาธิ" เกิดมีขึ้น จนเกิดวิริยะพละ
- มีสติตั้งอยู่เป็นเบื้องหน้าทำไว้ในใจว่า จักรู้ทันกาย วาจา ใจ มีสัมปะชัญญะกำกับอยู่ จนเห็นแจ้งชัดในธรรมทั้งปวง เพื่อยังกุศลให้เกิดมีขึ้น ตั้งอยู่ แล้วอกุศลเสื่อมสูญไป "สติพละ" ก็เกิดมีขึ้น
- มีสติสัมปะชัญญะตั้งอยู่เป็นเบื้องหน้า ทำไว้ในใจว่าเราจักมีอานาปานสติเป็นอันมากตามพระพุทธเจ้าองค์สเด็จพระบรมศาสดาแห่งเรา จนรู้แจ้งกายสังขารอยู่ทุกขณะ

- มีสติสัมปะชัญญะและสมาธิตั้งมั่นอยู่เป็นเบื้องหน้า ทำไว้ในใจว่า เราจักรู้อารมณ์โดยชอบตามจริง คือ
๑. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความเห็นชอบอยู่เป็นนิจจ์
๒. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความคิดชอบอยู่เป็นนิจจ์
๓. รู้อารมร์ด้วยกุศลโดยความพูดชอบอยู่เป็นนิจจ์
๔. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความทำชอบอยู่เป็นนิจจ์
๕. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความดำรงชีพชอบอยู่เป็นนิจจ์
๖. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความเพียรชอบอยู่เป็นนิจจ์
๗. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความระลึกชอบรู้ทันสภาวะธรรมทั้งปวงอยู่เป็นนิจจ์
๘. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความมีจิตตั้งมั่นชอบอยู่เป็นนิจจ์
๙. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความเป็นสภาวะธรรมตามจริงอันปราศจากความตรึกนึกอยู่เป็นนิจจ์
๑๐. รู้อารมณ์ด้วยกุศลโดยความตัดสมมติกิเลส ตัดอารมณ์ที่เป็นไปในทางโลกอยู่เป็นนิจจ์

"ทั้ง ๑๐ ข้อนี่คือทางให้เกิดและการบังเกิด "ปัญญาพละ" ให้เกิดขึ้น"

- พึงเจริญในข้อ จ. ให้มากตั้งจิตทำไว้ในใจหมายในอารมณ์ที่เราตัดสมมติกิเลสหรือที่เราเรียกมันว่าอารมณ์ทางโลกนี้ไว้อยู่เนืองๆ

นี่คือ..............สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ยาถาภูญาณทัสสนะ นิพพิทาญาณ วิราคะ...............

ฉ. ตั้งจิตทำไว้ในใจโดยแยบคาย หมายในอารมณ์อันเป็นผลจากการตัดสมมติกิเลสหรืออารมณ์ทางโลกเหล่านั้นได้บ้างแล้วอยู่เนืองๆ
    เลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ คือ เลือกเอาธรรมมารมณ์เหล่าใดที่ทำให้กุศลเกิดขึ้น แล้วอกุศลเสื่อมลง
    ตั้งความโสมนัสต่อความไม่มีกิเลส คือ พอใจยินดีในความไม่มี รัก โลภ โกรธ หลง ยินดีในดับสิ้นเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์ทั้งปวงสิ้นเชิง พอใจยินดีในความรฦู้สึกอาการอย่างนั้น ตั้งจิตระลึกถึง คำนึงถึงในอาการที่เราไม่มีทุกข์อันเร่าร้อนลุ่มหลงทั้งปวง   

นี่คือ..............สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ คือ ยาถาภูญาณทัสสนะ นิพพิทาญาณ วิราคะ สัมมาวิมุตติ...............



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2015, 08:33:57 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #102 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2015, 10:14:21 AM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
ทบทวนกรรมฐานที่เจริญมาในวันที่ 15/5/58

สัญญา ๑๐ โดยย่อ # ๓ คือ

ช. เมื่อเจริญให้มากในข้อ ก-ฉ แล้ว(ซึ่งจากข้อ ฉ. เราจะเห็นว่าความที่ตัดกิเลสสมมติทางโลกออกได้แม้จะเล็กน้อยหรือแค่ชั่วคราว ยังเป็นบรมสุขอันยิ่งใหญ่ เพราะจิตไม่เสพย์กิเลสไรๆเลย มีแก่ความสงบว่างร่มเย็น จิตมันจะอิ่มเอมเป็นสุขอย่างมาก จนเมื่อจิตชินและชอบในอารมณ์นี้มากๆนั้นแหละ จิตมันจะเลือกจับเอาแต่ของจริงเอง)
    ตั้งความโสมนัสต่อสภาวะธรรมจริง คือ พอใจยินดีในอารมณ์ธรรมอันเสพย์แต่ของจริงสภาวะธรรมจริง ไม่เสพย์ยึดสมมติกิเลสทางโลก จากนั้นให้ทำไว้ในใจโดยแยบคายด้วยเห็นว่า โดยจริงแล้วขันธ์ ๕ มันแยกส่วนของมันไม่เกี่ยวข้องกัน ไม่มีชื่อ ไม่มีอารมณ์ ไม่มีสิ่งใด เป็นเพียงสภาวะธรรมเท่านั้น เหมือนกลุ่มสะสารหนึ่งๆที่กองแยกกันอยู่ แต่อาศัยที่วิญญาณขันธ์ อาศัยมโนมันน้อมไปหาอารมณ์ จึงเกิดเจตนาขึ้นมีลักษณะเหมือนหวนระลึกถึงที่จะรู้ผัสสะในอารมณ์นั้นๆ ทำให้เกิดการน้อมไปยึดในความจำได้หมายรู้ สมมติก็เกิดขึ้น เกิดความตรึกถึง ปรุงแต่งไปให้ขันธ์ ๕ สัมพันธ์กัน อุปทานความยึดความหลงสมมติก็มากเท่าการให้ความสำคัญในสิ่งที่รู้โดยสัญญานั้นๆ เพราะอาศัยเจตนาให้สมมติทางโลกและทุกข์ทั้งปวงเกิดมีขึ้น
    ดังนี้แล้วเราพึงไม่หมายเอาอารมณ์ทางโลกซึ่งเป็นอารมณ์แห่งสมมติซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้นอีก พึงทำไว้ในใจโดยแยบคายไม่ยึดเอา งดเว้น ละเว้นซึ่ง..เจตนาคือความทำใจไว้ จงใจที่จะน้อมไปหาความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ไรๆทางโลกไปเสียเพราะมันเป็นทุกข์

นี่คือ ผลจากสัมมาทิฐิ และ จากการที่ได้เคยสัมผัสความดับทุกข์แม้กดข่มไว้อยู่ยังตัดไม่ขาดก็ตาม จิตมันจะไม่ยึดจับเอาสมมติอะไรทั้งนั้นเองอัตโนมัติ..............สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ คือ ยาถาภูญาณทัสสนะ นิพพิทาญาณ วิราคะ สัมมาวิมุตติ...............

ซ. ตั้งความโทมนัสต่อสภาวะธรรมสมมติทางโลก คือ ไม่พอใจยินดีต่ออารมณ์ทางโลก อึดอัด เกลียดชัง เบื่อหน่ายที่จิตเสพย์อารมณ์ทางโลก เพราะเมื่อมันเสพย์อารมณ์ทางโลกก็เท่ากับมันลากเราเข้าไปหาทุกข์อันไม่มีที่สิ้นสุด  จากนั้นให้ทำไว้ในใจโดยแยบคายด้วยเห็นว่า เราแสวงหาไม่รู้จบเพราะหลงเสพย์อารมณ์ทางโลก เสพย์สุขบนของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ของเน่าเหม็น เป็นโรค เป็นธาตุ ๖ พอไม่ได้ก็เป็นทุกข์ พอได้ก็สุข พอพรัดพรากก็ทุกข์ วนไปวนมาเพราะหาความสุขจากภายนอก จากสิ่งไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เมื่อเสพย์สมมติว่าเป็นตัวตนเมื่อไหร ธรรมชาติของจิตมันคือคิด มันก็คิดแต่สมมติเรื่องราวเป็นตัวตนในอารมณ์นั้น ความแสวงหาที่จะเสพย์ ก็เกิดขึ้นไม่สิ้นสุด ทุกข์ก็วนเวียนอยู่ทุกขณะจิตไม่จบสิ้น ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้ก็ไม่เกินธรรมธาตุเลย นี่ทุกข์กับธรรมธาตุที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เอาความสุขจากธรรมธาตุภายในภายนอกที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนมาเป็นความสุขของตน
    ดังนี้แล้วเราพึงไม่หมายเอาอารมณ์ทางโลก พึงอึดอัด ระอา เบื่อหน่าย เกลียดชังต่ออารมณ์ทางโลก คือ ความรัก โลภ โกรธ หลง ซึ่งอารมณ์เหล่านี้เมื่อมีต่อสิ่งไรๆแล้ว ย่อมให้ก่อเกิดความยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นของเที่ยง เป็นนั่น เป็นนี่

นี่คือ ผลจากสัมมาทิฐิ และ จากการที่ได้เคยสัมผัสความดับทุกข์แม้กดข่มไว้อยู่ยังตัดไม่ขาดก็ตาม จิตมันจะไม่ยึดจับเอาสมมติอะไรทั้งนั้นเองอัตโนมัติ เพราะเห็นโทษและทุกข์จากสมมติจนอิ่มใจแล้ว จึงเกิดความอึดอัด ระอา เกลียดชังในสิ่งนั้น ซึ่งความเกลียดชังในที่นี้ไม่ใช่โทสะ แต่เมื่อเห็นทุกข์ เห็นโทษจากสิ่งไรๆแล้วจิตมันจะรู้ว่าสิ่งนี้ทำให้มันเร่าร้อนทรมานมันก็จะไม่อยากจับเอาอารมณ์สมมติเหล่านั้น..............สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ คือ ยาถาภูญาณทัสสนะ นิพพิทาญาณ วิราคะ สัมมาวิมุตติ...............

ฌ. เมื่อเจริญจากข้อ ก-ซ ให้มากแล้ว เราจะรู้ว่า สิ่งใดเป็นเหตุ สิ่งใดเป็นผล สิ่งใดควรทำให้แจ้ง สิ่งใดควรเทำควรจริญให้มาก จนรู้ถึงธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ ไม่ควรเสพย์ รู้โสมนัสที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ รู้โทมนัสที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์แล้ว ก็จะเห็นตามจริงว่าสิ่งทั้งปวงมีแค่สภาวะธรรม ไม่มีอื่นอีก จิตมันจะไม่ยึดจับเอาสภาวะธรรมไรๆเองเลยโดยอัติโนมัติในตัวมันเอง แต่เมื่อมันไม่ยึดจับอะไรมันจะไม่มีหลักให้จิตอยู่ เพราะอย่างเราๆผู้ยังปุถุชนอยู่ ธรรมชาติของจิตมันย่อมน้อมไปหาอารมณ์ หาที่เกาะยึด มันจึงเกิดอาการว่างโดยตรึงๆ หนักๆ หน่วงๆจิต ไม่เบาผ่องใสสักเท่าไร พระอริยะเจ้าทั้งหลายเมื่อท่านไม่ยึดอุปาทานขันธ์ ๕ ท่านจะอยู่ในฌาณสมาบัติตลอดเวลา เรียกว่า โลกุตระ ทีนี้อย่างเราผู้เป็นเพียงปุถุชนอยู่ จะขจัดสภาวะที่จิตไม่มีที่ยึด ขจัดสภาวะว่างแต่หน่วงๆไม่ผ่องใสได้ ก็ต้องเลือกธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ คือ เลือกอุเบกขาที่ควรเสพย์ อุเบกขานั้นแม้จิตจะเคยรู้แต่ยังหาทางเข้ามันไม่ได้ เราก็ต้องให้จิตมันรู้ของจริง นั่นคือกายสังขาร ที่เรียกว่า ลมหายใจ นั่นเอง ลมหายใจนี้เป็นของจริงที่มีอยู่ในกาย เป็นธาตุที่มีอยู่ในกาย เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการ จึงเรียกว่า กายสังขาร เราก็เอาจิตยึดที่ลมหายใจเจริญในิอานาปานสติ ซึ่ง อานาปานสติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้ เป็น วสีเข้าฌาณโดยเฉพาะ ให้เราน้อมจิตจับของจริงคือลมหายใจนี้ ให้รู้ลมหายใจเป็นอันมากตามพระพุทธเจ้าที่ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร ตถาคตเป็นผู้มีอานาปานสติเป็นอันมาก คือ รู้ลมหายใจเข้า-ออกอยู่ทุกขณะ เราก็เลือกอุเบกขาที่ควรเสพย์โดยให้เอาความว่างจาก สัญญา สังขาร มาตั้งอยู่ที่ลมเป็นหลักให้จิต จิตก็จะผ่องใสเบิกบาน เมื่อถึงระดับหนึ่ง ก็เข้าถึงสมาบัติได้




    ทั้ง ๓ ข้อนี้เราเกิดขึ้นเมื่อหลวงพ่อเสถียรสอนว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ แล้วท่านก็ม้างกายให้เรารู้ตาม สลายทั้งอาการ ๓๒ ประการ ให้เห็นว่ากายนี้มันเป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันไม่มีชีวิต ไม่มีความรู้สึก เป็นเพียงกองธาตุเท่านั้น วิญญาณขันธ์ วิญญาณธาตุ และ จิต นี้คืออันเดียวกัน จิตเป็นธาตุรู้ จิตนี้มันรู้ทุกสิ่ง แต่สิ่งที่มันรู้ คือ สมมติ ไม่มีของจริงเลย กิเลสอาศัยสฬายตนะเป็นเคืร่องมือให้จิตยึดอุปาทาน เวทนานี้เกิดขึ้นมาเพราะสัญญา เวทนาจริงๆนั้นดับไปแล้วแต่จิตมันไปยึดเอาสัญญาความรู้สึกเสวยอารมณ์ในสิ่งนั้นๆมาตั้งเป็นที่ยึดแห่งจิต จึงเกิดเวทนาสืบต่อไม่หยุด อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ แล้วเรานั่งกรรมฐานโดยอารมณ์นั้นก่อนนอนอยู่ประมาณ 1 ชม. ก็ได้รับรู้ถึงอารมณ์ทั้ง ๓ ประการนี้ นี่สิ่งที่พระอรหันต์สอนมีผลมากขนาดนี้เลย มันถึงใจ มันหมดความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงทันที



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2015, 09:10:50 AM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #103 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 04:07:41 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

ทบทวนกรรมฐานทั้งหมด 10 ปีที่ผ่านมา

เป็นบันทึกและผล เมื่อแรกกรรมฐานหลังฌาณเสื่อม
ที่มีทั้งพระสูตรที่เราเข้าถึง ที่เราปฏิบัติถูก
และสำคัญความหมายและแนวปฏิบัติที่ผิดๆ
และบางช่วงเจตนาว่าตนดับทุกข์ได้บ้างแล้วเผยแพร่ธรรมที่ตนดับทุกข์ได้ให้ผู้อื่นไปโดยผิดๆบ้าง ด้วยเหตุนี้จึงต้องสังวรณ์ให้มากก่อนจะทำสิ่งใดลงไปนอกจากทำเป็นบันทึกทบทวนตัวเองแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง
แต่ทั้งหมดก็เป็นผลให้สืบต่อเนื่องให้เกิด พละ ๕ จนได้เห็นในปัจจุบันนี้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบันทึกเท่านั้นเพื่อทบกวนกรรมฐานที่เป็นพื้นฐานหลักของเราให้เกิดพละ ๕ มีทั้งถูกและผิดซึ่งปัจจุบันนี้เราจะแยกแยะได้แล้ว แต่จะนำเอาส่วนส่วนที่เป็นเหตุตั้งแต่น้อมจิตไปและนำไปสู่ผลมาปรับเสริมในพละ ๕ ปัจจุบัน



รู้เหตุ รู้ทุกข์ รู้ธรรม รู้ทำ ทุกข์ก็เบาบาง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27477#msg27477

วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.msg27357#msg27357

วิธีการเบื้องต้นที่ใช้พิจารณาระลึกรู้ใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7457.msg27485#msg27485

วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.msg27472#msg27472

อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8051.msg29883#msg29883

วิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.msg30508#msg30508

ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8230.msg30512#msg30512

วิธีเจริญเข้าสู่สมาธิจิตเพื่อให้ใจเราสงบโดยง่าย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8682.msg32632#msg32632

อาปานานสติสูตร เป็นไปเพื่อความสงบจากความปรุงแต่งและเข้าสติปัฏฐาน ๔
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8940.msg33777#msg33777

วิธีดับความติดข้องใจในการกระทำของผู้อื่น(ละจิตไม่ให้ไปผูกไว้กับผู้อื่น)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9815.msg36955#msg36955

สะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9816.msg36956#msg36956

วิธีเจริญพิจารณาเพื่อ..การปล่อยวาง กับ หน้าที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=9906.msg37186#msg37186

วิธีการนั่งสมาธิเพื่อตัดในรูปขันธ์และความรู้อารมณ์ใดๆ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10020.msg37603#msg37603

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10194.msg38201#msg38201

วิธีการเจริญเข้าสู่มรรคมีองค์ ๘
http://www.thammaonline.com/15140.msg17032#msg17032
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=11468.msg41222#msg41222

วิธีดับความวิตก ตรึกนึก คิดฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=11497.msg41299#msg41299

ท่านสุปพุทธกุฏฐิ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=11557.msg41446#msg41446

สองพี่น้องประลองวิชา ปริยัติ หรือ กัมมัฏฐาน (แนะนำว่าควรอ่านมาก)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12480.msg43353#msg43353

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12524.msg43464#msg43464

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12525.msg43470#msg43470

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยการอบรมจิต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12526.msg43472#msg43472

วิธีสวดมนต์บทสวดอิติปิโสให้ถึงอนุสสติกรรมฐาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12743.msg43893#msg43893

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (ธัมมจักกัปปวัตนสูตร )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13221.msg45167#msg45167

ถามตอบปัญหาธรรมะ เรื่องศีล หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12777.msg43975#msg43975

ภารทวาชสูตร..การสำรวมระวังปฏิบัติกาย-ใจ เพื่อละกามราคะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13591.msg46400#msg46400

แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13576.msg46351#msg46351

พุทธานุสสติ (แบบพิสดาร)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13366.msg45624#msg45624

แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46531#msg46531

สัญญา ๑๐ คิริมานนทสูตร
http://www.thammaonline.com/15182.msg17109#msg17109

ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์
http://www.thammaonline.com/15183.msg17112#msg17112

ธรรมอย่างสูงสิบหมวด สำหรับเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมด
http://www.thammaonline.com/15184.msg17113#msg17113

ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อน ธรรมชาตินั้นชื่อว่ากิเลส
http://www.thammaonline.com/15185.msg17124#msg17124

ธรรมชาติที่ชื่อว่า จิต
http://www.thammaonline.com/15199.msg17148#msg17148

มหาสัจจกสูตร สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา
http://www.thammaonline.com/15222.msg17210#msg17210

สัลเลขสูตร "ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส)"
http://www.thammaonline.com/15198.msg17147#msg17147

๑. ภัทเทกรัตตสูตร
http://www.thammaonline.com/15270.msg17324#msg17324

โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้
http://www.thammaonline.com/15163.msg17064#msg17064

"ศีล" สร้าง "สุข" (^.^) "สุข" สร้าง "สมาธิ"
http://www.thammaonline.com/15121.msg16987#msg16987

คำแปลพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ (สมเด็จพระญาณฯ)
http://www.thammaonline.com/15167.msg17083#msg17083

๑. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย "นิวรณบรรพ(นิวรณ์๕)"
http://www.thammaonline.com/15196.msg17144#msg17144
๒. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย "ขันธบรรพ(ขันธ์๕)"
http://www.thammaonline.com/15195.msg17143#msg17143
๓. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย "อายตบรรพ(อายตนะภายใน-ภายนอก๖)"
http://www.thammaonline.com/15194.msg17142#msg17142
๔. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย "โพชฌงคบรรพ(โพชฌงค์๗)"
http://www.thammaonline.com/15193.msg17141#msg17141
๕. ธรรมานุสติปัฏฐานว่าด้วย"สัจจบรรพ(อริยะสัจ๔)"
http://www.thammaonline.com/15192.msg17140#msg17140

ว่าด้วยเรื่อง สติ
http://www.thammaonline.com/15214.msg17188#msg17188

สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๑ (ทำวัตรเช้า)
http://www.thammaonline.com/15385.msg17678#msg17678
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๒ (ทำวัตรเย็น)
http://www.thammaonline.com/15386.msg17688#msg17688
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๓ (พระสูตร)
http://www.thammaonline.com/15389.msg17705#msg17705
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๔ (พระปริตร)
http://www.thammaonline.com/15390.msg17706#msg17706
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๕ (พระคาถา)
http://www.thammaonline.com/15391.msg17707#msg17707
สวดมนต์ เพื่อให้ถึงกรรมฐาน ๖ (บทแผ่เมตตา)
http://www.thammaonline.com/15392.msg17708#msg17708

บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน
http://www.thammaonline.com/15430.msg17843#msg17843
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 09:14:37 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
เกียรติคุณ
ผู้ปฏิบัติธรรม
*****

พลังความดี : 65


เพศ: ชาย
อายุ: 46
กระทู้: 958
สมาชิก ID: 841


« ตอบ #104 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 04:08:29 PM »

Permalink: บันทึกแนวทางกรรมฐานละกำหนัดเมถุน

๒. เทวทหสูตร
ว่าด้วยการกำจัดฉันทราคะในขันธ์ ๕


            [๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้;-
             สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมเทวทหะของศากยะทั้งหลายในสักกชนบท.
ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกัน ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะไปสู่ปัจฉาภูมชนบท เพื่อสำเร็จการอยู่อาศัยในปัจฉา
ภูมชนบท. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายลาสารีบุตรแล้วหรือ?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ยังมิได้ลาท่านพระสารีบุตร. พระผู้มี
พระภาคตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปลาสารีบุตรเถิด. สารีบุตรเป็นบัณฑิตอนุเคราะห์
เพื่อนพรหมจารี. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
             [๗] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มุงด้วยตะใคร่น้ำ
ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคแล้ว พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
กล่าวคำปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้า
ทั้งหลายปรารถนาจะไปปัจฉาภูมชนบท เพื่อสำเร็จการอยู่อาศัยในปัจฉาภูมชนบท. ท่านพระ-
*สารีบุตรกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย กราบทูลลาพระศาสดาแล้วหรือ? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็น
บัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชชประเทศต่างๆ มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็พวกมนุษย์ที่เป็นบัณฑิตทดลองถามว่า พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร? ตรัสสอน
อย่างไร? ธรรมทั้งหลายพวกท่านฟังดีแล้ว เรียบร้อยดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว   ทรงจำดีแล้ว แทง
ตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญาบ้างหรือ? ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพยากรณ์อย่างไร? จึงจะชื่อว่าเป็นผู้
กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์
ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.
             ภิ. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งภาษิต
นั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะท่านพระ-
*สารีบุตรเถิด.
             [๘] ส. ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้น
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์เป็น
บัณฑิตบ้าง พราหมณ์เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีเป็นบัณฑิตบ้าง สมณะเป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถาม
ปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชชประเทศต่างๆ มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็น
บัณฑิต จะทดลองถามว่า พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีวาทะว่าอย่างไร ตรัสสอน
อย่างไร? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ. เมื่อท่าน
ทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้
เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ตรัสสอน
ให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร. ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่าน
ผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไป ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ทรงเห็นโทษอะไร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ?
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวน
กระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ยังไม่ปราศจากไปแล้ว
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมเกิดขึ้น เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลาย
ทรงเห็นโทษนี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ.
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง
พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง  คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไป ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดา
ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย  ทรงเห็นอานิสงส์อะไร?  จึงตรัสสอนให้กำจัดให้ฉันทราคะในรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความ
กระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณปราศจากไปแล้ว
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลาย
ทรงเห็นอานิสงส์นี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ.
             [๙] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักได้มีการอยู่
สบาย ไม่มีความลำบาก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตาย
ไปแล้ว ก็พึงหวังสุคติไซร้ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญ การละอกุศลธรรมทั้งหลาย.
ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมมีการอยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความ
คับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบัน และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาค จึงทรงสรรเสริญ การละอกุศลธรรมทั้งหลาย.
             [๑๐] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักได้มีการ
อยู่เป็นทุกข์ มีความลำบาก มีความคับแค้น มีความเดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ และเมื่อตายไป
แล้ว ก็พึงหวังได้ทุคติไซร้ พระผู้มีพระภาค ก็จะไม่พึงทรงสรรเสริญ  การเข้าถึงกุศลธรรม
ทั้งหลาย.  ก็เพราะเมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่  มีการอยู่สบาย  ไม่มีความลำบาก
ไม่มีความคับแค้น  ไม่มีความเดือดร้อน  ในปัจจุบันนี้  และเมื่อตายไปแล้ว ก็พึงหวังได้สุคติ
ฉะนั้นพระผู้มีพระภาค  จึงทรงสรรเสริญ การเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย.  ท่านพระสารีบุตรได้
กล่าวคำนี้แล้ว.  ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.

จบ สูตรที่ ๒.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2015, 09:13:57 PM โดย เกียรติคุณ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 31  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


บทความและไฟล์ภาพ ในเว็บไซต์แห่งนี้อาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่ทีมงานคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ โดยที่เราจะให้เครดิตทุกครั้งที่นำมา หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ tumcomputer@hotmail.com ทางทีมงานจะได้นำบทความนั้นออกทันที ขอบคุณครับ


เว็บนี้จัดทำโดย นายสุรัตน์ ศรลัมภ์ และครอบครัว อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และผู้มีพระคุณ

HTML Hit Counters
Powered by SMF 1.1.17 | Simple Machines|Copyright © 20010 BY : thammaonline.com
บทความธรรมะรวมเรื่องกฏแห่งกรรมสมาธิ วิปัสนากรรมฐานพลังจิตกระดานถาม-ตอบ Sitemap

Google มาเยี่ยมเว็บเมื่อ เมษายน 23, 2024, 12:38:09 AM